บทสัมภาษณ์กับ The Matter: Big Data กับ Automation
1.ตอนนี้มีการพูดถึงเรื่องการใช้ Big Data ในแง่มุมต่างๆ มากมาย จนกระทั่ง Big Data กลายเป็นคำที่หลายคนเรียกว่าเป็น Buzzword หรือคำหากินของยุคใหม่ไปแล้ว อยากให้คุณณภัทรช่วยอธิบายหน่อยครับว่า จริงๆ แล้ว Big Data ในแง่มุมที่เราควรเข้าใจจริงๆ เป็นอย่างไร ‘ประโยชน์’ ของมันจริงๆ คืออะไร นิยามของ Big Data คือ ภาวะข้อมูลที่มี 3V คือ volume velocity และ variety แปลเป็นไทยง่ายๆ ก็คือข้อมูลมีปริมาณมหาศาล เก็บได้ถี่ และมีความหลากหลายรูปแบบอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนครับ ผมมองว่าสิ่งที่เราควรจะเข้าใจที่สุดนอกจากว่า Big Data คืออะไรหรือมีประโยชน์และโทษอย่างไร ก็คือต้องเข้าใจว่าคุณหนีมันไม่ได้ ยังไงมันก็จะมากระทบชีวิตพวกเรา ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่าคุณจะอยู่ในประเทศที่แม้แต่ “สมอลดาตา” ยังไม่มีหรือทั้งชีวิตนี้คุณไม่เคยใช้ (และจะไม่ใช้) เทคโนโลยีเลยก็ยังหนีไม่พ้น นั่นเป็นเพราะว่า Big […]
อนาคตของข้อมูลGIS:เก็บตกงานสัมมนา Esri UC 2016
ผมเชื่อว่าในอีกไม่ช้าการบริหารจัดการบ้านเมืองในมหานครทั่วโลกจะ sci-fi หลุดโลกไม่ผิดไปจากที่เราเคยเห็นในวิดีโอเกมส์สร้างเมืองชื่อ Sim City หรือในภาพยนต์ประเภท Thriller ที่ภาครัฐเก่งและไฮเทคเหลือเชื่อ จริงๆ แล้วผมเชื่อในเรื่องนี้มานานแล้ว เพียงแต่ความเชื่อนี้เกิดทวีคูณขึ้นหลายเท่าตัวหลังจากที่ผมได้มีโอกาสไปเปิดหูเปิดตาในงานสัมมนาแห่งโลกอนาคตที่ชื่อว่า ESRI User Conference 2016 ณ เมืองซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา งานสัมมนานี้เป็นการรวมตัวของผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ของบริษัท ESRI ผู้ผลิตซอฟต์แวร์อันดับหนึ่งในการวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลGIS (ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์) เกือบ 2 หมื่นคนจากทั่วโลกเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประชันผลงานในการประยุกต์ใช้ข้อมูลแผนที่เหล่านี้เข้ากับองค์กรและสังคมของตน บอกได้คำเดียวว่าผมทึ่งมากในสิ่งที่ “Microsoft Office สำหรับข้อมูลแผนที่” พวกนี้สามารถเข้ามาพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ได้จากหลายมิติมาก ผมเคยเขียนเกี่ยวกับข้อมูลGIS ไปแล้วในบทความนี้ แต่สองสิ่งจากงานสัมมนาครั้งนี้ที่ผมคิดว่าสำคัญและสมควรแก่การนำมาเล่าสู่กันฟังที่สุดคือ 1.ประโยชน์หลากมิติ – การประยุกต์ใช้ข้อมูลGIS จะง่ายและมี scope กว้างขึ้นกว่าเดิมมาก 2.ใครก็ใช้ประโยชน์จากGIS ได้ – คุณไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ก็ยังใช้ประโยชน์จากGIS ได้มหาศาล บทความนี้จะนำเสนอตัวอย่างที่น่าสนใจจากงานสัมมนาครั้งนี้และขยายความของสองข้อสังเกตทั้งสองนี้ครับ
กำเนิด Open Data: สัมภาษณ์เบื้องหลังการเปิด "ข้อมูล GIS" ในสหรัฐฯ
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างช้าๆ สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนว่าจะช้ารั้งท้ายกว่าเพื่อนคือการเปิดข้อมูลสาธารณะทั้งหมดให้แก่ประชาชน ผมเคยเขียนถึงประโยชน์อันมหาศาลของ Open Data ไว้แล้วที่นี่ สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยสัมผัสกับ Open Data ต่อไปนี้คือสิ่งที่ประชากรที่อยู่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถทราบและดาวน์โหลดได้เพียงแค่ไม่กี่คลิ๊ก รถแท็กซี่คันไหนจอดรับส่งผู้โดยสารที่ไหน ใช้เส้นทางไหน ได้เงินเท่าไหร่ ได้ทิปเท่าไหร่บ้าง ทุกวัน ทุกวินาที ตั้งแต่ปี 2009 (ลองดู visualization เรื่องราวของแท็กซี่แต่ละคันในเมืองนิวยอร์กในปี 2013 ได้ที่นี่) ภาษีที่ดินที่เจ้าของตึกทุกตึกในเมืองคุณเสียให้กับรัฐบาลไปเมื่อปีที่แล้ว จะเอาตึกไหนก็เลือกดูได้เลย ในย่านที่คุณอยู่อาศัยมีอัตราการก่ออาชญากรรมสูงแค่ไหนเทียบกับย่านที่คุณกำลังจะตัดสินใจซื้อบ้านใหม่ บริษัทไหนในเมืองคุณที่ทำธุรกรรมกับองกรค์ภาครัฐมากที่สุด ซื้อขายอะไรมากที่สุด ดูได้เป็นจำนวนเม็ดเงินในแต่ละเชคเลยทีเดียว เทศบาลของคุณสามารถซ่อมถนน ซ่อมไฟถนน หรือย้ายสิ่งกีดขวางที่เป็นอันตรายบนท้องถนนได้เร็วแค่ไหนหลังจากที่คุณโทรศัพท์ไปแจ้งเทศบาลของคุณมีประสิทธิภาพขึ้นบ้างไหมในช่วงห้าปีที่ผ่านมาหรือว่าแย่ลงเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินในเมืองคุณมีศักยภาพแค่ไหน ตำแหน่งราชการใดในเมืองคุณที่มีเงินเดือนมากสุด ประโยชน์ของ Open Data ทั้งต่อสังคมและต่อรัฐบาลเองมีในมิติใดบ้างนั้นผมขอเชิญอ่านบทความที่แล้วนะครับ ส่วนในบทความนี้ผมจะนำเสนอ 2 สิ่ง: สิ่งแรกคือคุณค่าของการเปิดข้อมูลประเภทพิเศษที่เรียกว่า ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ซึ่งผมจะเรียกย่อๆ ว่า “ข้อมูล GIS” ข้อมูลเชิงแผนที่แบบนี้มีประโยชน์อันมหาศาลในการเอาไปต่อยอดเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ (Public Policy) ในระดับท้องถิ่น […]
ขจัดคอร์รัปชันต้องเริ่มด้วยข้อมูล: กรณีใบสั่งรถทูต
ท่านผู้อ่านเคยสงสัยไหมครับว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อทูตจากหลากหลายสังคมมารวมกันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ diplomatic immunity ทำให้กฎหมายจอดรถในนครนิวยอร์กทำอะไรพวกเขาไม่ได้ ทุกวันนี้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนบนโลกก็จะได้ข่าวอื้อฉาวต่างๆ นานาเกี่ยวกับคอร์รัปชันแทบทุกวัน แต่ที่น่าสงใสคือทำไมสิ่งที่คนทั้งโลกเรียกกันว่า “คอร์รัปชัน” นี้ ถึงได้มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันเหลือเกินในแต่ละสังคม ความแตกต่างนี้มองปราดเดียวก็ทราบได้จากดัชนี corruption perception ที่มาจากองค์การ Transparency International ด้านบน (ยิ่งแดงเข้มยิ่งแย่) แต่ที่มองผ่านๆ แล้วยังไม่เข้าใจ ฟันธงไม่ได้ คืออะไรกันแน่ที่ทำให้เกิดความแตกต่างนี้ และที่จริงแล้วอะไรก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “คอร์รัปชัน” ตั้งแต่แรก ข้อมูลชุดข้างบนถึงแม้ว่าจะมีคุณค่าพอสมควรแต่ก็มีจุดอ่อนมากมายและไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ ความแตกต่างที่เห็นอาจเป็นเพราะว่าแต่ละสังคมมีการลาก “เส้นแบ่งล่องหน” ที่สะท้อนถึงบรรทัดฐานทางสังคม (social norms) ของตนว่าการกระทำแบบไหนถือว่า “ใสสะอาด” และการกระทำแบบไหนถือว่าเป็น “คอร์รัปชัน” เส้นแบ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่สัมผัสได้เส้นนี้มักถูกขีดไว้คนละตำแหน่งบนสเกลความคดโกงในแต่ละสังคม จึงเป็นไปได้ที่การกระทำประเภทที่บางสังคมเห็นว่าเป็นคอร์รัปชันอย่างแน่นอนกลับไม่ถือว่าเป็นคอร์รัปชันในสังคมอื่นๆ ที่เขาเห็นว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาหรือกระทั่งเห็นว่าเป็นเพียงสิ่งที่ “rule of the game” กำหนดเอาไว้แล้วในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเหล่านั้น แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง ความแตกต่างนี้ก็อาจมีผลมาจากความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมาย (enforcement) ที่อยู่ในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละสังคม บางแห่งมีทั้งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและมีทั้งการบังคับใช้อย่างจริงจัง บางแห่งมีความเข้มข้นบนกระดาษแต่ไม่มีบนท้องถนน บางแห่งไม่มีทั้งคู่ ทุกวันนี้คงไม่มีใครเถียงว่าคอร์รัปชันเป็นโรคร้ายของสังคมแต่การที่คอร์รัปชันเป็นวัชพืชที่ฆ่าไม่ตายเสียทีอาจเป็นเพราะเรายังไม่เข้าใจคอร์รัปชันอย่างแท้จริงว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร จากแค่ตัวอย่างข้างต้นที่แบ่งต้นตอของคอร์รัปชันออกเป็นสองส่วน หากเราแยกไม่ออกว่าบรรทัดฐานทางสังคมหรือการบังคับใช้กฎหมายกันแน่ที่เป็นตัวการหลักในการผลักดันพฤติกรรมคอร์รัปชัน เราจะจู่โจมปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกจุดได้อย่างไร บทความนี้จะพาท่านผู้อ่านไปทัวร์ดูวิธีศึกษาปัญหาคอร์รัปชันนี้ด้วยพลังของการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า “Corruption, Norms, and […]
ทำไมแค่ "Big Data" ไม่พอแต่ต้อง "Open Data" ด้วย
อภิมหาข้อมูลที่เปิด = อภิมหาประโยชน์
Previous page Next page
Recent Comments