menu Menu
2 articles filed in
education
Previous page Next page

5 วิธีพัฒนาการศึกษานอกรั้วโรงเรียน

บางทีการแก้ปัญหาสังคมที่คาราคาซังมานานอาจจะมีความก้าวหน้าไปมากขึ้นหาก policy maker ถอยมาหนึ่งก้าวและเริ่มตั้งคำถามใหม่ เวลาคนเราพูดว่าจะ “ปฏิรูป” การศึกษา เรามักจะนึกถึงห้องเรียน ปากกาดินสอ ข้อสอบวัดมาตรฐาน หลักสูตรเข้มข้น อะไรประมาณนี้แต่ผมมานึก ๆ ดูนะครับ คนเราส่วนมากใช้เวลาแค่ 6-7 ชั่วโมงต่อวันในห้องเรียนเท่านั้น แค่ห้าวันจากเจ็ดวันต่ออาทิตย์ และยังมีปิดภาคเรียนยาวเป็นเดือน ๆ แล้วที่เหลืออีกเกินครึ่งของเวลาตอนเด็ก ๆ ตื่นล่ะ?  ยิ่งไปกว่านั้น…แล้วอีกค่อน “ชีวิตผู้ใหญ่” ของคนเราล่ะ ? การเรียนรู้ไม่ควรถูกจำกัดโดยเครื่องแบบนักเรียน เพศ ฐานะทางการเงิน วัย หรือการที่เรากำลังยืนอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “โรงเรียน” ชาติไหนที่การเรียนรู้ในหมู่ประชากรจบสิ้นลงที่ตอนที่ได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญา ชาตินั้นจะลำบาก เราเคยคิดที่จะปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบอื่นกันบ้างหรือไม่? การเปลี่ยนคำถามแคบ ๆ เช่น “จะคิดหลักสูตรใหม่ยังไง?” “จะแจกไอแพดให้เด็กป.หนึ่งดีไหม?” มาเป็น “จะทำอย่างไรให้การเรียนรู้และความสามารถของคนไทยโดยรวมดีขึ้น?” อาจจะทำให้เราเห็นแนวทางใหม่ ๆ หลาย ๆ ทางที่สามารถมาร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ยาก ๆ อย่างเช่นการศึกษาก็เป็นได้ วันนี้ผมมาเสนอ 5 วิธีพัฒนาการศึกษานอกรั้วโรงเรียนแบบ […]

Continue reading


อะไร work ไม่ work ในการศึกษา (ตอนที่ 2)

ลงทุนกับครู น่าจะเวิร์ค

Continue reading



Previous page Next page

keyboard_arrow_up