บทสัมภาษณ์กับ The Matter: Big Data กับ Automation
1.ตอนนี้มีการพูดถึงเรื่องการใช้ Big Data ในแง่มุมต่างๆ มากมาย จนกระทั่ง Big Data กลายเป็นคำที่หลายคนเรียกว่าเป็น Buzzword หรือคำหากินของยุคใหม่ไปแล้ว อยากให้คุณณภัทรช่วยอธิบายหน่อยครับว่า จริงๆ แล้ว Big Data ในแง่มุมที่เราควรเข้าใจจริงๆ เป็นอย่างไร ‘ประโยชน์’ ของมันจริงๆ คืออะไร นิยามของ Big Data คือ ภาวะข้อมูลที่มี 3V คือ volume velocity และ variety แปลเป็นไทยง่ายๆ ก็คือข้อมูลมีปริมาณมหาศาล เก็บได้ถี่ และมีความหลากหลายรูปแบบอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนครับ ผมมองว่าสิ่งที่เราควรจะเข้าใจที่สุดนอกจากว่า Big Data คืออะไรหรือมีประโยชน์และโทษอย่างไร ก็คือต้องเข้าใจว่าคุณหนีมันไม่ได้ ยังไงมันก็จะมากระทบชีวิตพวกเรา ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่าคุณจะอยู่ในประเทศที่แม้แต่ “สมอลดาตา” ยังไม่มีหรือทั้งชีวิตนี้คุณไม่เคยใช้ (และจะไม่ใช้) เทคโนโลยีเลยก็ยังหนีไม่พ้น นั่นเป็นเพราะว่า Big […]
เล่นกับไฟ: ทรัมป์กับการถอนเขี้ยว Dodd-Frank
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามคำสั่ง Executive Order ชิ้นใหม่เพื่อเริ่มทำการรื้อกฎหมายข้อบังคับทางการเงิน Dodd-Frank ยกใหญ่ในสหรัฐฯ แม้ว่าคำสั่งนี้จะไม่หวือหวาและจะยังไม่มีผลเชิงปฏิบัติที่เร่งด่วนเท่ากับคำสั่งอื่นๆ เช่นการแบนชาวต่างชาติจาก 7 ประเทศตะวันออกกลาง แต่กฎหมาย Dodd-Frank ถือเป็นกลไกสำคัญของการควบคุมความเสี่ยงและความประพฤติของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างผลกระทบฉับพลันต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกได้อย่างที่เราเคยเห็นในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 พูดง่ายๆ คือทรัมป์กำลังเล่นกับไฟ ซึ่งหวือหวาน่าสนุกในระยะแรก แต่ตัวใครตัวมันในระยะยาว บทความนี้จะสรุปอย่างสั้นๆ ว่า 1) Dodd-Frank คืออะไร 2) มีไว้ทำไมตั้งแต่แรกและทำไมถึงจะถูกถอนเขี้ยว และ 3) จุดที่ควรจับตามองต่อไป
ทำไมต้องตื่นตัวเรื่องพลังงาน (ตอนที่ 1): จุดยืนพลังงานไทยกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
พลังงานเป็นได้ทั้งตัวช่วยและตัวถ่วงในการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพ ปลอดภัย หาซื้อได้ทั่วถึง และราคาเหมาะสมทำให้เราสามารถผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีผลิตภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปลดปล่อยให้เราเอาเวลาอันมีค่าไปทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ต่างกับตอนที่มนุษย์เริ่มใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สในการปรุงอาหารแทนที่จะต้องไปหาไม้มาก่อฟืนให้เสียเวลาเหมือนสมัยก่อน แต่การบริหารพลังงานประเทศบางทีก็เป็นการปิดกั้นความเจริญของประเทศได้โดยไม่รู้ตัวเช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น การอุดหนุนกดราคาเชื้อเพลิงให้ต่ำกว่าราคาตลาดเพื่อให้เป็นที่พอใจของประชาชน แม้จะฟังดูดีแต่ท้ายสุดจะนำมาซึ่งหายนะทั้งในด้านการคลัง การรณรงค์ให้ประหยัดพลังงาน และการกระจายรายได้เพราะว่าคนที่ยากจนจริง ๆ ไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างที่คิด อีกตัวอย่างล่าสุดก็คือการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศล้มเลิกความตั้งใจที่จะพัฒนาและวิจัยหาพลังงานทดแทนที่สะอาดกว่ามาใช้ ทั้งๆ ที่มลภาวะอากาศจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuels) นั้นมีส่วนในการคร่าชีวิตคนก่อนเวลาอันควรไม่ต่ำกว่า 2 แสนคนต่อปีในประเทศเขาเอง ปัจจัยสำคัญที่เป็นเสี้ยนหนามของการพัฒนานโยบายพลังงานคือความไม่เข้าใจข้อมูลและความลึกลับซับซ้อนของกลไกในตลาดพลังงาน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราควร “ช่างมัน” เพราะว่านโยบายพลังงานกระทบทุกคนในสังคม ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่รุ่นเราก็รุ่นลูกหลานเรา ผมหวังว่าบทความซีรี่ส์ “ทำไมต้องตื่นตัวเรื่องพลังงาน” ที่จะเสนอข้อคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พลังงานแบบสั้นๆ จะทำให้หลายคนหันมาสนใจและเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานอย่างมีทิศทางและมีข้อมูลกันมากขึ้นครับ สำหรับตอนที่ 1 เราไปดูกันว่าพลังงานไทยอยู่ตรงไหนและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) มีส่วนสำคัญอย่างไรและควรคืนปตท.ให้รัฐเหมือนแต่ก่อนดีอย่างที่มีการเรียกร้องกันหรือไม่
สรุป 3 ประเด็นสำคัญจากการประชุม WEF 2017
ผมได้ติดตามความเคลื่อนไหวจากการประชุมเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) 2017 ณ กรุงดาวอสอย่างใกล้ชิด ซึ่งในปีนี้ทาง WEF ได้จัดวงเสวนาในหัวข้อที่สามารถกระทบความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกไว้มากกว่าถึง 400 วงด้วยกัน ตั้งแต่เรื่องความเหลื่อมล้ำไปจนถึงชะตากรรมของโลกาภิวัฒน์ สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่มีเวลาดื่มด่ำกับการดวลพลังสมองของเหล่าผู้นำการเมือง นักธุรกิจ และนักคิดผู้ทรงอิทธิพลที่มาร่วมการประชุมครั้งนี้ ผมคัด 3 เรื่องที่น่าสนใจที่สุดมาเสนอให้อ่านกันในบทความนี้ครับ
คำถามน่าคิดก่อนภาวะเงินเฟ้อจะกลับมา
ขณะนี้กำลังมีสัญญานว่าภาวะเงินเฟ้อที่ห่างหายไปนานมีโอกาสที่จะกลับมาเยือนพวกเราในเร็วๆ นี้ ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้เริ่มปรับตัวขึ้นแล้ว เยอรมันเมื่อเดือนธ.ค. ปี 2016 ได้ปรับตัวขึ้นมากถึง 1.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ามากที่สุดตั้งแต่ปี 2013 เฟดเองหลังจากที่ขึ้นดอกเบี้ยเมื่อท้ายปีที่แล้วก็ได้ใช้คำว่า “ขึ้นมามากพอควร” เพื่อใบ้ว่าเงินเฟ้อกำลังปรับตัวสูงขึ้น ในประเทศไทยเองอัตราเงินเฟ้อในเดือน ธ.ค. 2016 ก็ได้ปรับตัวมากที่สุดในรอบ 2 ปี ที่ผ่านมาเช่นกัน โดยนักวิเคราะห์ส่วนมากมองว่ามีผลมาจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน (ซึ่งจะสะท้อนถึงต้นทุนที่สูงขึ้นของสินค้าแทบจะทุกประเภท) บทความนี้จะนำเสนอ 3 คำถามน่าคิดเกี่ยวกับเงินเฟ้อหากเศรษฐกิจโลกจะทำการเข้าสู่วงจรใหม่จริงๆ หลังจากที่จมกับภาวะเงินเฟ้อต่ำมาเป็นเวลานานหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ครับ
3 มิติการลงทุนเมื่อมนุษย์อายุยืนขึ้น
หากย้อนเวลากลับไปสู่ยุคหิน คนไทยที่ขณะนี้กำลังมีชีวิตอยู่กว่า 80% จะอยู่เลยอายุขัยเฉลี่ยในสมัยนั้นไปหมดแล้ว ทุกวันนี้อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของมนุษย์เราได้ขยับจากแค่ 26 ปี (ในยุคหิน) ขึ้นมาอยู่สูงถึง 75 ปี (คนไทยในปี 2559) โดยที่ตัวเลขนี้ได้ทยานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าถึง 10 ปี ภายในแค่ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Bionics (ต่ออายุด้วยการแทนอวัยวะที่เสียหายด้วยหุ่นยนต์) ทางการแพทย์ (ต่ออายุให้เสียชีวิตจากโรคภัยได้ยากขึ้น) และทางชีววิทยา (ต่ออายุเอาดื้อ ๆ ด้วยการตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งตอนนี้ทำได้ในหนอนตัวกลมแล้ว) มีแต่จะบ่งชี้ว่ามนุษย์ในอนาคตจะมีอายุยืนขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก แม้แนวโน้มนี้โดยรวมแล้วจะเป็นเรื่องน่ายินดี แต่มันก็เป็นการสร้างความท้าทายอันมหาศาลให้กับกระเป๋าสตางค์เราเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเรา “แก่ก่อนรวย” ในรูปการณ์แบบนี้ หากเราคิดจะเกษียณที่อายุ 65 เราจะต้องมีเงินเก็บพอใช้ไปอย่างน้อย ๆ 10-20 ปีขึ้นไป และที่จริงแล้วควรจะมีเงินเก็บมากกว่านั้นด้วยซ้ำเนื่องจาก 1) เราอาจ underestimate รายจ่ายทางสุขภาพก้อนใหญ่ที่มักจะมาถมกันตอนใกล้บั้นปลายชีวิต 2) เรามีโอกาสอายุยืนกว่าค่าเฉลี่ย และ 3) เราอาจต้องการเกษียณก่อนอายุ 65 ปี พูดง่าย ๆ […]
จังหวะใหม่ของจีนกับการปรับหางเสือเศรษฐกิจ
ตั้งแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 เป็นต้นมา เราได้เห็นการ “ปรับหางเสือ” ของเศรษฐกิจจีนจากการพึ่งพาการลงทุนและการส่งออกไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสริมสร้างความสมดุลย์ (rebalancing) เพื่อเสถียรภาพและคุณภาพของการขยายตัวในระยะยาว ในสายตานักลงทุนทั่วโลกมันคือการชะลอตัวลงของฟันเฟืองชิ้นโตที่เคยขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอด แต่ในสายตาของผู้นำจีน เขามองว่าแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเดิม แม้จะนำมาซึ่งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วระดับปาฏิหาริย์ยาวถึง 3 ทศวรรษ ได้เข้าสู่จุดอิ่มตัวและสร้างปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นเสี้ยนหนามในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ยั่งยืน ในการปรับหางเสือครั้งนี้ จีนจึงตั้งใจที่จะปั้นโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่จะมีการพึ่งพาการผลิตเพื่อบริโภคภายใน พัฒนาภาคบริการ และยกระดับผลิตภาพของแรงงานและเงินทุนในหลากเซ็กเตอร์ให้มากขึ้น บทความนี้จะขอสรุปอย่างสั้นๆ ว่า 1) ทำไมความสำเร็จของการปรับหางเสือของจีนจะมีความสำคัญมากขึ้น และ 2) จีนปรับหางเสือไปถึงไหนแล้ว ไฟสปอร์ตไลท์กำลังจะกลับมาที่จีน ผู้เขียนคิดว่าหลังจากที่ฝุ่นจากเหตุการณ์ Brexit และการเลือกตั้งสหรัฐฯ สงบลง ความคาดหวังในความสำเร็จ ทิศทาง และความราบรื่นของการปรับหางเสือของจีนจะมีมากขึ้น ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ ประการแรก สหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ได้ส่งสัญญานอันไม่เป็นมิตรต่อจีนออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ตอนหาเสียงแล้ว การขึ้นภาษีนำเข้าและนโยบายกีดกันทางการค้าในรูปแบบอื่นๆ ต่อจีน จะเป็นการสร้างอุปสรรคอย่างไม่จำเป็นให้กับเศรษฐกิจจีนที่กำลังชะลอตัวลงในขณะที่จีนปรับหางเสือ ซึ่งถึงแม้จีนเองจะสามารถโต้กลับได้ด้วยการโยกย้ายการบริโภคสินค้าบางชนิดจากสหรัฐฯ ได้ เช่น เครื่องบินหรือถั่วเหลือง จีนเองก็ไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ที่ everybody loses แบบนี้เช่นกัน ประการที่สอง การแสดงทีท่าของสหรัฐฯ ว่าจะไม่ทำตัวเป็นตัวตั้งตัวตีเพื่อส่งเสริมความแน่นแฟ้นทางเศรษฐกิจแบบ multilateral บนเวทีโลกเท่าในอดีตอีกต่อไป […]
Sunk Cost: ตัดใจหรือติดกับเมื่อติดดอย
ในบางสถานการณ์มนุษย์เราตัดสินใจได้แย่พอๆ กับ (หรือแย่กว่า) นกพิราบที่กำลังเก็บกินเศษขนมปังตามท้องถนน “เพิ่งซื้อหุ้นซัมซุงมาอย่างแพง…Note 7 ดันเน่ายกแผง…แต่อย่าเพิ่งขายเลย เสียดาย” “X-Men ภาคสามนี่ทำได้แย่จริงๆ แต่เสียดายค่าตั๋ว ทนดูไปอีกสองชั่วโมงแล้วกัน” “เราเกลียดงานเรา แต่อุตส่าห์ทำมาตั้ง 5 ปีแล้ว จะให้ลาออกได้ยังไง” “อย่าเพิ่งเลิกกันเลย เราอาจจะเข้ากันไม่ได้ แต่เราคบกันมาตั้ง 7 ปีแล้วนะ” ช่วงเวลาสำคัญๆ เหล่านี้มนุษย์ทุกคนล้วนเคยผ่านมันมาแล้วทั้งนั้น แต่จะมีส่วนน้อยที่ไม่เคยติดกับดักที่ชื่อว่า sunk cost fallacy
มีตัวเลขเศรษฐกิจอยู่ตัวหนึ่งที่หลายคนมักมองมันอย่างผิวเผินว่าเป็น “ตัวเลขหายนะ” ตัวเลขนั้นก็คือสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (ขอเรียกสั้นๆ ว่า หนี้รัฐบาลต่อ GDP) ในขณะที่บ้านเรากังวลกันว่าตัวเลขนี้อาจขึ้นไปแตะ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือจะชนกรอบที่ตั้งไว้ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ในไม่ช้า เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมเราถึงต้องกังวลกับมันทั้งๆ ที่เศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วแทบจะทุกเศรษฐกิจมีหนี้รัฐบาลอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่า “ชาตินี้ก็ชำระไม่หมด” บทความนี้จะนำเสนอประเด็นที่เราควรและไม่ควรกังวล บวกกับผลวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับตัวเลขนี้ครับ
ถี่ ถูก แม่น หรือแค่ฝัน?: รวม 14 วิธีวัดตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ในยุค Big Data
แม้ว่ามนุษย์เราได้เริ่มศึกษาและทำการวัดข้อมูลเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่เมื่อ 73 ปีแล้ว การที่น้อยคนนักที่สามารถทำนายวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ครั้งเมื่อปี 2008 ทั้ง ๆ ที่มองย้อนกลับไปจากวันนี้แล้วมันมีสาเหตุชัดเจน สะท้อนว่าเรายังรู้อะไรน้อยมากเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญมักถูกประกาศหลังจากที่สิ่งที่มันตั้งใจจะวัด ได้เกิดขึ้นไปแล้วหลายอาทิตย์หรือเป็นเดือนๆ (ดีไม่ดีเป็นปี…และอาจมี revision เพราะประกาศแรกผิด) ซ้ำร้ายยังอาจเป็นตัวเลขเท็จที่ถูกการเมืองแทรกแซงอย่างที่ตลาดโลกตราหน้าตัวเลขเศรษฐกิจทางการของประเทศจีน แต่ด้วยความก้าวหน้าและความแพร่หลายของเทคโนโลยีสารสนเทศ ผมคิดว่าทั้งหมดนี้กำลังจะเปลี่ยนไปในไม่ช้า ในโลกอนาคต ข้อมูลจำนวนมหาศาลจะถือกำเนิดขึ้นทุกครั้งที่ “ผู้เล่น” ในระบบเศรษฐกิจกำลังกระทำอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำการค้นหาใน Google โทรศัพท์หาเพื่อน จ่ายเงินค่าทางด่วน หรืออัพโหลดรูปที่ตนไปเที่ยวมาขึ้น Flickr ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถมองว่ามันเป็นเหมือน “ลายทางเศรษฐกิจ” ขนาดเล็กจำนวนนับไม่ถ้วนที่สามารถถูกนำไปวิเคราะห์ต่อเพื่อนำไปผูกเป็น “ตัวเลขเศรษฐกิจทางเลือก” ที่จะมีความถี่สูงกว่าแต่มีต้นทุนต่ำกว่าได้ อีกทั้งในบางกรณียังสามารถเอาไปทำนายตัวเลขเศรษฐกิจทางการก่อนการประกาศจริงได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ในบทความนี้ผมจะเสนอตัวอย่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลชนิดใหม่ๆ เพื่อการวัดและคาดการณ์ข้อมูลเศรษฐกิจทางการที่สำคัญ เช่น อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ อัตราว่างงาน ไปจนถึงแพทเธิร์นในการท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้อ่านเห็นถึงความเป็นไปได้ที่ข้อมูลเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ครับ วัดการขยายตัวของเศรษฐกิจใหม่ คงไม่มีใครเถียงว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดก็คือ GDP แต่จุดที่จะชี้ว่าใครเป็นผู้แพ้ผู้ชนะในตลาดการเงินโลกคือความแม่นยำในการทำนายตัวเลขนี้ก่อนที่ตัวเลขทางการจะถูกเปิดเผยออกมา ตัวอย่างที่ 1: ใช้ข้อมูลการสื่อสารด้านการเงินระหว่างธนาคารเพื่อคาดการณ์ GDP SWIFT ซึ่งปกติทำระบบสื่อสารด้านการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลกนั้นมีวิธีนำข้อมูลปริมาณการสื่อสารด้านการเงินเหล่านี้มารวมกับข้อมูลอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจที่ผ่านมาเพื่อทำเป็น SWIFT Index ซึ่งค่อนข้างแม่นยำในการช่วยคาดการณ์ GDP […]
ทำดีเพื่อเขาหรือเรา?: the Warm Glow Effect
การให้ การทำดี และการช่วยเหลือผู้อื่นนั้นมีอะไรที่น่าคิดมากมาย ทำไมบางคนที่บริจาคเงินเพื่อการกุศลถึงต้องการเปิดเผยชื่อสลักไว้ให้ผู้อื่นอ่าน ทำไมเพื่อนบางคนเวลาไปช่วยเหลือผู้อื่นมาแล้วต้องโพสต์รูปบอกทุกคนให้ทราบกันในเฟสบุ๊ค (โดยไม่ได้มีเจตนาจะรณรงค์อะไรใดๆ) ทำไมบางคนถึงยังชอบช่วยผู้อื่นในรูปแบบที่เราไม่เห็นด้วย หรือไม่ก็ในรูปแบบที่ไม่มีทางก่อให้เกิดผลดีอะไรได้กับสังคมจริง ๆ คำถามน่าคิดเหล่านี้ล้วนมีต้นตอมาจากว่าครั้งสุดท้ายที่คุณช่วยเหลือผู้อื่น บริจาคเงิน ทำงานเพื่อสังคม หรือให้ของขวัญ คุณจำได้ไหมว่าคุณทำไปเพราะอะไร เนื่องในโอกาสวันคริสต์มาส ซึ่งในปัจจุบันถือเป็น “เทศกาลแห่งการให้” ในหลายสังคมบนโลก บทความนี้จะชวนผู้อ่านไปขบคิดถึงพฤติกรรมการให้และการช่วยผู้อื่นจากมุมมองเศรษฐศาสตร์กันครับ
การค้าเสรี: หากดีจริง...ทำไมถึงถูกต่อต้าน
เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมนักเศรษฐศาสตร์แทบทุกคนถึงเชิดชูการค้าเสรีทั้งๆ ที่ดูเหมือนว่าคนจำนวนมาก (โดยเฉพาะในโลกตะวันตก) กำลังมีอคติกับแนวคิดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่นานมานี้มีข่าวว่าเรากำลังเผชิญกับภาวะการค้าโลกถดถอยที่แย่ที่สุดตั้งแต่หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ตั้งแต่ปี 1985 ถึง 2007 ปริมาณการค้าโลกโดยเฉลี่ยแล้วจะโตประมาณสองเท่าของอัตราเติบโตของ GDP โลก แต่เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา รายงานจากองค์กรการค้าโลกและ IMF พบว่าการค้าโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นซบเซาถึงขั้นน่าเป็นห่วงและคาดว่าการค้าโลกปีนี้จะขยายตัวเพียงแค่ 1.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่าอัตราเติบโตของ GDP โลกที่คาดไว้เสียอีก นับเป็นจุดพลิกผันสำคัญของเศรษฐกิจโลก ยิ่งไปกว่านั้น ขณะนี้มองไปทางไหนก็จะพบกับการระบาดของทัศนะคติทางลบต่อการค้าเสรี ไม่ว่าจะเป็นการปลุกระดมความเคียดแค้นต่อประเทศคู่ค้าโดยนักการเมืองอย่างโดนัลด์ ทรัมป์ หรือ ชัยชนะของเสียงโหวตต่อต้านโลกาภิวัตน์ที่เราได้เห็นจากเหตุการณ์ Brexit เมื่อเดือนมิถุนายน ไปจนถึงการเล่นตุกติกเล็กๆ น้อยๆ โดยรัฐบาลหลากประเทศเพื่อการอุดหนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศตน และทั้งหมดนี้ก็ไม่ใช่แค่เพียงหมอกควันเพราะข้อมูลจาก Global Trade Alert Database พบว่าระหว่างปี 2009 ถึง 2015 ได้เกิดมาตรการกีดกันทางการค้าขึ้นมากกว่ามาตรการที่ส่งเสริมการค้าเสรีกว่า 3 เท่าตัว และพบอีกด้วยว่าปี 2015 เป็นปีที่มีจำนวนมาตรการกีดกันทางการค้าสูงที่สุดตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล จึงเป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่งว่า หากการค้าเสรีดีจริงตามตำราที่พร่ำสอนกันมา ทำไมถึงเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น บทความนี้จะอธิบายอย่างเข้าใจง่ายๆ ว่าการค้าเสรีดีเพราะอะไรและชี้ให้เห็นถึงเหตุผลหลักๆ ที่เป็นชนวนของขบวนการต่อต้านการค้าเสรีในขณะนี้
การเลือกตั้งสหรัฐฯ ครั้งนี้เต็มไปด้วยความฉาวโฉ่ ทั้งเรื่องอีเมลลับ เรื่องสุขภาพ เรื่องเหยียดผิว ไปจนถึงเรื่องการปกปิดบันทึกการเสียภาษี แต่สิ่งที่ถูกดราม่าและความอื้อฉาวของการเมืองอเมริกันกลบจนแทบจะมิดคือจะเกิดอะไรขึ้นกับนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ หากฮิลลารี คลินตันชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่ง ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 simulation จากเว็บไซต์ fivethirtyeight ทำนายว่าฮิลลารี คลินตันมีโอกาสเอาชนะโดนัลด์ ทรัมป์ประมาณ 54.8 เปอร์เซ็นต์
ทุกวันนี้มนุษย์ทำมาหากินด้วยอวัยวะที่ธรรมชาติให้มา บางคนหาเช้ากินค่ำด้วยมือและเท้า บางคนเลี้ยงดูครอบครัวได้ด้วยมันสมอง แต่เราเคยคิดบ้างไหมว่าวันหนึ่งอวัยวะเหล่านี้อาจไม่สามารถสร้างมูลค่าได้มากเท่าแต่ก่อน
[Life+] Productive ขึ้นด้วยการทำงานให้น้อยลง
สมัยนี้คนทำงานรุ่นใหม่ไฟแรงมักเพรียกหาสิ่งที่เรียกว่า “productivity” แต่ทว่าหากไม่ลองหยุดคิดดูจริงๆ ว่าอะไรคือ productivity คุณอาจกำลังเหนื่อยเปล่า
พักนี้มักได้ยินหลายคนบ่นว่าทำไมอัตราดอกเบี้ยมันต่ำจัง จะฝากประจำทีคิดหนัก ส่วนผู้สูงอายุใกล้เกษียณยิ่งวิตกเพราะอายุเลยวัยเล่นโรลเลอร์โคสเตอร์กับตลาดหุ้นที่ผันผวนแล้ว คำถามยอดฮิตทุกวันนี้จึงเป็น “ดอกเบี้ยมันจะต่ำติดดินแบบนี้ไปอีกนานไหม?” บทความนี้จะนำเสนอมุมมองหลักๆ ในการอธิบายว่า 1.ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำแปลว่าอะไร 2.ทำไมมันถึงต่ำ 3.เมื่อไรมันจะขึ้น
โปเกนอมิกส์: 3 มุมมองเศรษฐศาสตร์โปเกมอน
ก่อนอื่นผมขอขอบคุณที่ท่านผู้อ่านได้สละเวลาอัพเลเวลโปเกมอนอันมีค่ามาอ่านบทความนี้นะครับ สัญญาว่าบทความเกี่ยวกับ “โปเกนอมิกส์” นี้จะสนุก มีสาระ และไม่ใช้เวลาอ่านนานนัก ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น พ่อแม่ ลุงป้าน้าอา ลูกเล็กเด็กแดง ต่างรู้จักเกม Pokemon GO กันถ้วนหน้า ซึ่งล่าสุดพบว่าผู้เล่น (Daily Active Users) เกือบ 25 ล้านคนใช้เวลาโดยเฉลี่ยแล้วกว่า 43 นาทีต่อวัน ในเกมนี้ (ทิ้งห่าง Instagram ที่อยู่ที่ 25 นาทีต่อวัน) ดังเปรี้ยงปร้างขนาดนี้จึงไม่แปลกที่ออฟฟิสสร้างเกมเล็กๆ สองสามออฟฟิส สามารถสร้างรายได้ได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวันแม้ว่าผู้เล่นสามารถดาวน์โหลดเกมเล่นได้ฟรี ความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้นนี้เป็นบทพิสูจน์เลยว่าคอนเซ็ปต์ minimum viable product (ออกเกมมาโดยมีแค่ basic feature ก่อนเพื่อทดสอบตลาด) ใช้ได้จริงในวงการนี้ แต่สำหรับผม ที่น่าสนใจกว่าคือสิ่งที่ Pokemon GO สะท้อนให้เห็นถึง 3 มุมมองเศรษฐศาสตร์ต่อไปนี้
ผมคิดว่ามันน่าทึ่งมากที่ขณะนี้เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในยุคที่อีกไม่นานสมองกลจะสามารถมองเห็นภัยในระบบการเงินโลกอันแสนจะยุ่งเหยิงได้ก่อนมนุษย์และสามารถรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรเศรษฐกิจในระยะสั้นได้ดีกว่าเรา แต่ที่น่าทึ่งยิ่งกว่าคือมันเป็นยุคเดียวกันกับช่วงเวลาที่นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก (ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่น่าจะทราบดีกว่าใครเพื่อน!) ยังเห็นไม่ตรงกันว่าโลกเราจะเป็นอย่างไรภายใต้ภาวะดอกเบี้ยติดลบ และยังตกลงกันไม่ได้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ควรจะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไร …และต้องไม่ลืมว่านี่ก็เป็นยุคเดียวกันกับยุคที่นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำหลายคนมองไม่เห็นสัญญานก่อนเกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หลายคนจึงอดสงสัยไม่ได้ว่าท่ามกลางกระแส Big Data ที่มาพร้อมกับความร้อนแรงของสาขา Machine Learning และสาขาอื่นๆ ภายใต้ศาสตร์แห่งวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) บทบาทและคุณค่าของนักเศรษฐศาสตร์ในยุคนี้คืออะไรกันแน่ และมันจะเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใด ผมเองมองว่ากระแส Big Data ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีเพราะว่าถึงเวลาแล้วที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์หลายๆ ทฤษฎีควรถูกจับมาพิสูจน์ด้วยข้อมูลที่เราไม่เคยมีมาก่อน ในอนาคตเราจะได้เข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ในระบบเศรษฐกิจที่นับวันยิ่งทวีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แต่ที่ผมคิดว่าน่าสนใจที่สุดคือช่องทางที่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ๆ นั้นได้เริ่มปรับตัวเข้ากับกระแส Big Data นี้อย่างช้าๆ ไปเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งยังได้เริ่มเบิกทางให้เราเห็นแล้วว่าอีกในไม่กี่ปีข้างหน้าสาขาเศรษฐศาสตร์จะต่อยอด Big Data อย่างไรและให้อะไรได้บ้างกับวงการธุรกิจและสังคมโดยรวม โดยหลักๆ แล้วผมมองว่านักเศรษฐศาสตร์จะสามารถเข้ามาช่วยสร้าง value ในยุค Big Data นี้ได้ใน 2 ช่องทางหลักๆ : สร้างและใช้มาตราวัดตัวแปรเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า มีความแม่นยำสูงกว่า และมีต้นทุนในการเก็บข้อมูลที่ต่ำกว่าวิธีเดิมๆ ช่วยทีม Business Analytics ไปให้ใกลกว่าการคาดคะเนหรือจำลองอนาคต (predictive modeling) เพื่อไปสู่ความเข้าใจถึงความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน (causation) บทความนี้จะพาท่านผู้อ่านไปสำรวจดูว่าล่าสุดนี้มีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ร่วมกับกระแส Big […]
กำเนิด Open Data: สัมภาษณ์เบื้องหลังการเปิด "ข้อมูล GIS" ในสหรัฐฯ
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอลอย่างช้าๆ สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนว่าจะช้ารั้งท้ายกว่าเพื่อนคือการเปิดข้อมูลสาธารณะทั้งหมดให้แก่ประชาชน ผมเคยเขียนถึงประโยชน์อันมหาศาลของ Open Data ไว้แล้วที่นี่ สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยสัมผัสกับ Open Data ต่อไปนี้คือสิ่งที่ประชากรที่อยู่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถทราบและดาวน์โหลดได้เพียงแค่ไม่กี่คลิ๊ก รถแท็กซี่คันไหนจอดรับส่งผู้โดยสารที่ไหน ใช้เส้นทางไหน ได้เงินเท่าไหร่ ได้ทิปเท่าไหร่บ้าง ทุกวัน ทุกวินาที ตั้งแต่ปี 2009 (ลองดู visualization เรื่องราวของแท็กซี่แต่ละคันในเมืองนิวยอร์กในปี 2013 ได้ที่นี่) ภาษีที่ดินที่เจ้าของตึกทุกตึกในเมืองคุณเสียให้กับรัฐบาลไปเมื่อปีที่แล้ว จะเอาตึกไหนก็เลือกดูได้เลย ในย่านที่คุณอยู่อาศัยมีอัตราการก่ออาชญากรรมสูงแค่ไหนเทียบกับย่านที่คุณกำลังจะตัดสินใจซื้อบ้านใหม่ บริษัทไหนในเมืองคุณที่ทำธุรกรรมกับองกรค์ภาครัฐมากที่สุด ซื้อขายอะไรมากที่สุด ดูได้เป็นจำนวนเม็ดเงินในแต่ละเชคเลยทีเดียว เทศบาลของคุณสามารถซ่อมถนน ซ่อมไฟถนน หรือย้ายสิ่งกีดขวางที่เป็นอันตรายบนท้องถนนได้เร็วแค่ไหนหลังจากที่คุณโทรศัพท์ไปแจ้งเทศบาลของคุณมีประสิทธิภาพขึ้นบ้างไหมในช่วงห้าปีที่ผ่านมาหรือว่าแย่ลงเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินในเมืองคุณมีศักยภาพแค่ไหน ตำแหน่งราชการใดในเมืองคุณที่มีเงินเดือนมากสุด ประโยชน์ของ Open Data ทั้งต่อสังคมและต่อรัฐบาลเองมีในมิติใดบ้างนั้นผมขอเชิญอ่านบทความที่แล้วนะครับ ส่วนในบทความนี้ผมจะนำเสนอ 2 สิ่ง: สิ่งแรกคือคุณค่าของการเปิดข้อมูลประเภทพิเศษที่เรียกว่า ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ซึ่งผมจะเรียกย่อๆ ว่า “ข้อมูล GIS” ข้อมูลเชิงแผนที่แบบนี้มีประโยชน์อันมหาศาลในการเอาไปต่อยอดเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ (Public Policy) ในระดับท้องถิ่น […]
“คนดี” หรือกฎหมายดีที่ทำให้บ้านเมืองดี? สิ่งไหนที่สามารถเบนเข็มสังคมจากความเห็นแก่ตัวไปสู่จุดหมายของส่วนรวมได้? คำถามสั้นๆ นี้ผ่านการขบคิดโดยนักปราชญ์และนักปกครองจำนวนนับไม่ถ้วนมาแล้วหลายพันปี แนวคิดหนึ่งมองว่ารัฐมีหน้าที่ต้องหล่อหลอมและเสริมสร้างพลเมืองให้เป็น “คนดี” ที่มีสำนึกต่อส่วนรวมไม่ว่าจะผ่านทางระบบการศึกษาหรือศาสนา หวังว่าจะสามารถปลูกฝังสิ่งที่เรียกว่า “ความพอใจส่วนรวม” (social preference) ไว้ในจิตใจของประชาชนให้เติบโตไปเป็นคนที่โหยหาและปรารถนาให้ส่วนรวมดีขึ้น ไม่ใช่แค่สนองความพอใจส่วนตน (individual preference) พูดง่ายๆ ก็คือแนวคิดนี้มองว่ารัฐควรพยายามทำให้ประชาชน “อยาก” ทำสิ่งดีๆ ต่อเพื่อนร่วมสังคมเพื่อสนองความพอใจส่วนรวมของตนเอง ไม่ต่างกับเวลาประชาชนมีความต้องการอื่นๆ เช่น ความอยากบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ความบันเทิงเพื่อสนองความพอใจส่วนตน แต่อีกแนวคิดกลับมองว่าจิตใต้สำนึกคนเรานั้น “เน่า” และ ”เอาแต่ได้” กันทั้งนั้น อย่าหวังว่าจะเปลี่ยนสันดานนี้ได้ รัฐจึงควรทุ่มกำลังไปกับการสร้างสิ่งแวดล้อมและกฎหมายที่ไม่ได้เอาไว้สร้างคนแบบในแนวคิดแรก แต่เอาไว้สร้างแรงจูงใจและบทลงโทษเพื่อตีกรอบบังคับได้อย่างสมบูรณ์จนพลเมืองที่เห็นแก่ตัวสามารถเล่นละครตบตาเราได้ราวกับว่าตัวเองเป็น “คนดี” หลายพันปีผ่านไปดูเหมือนว่าแนวคิดที่สองจะได้รับชัยชนะไปอย่างล้นหลาม (ต้องขอบคุณแนวคิดของ the Invisible Hand ของ อดัม สมิธ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสังคมที่เราเรียกกันว่า “สังคมพัฒนาแล้ว” ทุกวันนี้สังคมสมัยใหม่มักให้น้ำหนักกับแนวคิดที่สองมากในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่การสร้างบทลงโทษเพื่อป้องกันอาชญากรรมไปจนถึงการร่างกฎหมายค่าปรับเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ จนเหมือนกับว่าทุกวันนี้ “คนดี” เป็นอะไรที่ล้าสมัยและกำลังถูกลืมไปอย่างช้าๆ บทความนี้จะนำเสนอมุมต่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างคนให้เป็น “คนดี” และแนวทางการพัฒนาบ้านเมืองโดยใช้แนวคิดอันแตกต่างทั้งสองแนวนี้ควบคู่ไปด้วยกัน
Recent Comments