บทเรียนชีวิตจากตำราเศรษฐศาสตร์ (ตอนที่ 2): สะสมอำนาจและอยู่ให้ถูกตลาด
จากที่ผู้เขียนร่ำเรียนเศรษฐศาสตร์มา 9 ปี และใช้ชีวิตมาจะครบ 30 ปีแล้ว พบว่าแม้หลายอย่างในตำราจะไม่ค่อยมีประโยชน์โดยตรงนักในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะมัน “obvious” (ชัดเจน) อยู่แล้ว หรือมันซับซ้อนเกินไป แต่สิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมักจะโผล่เข้ามาอย่างเป็นประจำ คอยย้ำอยู่นั่น มันทำให้เราคิดว่า “อืม…เป็นอย่างนั้นจริงๆ อีกแล้วแฮะ” บทความซีรีย์นี้จะหยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากตำราเศรษฐศาสตร์ที่ผมมองว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมาเล่าผ่านประสบการณ์จริง เผื่อจะไปเป็นประโยชน์ต่อชีวิตผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ ตอนที่แล้วเราคุยกันว่า “ทำไมผู้อ่อนไหวคือผู้ชนะ” ส่วนตอนที่ 2 เราจะมาดูบทเรียนที่สอง นั่นก็คือการสะสมอำนาจและอยู่ให้ถูกตลาด
บทเรียนชีวิตจากตำราเศรษฐศาสตร์ (ตอนที่ 1): ผู้อ่อนไหวคือผู้ชนะ
จากที่ผู้เขียนร่ำเรียนเศรษฐศาสตร์มา 9 ปี และใช้ชีวิตมาจะครบ 30 ปีแล้ว พบว่าแม้หลายอย่างในตำราจะไม่ค่อยมีประโยชน์โดยตรงนักในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะมัน “obvious” อยู่แล้ว หรือมันซับซ้อนเกินไป แต่สิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมักจะโผล่เข้ามาอย่างเป็นประจำ คอยย้ำอยู่นั้น มันทำให้เราคิดว่า “อืม.. เป็นอย่างนั้นจริงๆ อีกแล้วแฮะ” บทความซีรีย์นี้จะหยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากตำราเศรษฐศาสตร์ที่ผมมองว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมาเล่าผ่านประสบการณ์จริง เผื่อจะไปเป็นประโยชน์ต่อชีวิตผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ
Bitcoin เข้าภาวะฟองสบู่หรือยัง?
ในหนึ่งปีที่ผ่านมาราคาของ Bitcoin ขึ้นมากว่า 1000% ขณะนี้ราคาขึ้นมาแตะที่ระดับเกิน 1 หมื่นดอลลาร์ต่อ 1 BTC แล้ว ทำให้ market capitalization ของ Bitcoin เท่ากับราวๆน้องๆ 50 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ไทยปีที่แล้วเลยทีเดียว มูลค่าของเงินดิจิทัลที่สัมผัสไม่ได้ ที่เคยไร้ค่า ตอนนี้พอๆ กับเกือบครึ่งของ GDP ประเทศไทย หลายคนเห็นราคาแบบนี้แล้วจึงสงสัยว่า “เขาซื้อ Bitcoin กันไปทำไม” และ “มันเป็นฟองสบู่หรือเปล่า?” “ทำไมถึงมีคนคิดว่าจะยังวิ่งไปได้อีก”
Future of Money (ตอนที่ 1): ใครๆ ก็ให้กู้ได้
นับวันเทคโนโลยียิ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่เราไม่เคยนึกมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของเรากับ “เงิน ที่ได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างน่าตกใจ จากเคยใช้เงินสดสู้การใช้ QR code จากแต่งตัวเดินไปธนาคารสู่โอนเงินผ่านแอพในชุดนอน หรือแม้กระทั่งจากที่ใช้เงินสกุลท้องถิ่นแสนคุ้นเคยสู่การใช้เงินคริปโต บทความซีรี่ย์ Future of Money จะหยิบมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเงินที่กำลังเปลี่ยนไปมาเล่าให้ผู้อ่านฟังกันครับ
ประเดิมกันไปสดๆ ร้อนๆ นะครับกับตลาด Bitcoin futures สองแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่เปิดตัวไปในอาทิตย์ที่ผ่านมา สัญญา Futures ของ Bitcoin ภายใต้ ticker “XBT” เปิดให้เทรดที่ Cboe ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ราคา futures เดือนมกราคาของ Bitcoin ก็ทยานขึ้นไปเกิน 25% ส่งผลให้ตลาดเกิด circuit breaker ยุติการซื้อขายชั่วคราวถึง 2 ครั้ง ถือเป็นสัญญานว่า Wall St. มองว่า Bitcoin จะยังไปต่อได้อีก คลายความกังวลในหมู่นักเทรด Bitcoin กันไปชั่วขณะเนื่องจากในอาทิตย์ที่ผ่านมาเริ่มมีกระแสว่าการมาของตลาด Futures ครั้งนี้อาจเปิดโอกาสให้ผู้เล่นยักษ์ใหญ่เข้ามาถล่มและเก็งกำไรจากการร่วงหล่นของราคา Bitcoin ในตลาด Spot บทความนี้จะชี้ 2 ประเด็นที่น่าจับตามองหลังจากที่ Wall St. กำลังเข้ามาร่วมวงในโลกคริปโตครั้งนี้ครับ
ธนาคาร: อยู่รอดในยุคฟินเทคได้อย่างไร?
ในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาคำว่า “ฟินเทค” กลายเป็นคำพูดที่ติดหูที่สุดในแวดวงการเงินทั่วโลก จากเดิมที่คนเราคุ้นเคยกับการเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร ตอนนี้การทำธุรกรรมที่ปลายนิ้วโดยไม่ต้องเจอใครเลยจากทุกที่บนโลก (และบางทีไม่ต้องผ่านตัวกลางใดๆ) กำลังจะกลายเป็น new normal สำหรับผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อย แม้ว่าธนาคารใหญ่ๆ หลายเจ้าจะเริ่มไหวตัวกันแล้วบ้างแล้ว เช่น เริ่ม digitize ข้อมูลและระบบเดิมมากขึ้นหรือเริ่มทำ mobile banking ก็ยังถือว่าเป็นการปรับตัวที่เชื่องช้ามากเมื่อเทียบกับไอเดียและความคิดที่กำลังถูกปรุงแต่งโดยทีมสตาร์ตอัพฟินเทคใหม่ๆ จึงเกิดคำถามขึ้นว่าธนาคารยุคเก่าที่เราคุ้นเคยกันจะอยู่รอดอย่างไรท่ามกลางคลื่นลูกใหม่ที่กำลังรุกรานถิ่นเก่าการเงินนี้
3 Cryptocurrency ที่น่าติดตามไม่แพ้ Bitcoin
ขณะนี้คงไม่มีใครในโลกลงทุนที่ไม่รู้จักเงินสกุลดิจิทัลหรือ “cryptocurrency” แล้ว market capitalization ในตลาด cryptocurrency อยู่ที่เฉียดๆ 170 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของ market capitalization ของ SET50! โดยมีเงินสกุลดิจิทัลพันธุ์ใหม่ๆ เกิดแก่เจ็บตายกันเป็นว่าเล่น บทความนี้จะพาท่่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ 3 สกุลเงินดิจิทัลที่ถึงแม้จะยังไม่โด่งดังเท่า Bitcoin หรือ Ethereum (สองสกุลที่ครองกว่า 70% ของตลาด cryptocurrency) แต่ผู้เขียนคิดว่ามีอุดมการณ์เบื้องหลังที่น่าติดตามและมีโอกาสขึ้นมาสร้างบทบาทมากขึ้นในอนาคตครับ 1.Ripple (XRP) Ripple ที่จริงแล้วไม่ใช่ชื่อสกุลเงินดิจิทัลแต่เป็นชื่อของระบบเครือข่ายการชำระเงินทั่วโลกแบบ “cryptoๆ” ที่ช่วยอำนวยให้การชำระเงิน แลกเปลี่ยนหรือส่งสินทรัพย์ไม่ว่าจะจากที่ใดในโลก เกิดขึ้นได้อย่างไร้แรงเสียดทานและรวดเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก การส่งเงินต่างสกุลให้ญาติที่อยู่ต่างแดน พูดง่ายๆ ก็คือ Ripple เป็นตัวกลางที่คอยเสาะหาช่องทางที่มีต้นทุนต่ำที่สุดสำหรับการทำธุรกรรมทุกประเภท สองจุดที่ Ripple สามารถเข้ามาเขย่าวงการได้มากที่สุดคือ 1. การทำ settlement ระหว่างธนาคาร 2.การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ทั้งสองจุดนี้หลายคนคงทราบดีว่าเข้าจุดอิ่มตัวมานานหลายสิบปี มีกระบวนการที่หลายต่อ และมีพ่อค้าคนกลางหลายคน การทำ settlement […]
3 ประเด็นสำคัญจาก Global Competitiveness Report 2017–2018
ล่าสุดทาง World Economic Forum ได้ออกรายงาน Global Competitiveness Report (GCR) สำหรับปี 2017-2018 ซึ่งถือเป็นรายงานที่มีอิทธิพลอย่างมากในหมู่นักธุรกิจ นักวิชาการและนักพัฒนานโยบายทั่วโลก สำหรับท่านที่ไม่คุ้นเคยกับรายงานฉบับนี้ GCR เป็นผลพวงมาจากการเก็บข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศจากหลายองค์กร รวมไปถึงการทำแบบสอบถามถึงมุมมองของกลุ่มนักธุรกิจ เพื่อประกอบกันเป็นดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Global Competitiveness Index หรือย่อว่า GCI) ที่สามารถใช้ช่วยอธิบายการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวและความมั่งคั่งของแต่ละประเทศได้ จุดเด่นของรายงานฉบับนี้คือเราสามารถเจาะลึกลงไปดูได้ว่าในแต่ละประเทศมีจุดอ่อนจุดแข็งในด้านไหนบ้างใน 12 มิติของการพัฒนา และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วประเทศของเราอยู่ตรงไหน โดยรวมแล้วดัชนี GCI ของประเทศไทยในปีนี้ขยับขึ้นมา 2 อันดับจากปีที่แล้วสู่อันดับที่ 32 ของโลก (แต่ก็ยังต่ำกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว) เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิกแล้ว ไทยเราจัดว่าอยู่ “กลางๆ” คือยังคงตามหลังมาเลเซีย และเศรษฐกิจรุ่นพี่ที่พัฒนาไปไกลแล้วอย่าง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน แต่ถือว่ายังดีกว่าเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม บทความนี้จะสรุป 3 […]
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ: ดีไม่ดีดูอย่างไร
หลังจากที่ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กับตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกมาเรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ขึ้นจาก 300 บาทไปเป็น 600-700 บาทต่อวันนั้นก็ได้เกิดกระแสตอบโต้มากมายทั้งจากรัฐบาลและจากฝั่งเอกชน ในวงการเศรษฐศาสตร์เองการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันอย่างเผ็ดมันมาเป็นเวลานานหลายสิบปีไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อัตราว่างงานต่ำ ช่วงหาเสียง และช่วงที่สังคมเริ่มไม่ทนกับระดับความเหลื่อมล้ำทางรายได้ บทความนี้จะสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ ผลกระทบที่ “สามารถเกิดขึ้นได้” ในเชิงทฤษฎี และหลักฐานจากการวิจัยจริงแบบสั้นๆ มาให้ท่านผู้อ่านได้เก็บไปคิดกันเผื่อวันหนึ่งจะมีการขึ้นค่าแรงอีกครั้งครับ
ทำไม HR ก็ควร Data-Driven: เรื่องเล่าจากเซกเตอร์การศึกษาสหรัฐฯ
ทุกวันนี้ในสังคมดิจิทัล (ที่แท้จริง) จะเหลือ “การตัดสินใจสำคัญ” ที่ยังไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ อยู่ไม่กี่ประเภท ที่หลงเหลืออยู่ ส่วนมากจะเป็นการตัดสินใจที่มี 3 ลักษณะ เด่น คือ 1) สมัยก่อนไม่เคยมีข้อมูล ดีๆ (หรือไม่มีเลย) 2) มีผลกระทบที่คอขาดบาดตาย (high-stakes) 3) มีวัฒนธรรมในสังคมหรือองค์กรที่ชี้ว่าควรให้ “สมองคน” หรือ ” ดุลพินิจ ” ของผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นตัวชี้นำในการตัดสินใจ การสร้างทัศนคติ data-driven ระหว่างการตัดสินใจที่มีลักษณะเหล่านี้จึงเป็นไปได้อย่างเชื่องช้าและมักมีกระแสต่อต้านรุมล้อม เรียกได้ว่ามี “ความเฉื่อย” ชั้นดีในการคอยรั้งการเปลี่ยนทัศนคติ เรามีทางเลือกที่จะตัดสินใจแบบเดิมๆ ต่อไป แต่หลังจากที่มีข้อมูลดีขึ้น เราเริ่มเห็นแล้วว่าการตัดสินใจเหล่านี้โดยการพึ่งพา “คน” อย่างเดียวนั้นมีข้อจำกัดหรืออาจมีโทษด้วยซ้ำ เช่น ในการตัดสินใจฝากขังหรือปล่อยตัวจำเลยโดยผู้พิพาษาที่พบว่ามีการปล่อยตัวพลาดเป็นจำนวนมากอย่างน่าตกใจ เป็นต้น เพื่อให้เห็นภาพ ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นก็คือ การตัดสินใจจ้างงาน ขึ้น/ลดเงินเดือน หรือเชิญ ออก โดยจะเป็นตัวอย่างที่มาจากประสบการณ์ทำงานวิจัยของผู้เขียนในความร่วมมือกับ school district แห่งหนึ่งในสหรัฐฯ อเมริกาเพื่อหา insight […]
ทำไมธุรกิจถึงจะอยากรับ Bitcoin?
ในหนึ่งปีที่ผ่านมาราคาของ Bitcoin ได้พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 300% และมี market value กว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (มากกว่า Ebay เสียอีก) จากเดิมที่ Bitcoin เป็นแค่กระแสฮิตในห้องแชท ทุกวันนี้ธุรกิจหลายแห่งทั่วโลกเริ่มรับ Bitcoin กันอย่างเป็นทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Expedia ร้าน Bic Camera ที่พวกเราชอบไปเที่ยวในญี่ปุ่น แม้กระทั่งร้านอาหารบางร้าน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวไทยลิ้มเหล่าโหงว และมีการคาดกันว่าภายในปีนี้จำนวนร้านค้าที่รับ Bitcoin จะทะลุ 3 แสนแห่งในประเทศญี่ปุ่น แต่มีคำถามที่ยังคาใจหลายๆ คนอยู่ก็คือ “ถ้ามันยังมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนขนาดนี้…ร้านค้าได้อะไรจากการรับ Bitcoin?” บทความนี้อธิบายเหตุผลหลักๆ 3 เหตุผลว่าทำไมร้านค้าบางร้านถึงเริ่มรับ Bitcoin ทั้งๆ ที่คนส่วนมากก็เพิ่งจะรู้จักมันเมื่อไม่กี่ปี (หรือเดือน) มานี้
คนรวยหรือคนจนมีพฤติกรรมเอื้อสังคมมากกว่ากัน?
นี่เป็นคำถามที่กำลังถูกถกเถียงกันอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ซึ่งมักเป็นบ่อเกิดแห่งความเชื่อและอคติที่ไม่ได้มีข้อมูลรองรับเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนที่อยู่คนละฐานะกันกับตัวเรา เช่น คนรวยมองว่าคนจนไม่ทำประโยชน์ให้สังคม หรือ คนจนมองคนรวยว่าเอาเปรียบผู้อื่นและเห็นแก่ตัว การทดลองภาคสนามในเนเธอร์แลนด์โดยทีมนักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญเรื่องการให้และการช่วยเหลือผู้อื่น พบว่าการทดลอง “ตั้งใจส่งจดหมายผิดบ้านแล้วดูว่าใครจะส่งคืน” ชี้ว่าพฤติกรรมเอื้อสังคมของคนรวยและคนจนไม่ได้มีความแตกต่างกันนักถ้าเราคำนึงว่าคนจนต้องฝ่าฟันความกดดันและเครียดทางการเงิน
ทำไม Bitcoin และผองเพื่อนถึงเป็นได้มากกว่าแค่สินทรัพย์เสี่ยงสูง
เมื่อ 7 ปีที่แล้ว เงินดิจิทัลสกุล “Bitcoin” ฟังดูเหมือนแค่ของเล่นที่พวกคลั่งคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่จะซื้อเก็บไว้ เหตุผลหลักๆ คือคนส่วนมากคิดว่าเงินที่จับต้องไม่ได้มันจะเป็น “เงิน” ได้อย่างไร ใครจะไปรับ และมันจะล่มหรือไม่ เพราะมันเป็นสกุลเงินที่ไม่มีองค์กรใดๆ ดูแล จะไปอยู่รอดบนโลกที่ขนาดสกุลเงินปกติบางสกุลยังแทบจะเอาตัวไม่รอดได้อย่างไร ในช่วงแรกๆ โปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกันคนหนึ่งได้ “ประเดิม” การใช้ Bitcoin เพื่อซื้อของบนโลกจริงโดยการจ่ายเพื่อนบนเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งไป 1 หมื่น BTC (BTC คือตัวย่อสกุล Bitcoin เหมือนกับที่ USD ย่อจาก “ดอลลาร์สหรัฐ”) เพื่อแลก กับพิซซ่าสองถาด ทุกวันนี้ Bitcoin ก้อนที่เอาไปแลกกับพิซซ่าแสนอร่อยสองถาดนั้นมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านดอลลาร์แล้ว (เข้าไปอ่านความฮาในกระทู้จริงได้ ที่นี่) ร้านค้าและธุรกิจใหญ่ๆ ก็เริ่มรับ Bitcoin กันอย่างเป็นทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Expedia, ร้าน Bic Camera ที่พวกเราชอบไปเที่ยวในญี่ปุ่น แม้กระทั่งร้านอาหารบางร้าน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวไทยลิ้มเหล่าโหงว ด้วยความร้อนแรงของ cryptocurrency (ขอเรียกสั้นๆ ว่า “เงินดิจิทัล”) ที่ตอนนี้มีมูลค่าตลาดรวมกันแล้วพอๆ กับมูลค่าของบริษัทสตาร์บัคส์แล้ว (เกิน […]
สำรวจ Weekend Effect ในตลาดหุ้นไทยด้วยข้อมูลรายวัน
***ก่อนอ่านบทความนี้ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านลองทายดูว่าในช่วง 42 ปีที่ผ่านมา จะมีกี่ปีที่ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนต่อวันของดัชนี SET ในวันศุกร์ (ราคาปิดวันศุกร์ลบราคาปิดวันพฤหัสบดี) สูงกว่าในวันจันทร์ (ราคาปิดวันจันทร์ลบราคาปิดวันศุกร์จากอาทิตย์ก่อน)*** ใครที่เคยเรียนวิชาการเงินหรือเศรษฐศาสตร์การเงินคงจะจำกันได้ว่าตำราแทบจะทุกเล่มจะต้องกล่าวถึงความผิดปกติของตลาด (Market Anomalies) ที่เคยมีคนพบเห็นมากมายในอดีต เช่น Weekend Effect (หรือ Monday/Friday/Day-of-Week Effect) ที่ผลตอบแทนรายวัน (Daily Return) ของหุ้นในวันศุกร์มักจะสูงกว่าในวันจันทร์ หรือ January Effect ที่ผลตอบแทนในเดือนมกราคมมักจะสูงกว่าเดือนอื่น ซึ่งในสายตาของนักวิชาการปรากฏการณ์เหล่านี้ถือเป็น “ความผิดปกติของตลาด” เนื่องจากหากตลาดมีประสิทธิภาพจริง จะต้องมีนักลงทุนที่สามารถใช้โอกาสนี้เพื่อทำกำไรมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่หลงเหลือปรากฏการณ์เหล่านี้อยู่อีกต่อไป ในระยะเวลาหลายสิบปีตั้งแต่ปรากฏการณ์เหล่านี้ถูกค้นพบขึ้น ทุกวันนี้นักวิชาการก็ยังคงเถียงกันอยู่ว่ามันยังมีอยู่จริงพอที่จะเป็นโอกาสให้ทำกำไรได้ไหม? หรือมันค่อยๆ แห้งเหือดไปตามเวลา? หรือเป็นแค่การตั้งใจขุดข้อมูล (data mining) โดยนักวิชาการที่ไร้จรรยาบรรณหรือเปล่า? บทความนี้ใช้ข้อมูลดัชนี SET รายวันตั้งแต่ปลายปี 1975 ถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (รวมแล้วประมาณ 1 หมื่นวัน) เพื่อลองสำรวจดูแบบคร่าวๆ ว่าตลาดหุ้นไทยมีควันหลงของ Weekend Effect อยู่หรือไม่ (spoiler alert: […]
ทำไม "บิทคอยน์" ถึงรุ่งในเศรษฐกิจที่กำลังพัง?
เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว เงินดิจิตอลสกุล “บิทคอยน์” ฟังดูเหมือนแค่ของเล่นที่พวกคลั่งคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่จะซื้อเก็บไว้ เหตุผลหลักๆ คือหลายคนไม่เข้าใจว่าเงินที่จับต้องไม่ได้มันจะเป็น “เงิน” ได้อย่างไร ใครจะไปรับ และมันจะล่มหรือไม่ เพราะ บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่ไม่มีรัฐบาลหรือธนาคารกลางคอยดูแล จะไปอยู่รอดบนโลกที่ขนาดสกุลเงินปกติบางสกุลยังแทบจะเอาตัวไม่รอดได้อย่างไร ในช่วงแรกๆ นั้นโปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกันคนหนึ่งได้ “ประเดิม” การใช้บิทคอยน์เพื่อซื้อของบนโลกจริงโดยการจ่ายเพื่อนบนเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งไป 1 หมื่น BTC เพื่อแลกกับพิซซ่าสองถาด ทุกวันนี้ บิทคอยน์ก้อนที่เอาไปแลกกับพิซซ่าแสนอร่อยสองถาดนั้นมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านดอลลาร์แล้ว (เข้าไปอ่านความฮาในกระทู้จริงได้ที่นี่) วันนี้ราคาของบิทคอยน์ได้พุ่งขึ้นจากความไร้ค่าถึงราว 2500 ดอลลาร์ ต่อ 1 BTC ร้านค้าและธุรกิจใหญ่ๆ เริ่มรับบิทคอยน์กันอย่างเป็นทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Microsoft เว็บไซต์จองตั๋วเครื่องบินและโรงแรม Expedia ร้าน Bic Camera ที่พวกเราชอบไปเที่ยวในญี่ปุ่น แม้กระทั่งร้านอาหารบางร้าน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวไทยลิ้มเหล่าโหงว แม้ว่าทุกวันนี้บิทคอยน์ยังเป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับชีวิตคนธรรมดา และคนส่วนมากยังไม่เห็นคุณค่าของมันในฐานะของ “เงิน” ที่มั่นคง บทความนี้จะพาผู้อ่านไปดูกรณีพิเศษที่บิทคอยน์กลับเป็นทางเลือกที่จำเป็นสำหรับหลายคนในประเทศเวเนซุเอลา **สำหรับผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลปูพื้น บิทคอยน์แบบคร่าวๆ เชิญกดดูได้ที่นี่ครับ** […]
รู้จักกับนโยบายแจกเงิน: Universal Basic Income
ทุกวันนี้คงมีไม่กี่เรื่องที่สามารถดึงความสนใจของคนระดับโลกจากหลากสาขา ตั้งแต่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักคิดเสรีนิยม ฟรีดรีช ฮาเย็ก นักเศรษฐศาสตร์รุ่นขลัง มิลตัน ฟรีดแมน กับ พอล แซมมวลสัน อดีตประธานาธิปดีสหรัฐฯ ริชาร์ด นิกสัน ไปจนถึง ไอรอนแมนตัวเป็นๆ อย่าง อีลอน มัสก์ เรื่องนั้นก็คือนโยบายการันตีรายได้พื้นฐานให้กับประชาชน โดยทุกวันนี้เวอร์ชันที่ได้รับความฮือฮามากที่สุดก็คือนโยบายที่เรียกว่า Universal Basic Income (UBI) นั่นเอง แม้ว่าหลายคนจะมองว่าความคิดนี้ดูไม่เข้าท่าและไม่น่าจะเป็นไปได้ในโลกจริง แต่ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่อาจทำให้ฝันกลางวันเรื่องนี้กลายเป็นความจริงเร็วขึ้นได้ ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดคือเมื่อต้นปีนี้รัฐบาลฟินแลนด์ได้เริ่มทำการทดลองสุ่มให้เงิน 560 ยูโรต่อเดือนกับกลุ่มผู้รับค่าตอบแทนการว่างงาน 2,000 คน เพื่อดูว่าจะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากบ่วงกรรมการหางานไม่ได้สักทีหรือไม่ บทความนี้จะอธิบายแบบสั้นๆ (เท่าที่จะทำได้)ว่า 1) นโยบายแจกเงินแบบ UBI คืออะไร 2) ทำไมถึงกำลังเป็นที่ฮือฮามาก 3) ผลกระทบที่เป็นไปได้มีอะไรบ้างครับ
ทำไมต้องตื่นตัวเรื่องพลังงาน (ตอนที่ 2): Energy Mix กับอนาคตพลังงานไทย
ปัจจัยสำคัญที่เป็นเสี้ยนหนามของการพัฒนานโยบายพลังงานในหลายประเทศ คือความไม่เข้าใจข้อมูลและความลึกลับซับซ้อนของกลไกในตลาดพลังงาน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราควร “ช่างมัน” เพราะว่านโยบายพลังงานกระทบทุกคนในสังคม ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่รุ่นเราก็รุ่นลูกหลานเรา ผมหวังว่าบทความซีรี่ส์ “ทำไมต้องตื่นตัวเรื่องพลังงาน” ที่จะเสนอข้อคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พลังงานแบบสั้นๆ จะทำให้หลายคนหันมาสนใจและเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานอย่างมีทิศทางและมีข้อมูลกันมากขึ้นครับ ในตอนที่ 1 เราสำรวจจุดยืนของพลังงานไทยและผลดีผลเสียของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ไปแล้ว สำหรับตอนที่ 2 นี้เราจะไปดูกันว่า “Energy Mix” (สัดส่วนการใช้พลังงาน) ของประเทศไทยเป็นอย่างไร และเมื่อเทียบกับแนวโน้มความต้องการทางพลังงานแล้วอนาคตของพลังงานไทยควรจะมีหน้าตาแบบไหนกันครับ
เทพียุติธรรมแท้จริงแล้วควรเป็นคนหรือหุ่นยนต์: เมื่อ Machine Learning พบกับ Human Jailing
ผมมีคำถามหนักใจ (แต่สำคัญต่อสังคม) ที่อยากให้ทุกคนเก็บไปคิดกันครับ “คุณคิดยังไงกับการที่อีกหน่อยจะมีการใช้สมองกลเพื่อช่วยผู้พิพากษาในการตัดสินว่าคนที่เพิ่งถูกตำรวจจับมาหมาดๆ ควรจะถูกปล่อยตัวหรือถูกฝากขังไว้โดยไม่ให้กลับไปดำเนินชีวิตตามปกติจนกว่าคดีจะเสร็จสิ้น?” สัญชาตญาณของคนส่วนใหญ่มักบอกว่ามนุษย์เป็นมากกว่าแค่ตัวเลข หลายคนไม่เห็นด้วยที่เทคนิคเหล่านี้ไม่มี “พื้นที่” ให้กับความเป็นธรรมหรือความเที่ยงธรรม มีแต่สิ่งที่ป้อนให้กับคอมพิวเตอร์และสิ่งที่มันคายออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เราเคยได้เห็นถึงจุดบอดและความลำเอียงของโมเดลสถิติในการใช้มันเพื่อรักษาความปลอดภัยมาแล้ว แต่วันนี้ผมจะขอเสนอมุมต่างที่อาจทำให้เรามองว่าการใช้ “สมองคน” ตัดสินใจเรื่องคอขาดบาดตายแบบนี้อย่างเดียวก็อาจทำให้เรารู้สึกทะแม่งๆ ได้ไม่แพ้กัน งานวิจัยล่าสุดของกลุ่มนักวิศวกรคอมพิวเตอร์และนักเศรษฐศาสตร์ในสหรัฐฯ ได้วิเคราะห์ข้อมูลประวัติอาชญกรรม (rap sheet) และคุณลักษณะของจำเลยทุกคนในนครนิวยอร์กตั้งแต่ปี 2008 ถึง 2013 (รวมแล้วประมาณ 7 แสนกว่ากรณี) จนพบว่าหากเรา “เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ” ให้กับผู้พิพากษาว่าจะ “ขังหรือไม่ขัง” จำเลยด้วยการใช้สมองกลช่วยพยากรณ์ว่าในหมู่จำเลยที่มีเข้ามาทุกวี่วัน คนไหนมีโอกาสก่ออาชญากรรมซ้ำอีกหรือทำการหลบหนีระหว่างรอศาลเรียก เราจะสามารถลดอาชญากรรมในเมืองลงได้มากขึ้น 25% (โดยคงจำนวนจำเลยที่ถูกปล่อยไว้เท่าเดิม) หรือลดจำนวนจำเลยที่จะถูกขังลงได้ถึง 42% (โดยคงอัตราอาชญกรรมไว้เท่าเดิม) ในนครนิวยอร์ก อีกทั้งยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสีผิวในการถูกฝากขังได้ไปพร้อมๆ กันด้วย โดยการนำโมเดลนี้ไปประยุกต์ต่อจากระดับเมืองสู่ระดับประเทศก็ได้ผลที่ไม่ต่างกันนัก ความสำคัญของงานชิ้นนี้คือเขาผสานจุดแข็งของ Machine Learning (จุดแข็งคือการพยากรณ์ให้แม่น) กับ เศรษฐมิติ (จุดแข็งคือการหาความเป็นเหตุเป็นผลและการขจัด bias) เข้าด้วยกันโดยมีเป้าหมายคือการเพิ่ม “คุณภาพ” ของการตัดสินใจให้กับผู้พิพากษา ไม่ใช่หยุดที่แค่การพยากรณ์ว่าจำเลยคนไหนมีความเสี่ยงที่จะหนีศาล ที่ต้องผสานทั้งสองศาสตร์เข้าด้วยกันเป็นเพราะโลกใบนี้เคยเห็นแต่การกระทำของจำเลยที่ถูกปล่อยออกไปเท่านั้น […]
บทสัมภาษณ์กับ The Matter: Big Data กับ Automation
1.ตอนนี้มีการพูดถึงเรื่องการใช้ Big Data ในแง่มุมต่างๆ มากมาย จนกระทั่ง Big Data กลายเป็นคำที่หลายคนเรียกว่าเป็น Buzzword หรือคำหากินของยุคใหม่ไปแล้ว อยากให้คุณณภัทรช่วยอธิบายหน่อยครับว่า จริงๆ แล้ว Big Data ในแง่มุมที่เราควรเข้าใจจริงๆ เป็นอย่างไร ‘ประโยชน์’ ของมันจริงๆ คืออะไร นิยามของ Big Data คือ ภาวะข้อมูลที่มี 3V คือ volume velocity และ variety แปลเป็นไทยง่ายๆ ก็คือข้อมูลมีปริมาณมหาศาล เก็บได้ถี่ และมีความหลากหลายรูปแบบอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนครับ ผมมองว่าสิ่งที่เราควรจะเข้าใจที่สุดนอกจากว่า Big Data คืออะไรหรือมีประโยชน์และโทษอย่างไร ก็คือต้องเข้าใจว่าคุณหนีมันไม่ได้ ยังไงมันก็จะมากระทบชีวิตพวกเรา ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่าคุณจะอยู่ในประเทศที่แม้แต่ “สมอลดาตา” ยังไม่มีหรือทั้งชีวิตนี้คุณไม่เคยใช้ (และจะไม่ใช้) เทคโนโลยีเลยก็ยังหนีไม่พ้น นั่นเป็นเพราะว่า Big […]
เล่นกับไฟ: ทรัมป์กับการถอนเขี้ยว Dodd-Frank
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามคำสั่ง Executive Order ชิ้นใหม่เพื่อเริ่มทำการรื้อกฎหมายข้อบังคับทางการเงิน Dodd-Frank ยกใหญ่ในสหรัฐฯ แม้ว่าคำสั่งนี้จะไม่หวือหวาและจะยังไม่มีผลเชิงปฏิบัติที่เร่งด่วนเท่ากับคำสั่งอื่นๆ เช่นการแบนชาวต่างชาติจาก 7 ประเทศตะวันออกกลาง แต่กฎหมาย Dodd-Frank ถือเป็นกลไกสำคัญของการควบคุมความเสี่ยงและความประพฤติของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างผลกระทบฉับพลันต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกได้อย่างที่เราเคยเห็นในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 พูดง่ายๆ คือทรัมป์กำลังเล่นกับไฟ ซึ่งหวือหวาน่าสนุกในระยะแรก แต่ตัวใครตัวมันในระยะยาว บทความนี้จะสรุปอย่างสั้นๆ ว่า 1) Dodd-Frank คืออะไร 2) มีไว้ทำไมตั้งแต่แรกและทำไมถึงจะถูกถอนเขี้ยว และ 3) จุดที่ควรจับตามองต่อไป
Previous page Next page
Recent Comments