menu Menu
8 articles filed in
เศรษฐศาสตร์ภาษาคน
Previous page Next page

บทเรียนชีวิตจากตำราเศรษฐ​ศาสตร์​ (​ตอนที่ 2)​: สะสมอำนาจและอยู่ให้ถูกตลาด

จากที่ผู้เขียนร่ำเรียนเศรษฐศาสตร์มา 9 ปี และใช้ชีวิตมาจะครบ 30 ปีแล้ว พบว่าแม้หลายอย่างในตำราจะไม่ค่อยมีประโยชน์โดยตรงนักในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะมัน “obvious” (ชัดเจน) อยู่แล้ว หรือมันซับซ้อนเกินไป แต่สิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมักจะโผล่เข้ามาอย่างเป็นประจำ คอยย้ำอยู่นั่น มันทำให้เราคิดว่า “อืม…เป็นอย่างนั้นจริงๆ อีกแล้วแฮะ” บทความซีรีย์นี้จะหยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากตำราเศรษฐศาสตร์ที่ผมมองว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมาเล่าผ่านประสบการณ์จริง เผื่อจะไปเป็นประโยชน์ต่อชีวิตผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ ตอนที่แล้วเราคุยกันว่า “ทำไมผู้อ่อนไหวคือผู้ชนะ” ส่วน​ตอนที่ 2 เราจะมาดูบทเรียนที่สอง นั่นก็คือการสะสมอำนาจและอยู่ให้ถูกตลาด

Continue reading


บทเรียนชีวิตจากตำราเศรษฐศาสตร์ (ตอนที่ 1): ผู้อ่อนไหวคือผู้ชนะ

จากที่ผู้เขียนร่ำเรียนเศรษฐ​ศาสตร์​มา​ 9​ ปี​ และใช้ชีวิตมาจะครบ 30 ปีแล้ว พบว่าแม้หลายอย่างในตำราจะไม่ค่อยมีประโยชน์​โดยตรงนักในชีวิต​ประจำวัน​ ไม่ว่าจะเป็นเพราะมัน​ “obvious” อยู่แล้ว​ หรือมันซับซ้อน​เกินไป  แต่สิ่งที่มีประโยชน์​ต่อชีวิตจริง​มักจะโผล่เข้ามาอย่างเป็นประจำ​  คอยย้ำอยู่นั้น​ มันทำให้เราคิดว่า​ “อืม.. เป็นอย่างนั้นจริงๆ​ อีกแล้วแฮะ” บทความซีรีย์นี้จะหยิบเกร็ดเล็ก​เกร็ด​น้อย​จากตำรา​เศรษฐ​ศาสตร์​ที่ผมมองว่ามีประโยชน์​ต่อชีวิต​จริง​มาเล่าผ่านประสบการณ์​จริง​ เผื่อจะไปเป็นประโยชน์​ต่อชีวิตผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ

Continue reading


กินหวานแต่ไม่อดเปรี้ยว: อุปสรรคในการวางแผนการเงินและชีวิต

คนไทยประมาณ 70 ถึง 80% ออมเงินไม่พอสำหรับวัยเกษียณ ผลสำรวจของเมนูไลฟ์ในหมู่นักลงทุนในกรุงเทพฯ ผู้ซึ่งน่าจะครุ่นคิดถึงการวางแผนการเงินมากกว่าประชากรทั่วไปก็ยังพบว่ากว่าครึ่งคิดว่าตนมีเงินออมไม่พอสำหรับวัยเกษียณ  ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็พบว่าในขณะที่คนไทยออมน้อยลงนั้น การบริโภคมีแต่จะโตขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคประเภทอาหารการกิน เสื้อผ้า  ส่วนการบริโภคในด้านการศึกษากลับหดตัวลง ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าอัตราดอกเบี้ยตกต่ำมานาน  ตลาดหุ้นก็นิ่งๆ มาหลายปี แรงจูงใจในการตัดใจไม่บริโภควันนี้แล้วเอาไปออมหรือลงทุนจึงมีไม่มากนัก  แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอีกส่วนมันเป็นเพราะความผิดพลาดในการตัดสินใจของคนเราเองด้วย สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเราตัดสินใจวางแผนการเงินและชีวิตได้ไม่ดีพอ คือการที่เราให้ความสำคัญกับปัจจุบันมากเกินไปจนเกิดการผลัดวันประกันพรุ่ง (ไปเรื่อยๆ)  แทนที่เราจะใจเย็นยอมเก็บออมวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีกว่ามากๆ ในวันข้างหน้า เรากลับมักเลือกดื่มด่ำกับความสุขเล็กๆ วันนี้แทน (ซึ่งทำให้เราอดได้ผลตอบแทนขนาดใหญ่กว่าในอนาคต)  และหากเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ท้ายสุดแล้วในระยะยาวเราจะหันกลับมามองอดีตแล้วพบว่าเราตัดสินใจผิดพลาดแบบเล็กๆ น้อยๆ มาโดยตลอด บทความนี้จะอธิบายถึงความลำเอียงทางเวลาอย่างหนึ่งที่มีส่วนทำให้เราตัดสินใจได้ไม่ดีนักและแนะนำ 3 วิธีต่อกรกับมันเพื่อชีวิตที่ดีกว่าครับ

Continue reading


คนรวยหรือคนจนมีพฤติกรรมเอื้อสังคมมากกว่ากัน?

นี่เป็นคำถามที่กำลังถูกถกเถียงกันอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ซึ่งมักเป็นบ่อเกิดแห่งความเชื่อและอคติที่ไม่ได้มีข้อมูลรองรับเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนที่อยู่คนละฐานะกันกับตัวเรา เช่น คนรวยมองว่าคนจนไม่ทำประโยชน์ให้สังคม หรือ คนจนมองคนรวยว่าเอาเปรียบผู้อื่นและเห็นแก่ตัว การทดลองภาคสนามในเนเธอร์แลนด์โดยทีมนักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญเรื่องการให้และการช่วยเหลือผู้อื่น พบว่าการทดลอง “ตั้งใจส่งจดหมายผิดบ้านแล้วดูว่าใครจะส่งคืน” ชี้ว่าพฤติกรรมเอื้อสังคมของคนรวยและคนจนไม่ได้มีความแตกต่างกันนักถ้าเราคำนึงว่าคนจนต้องฝ่าฟันความกดดันและเครียดทางการเงิน

Continue reading


สำรวจ Weekend Effect ในตลาดหุ้นไทยด้วยข้อมูลรายวัน

***ก่อนอ่านบทความนี้ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านลองทายดูว่าในช่วง 42 ปีที่ผ่านมา จะมีกี่ปีที่ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนต่อวันของดัชนี SET ในวันศุกร์ (ราคาปิดวันศุกร์ลบราคาปิดวันพฤหัสบดี) สูงกว่าในวันจันทร์ (ราคาปิดวันจันทร์ลบราคาปิดวันศุกร์จากอาทิตย์ก่อน)*** ใครที่เคยเรียนวิชาการเงินหรือเศรษฐศาสตร์การเงินคงจะจำกันได้ว่าตำราแทบจะทุกเล่มจะต้องกล่าวถึงความผิดปกติของตลาด (Market Anomalies) ที่เคยมีคนพบเห็นมากมายในอดีต เช่น Weekend Effect (หรือ Monday/Friday/Day-of-Week Effect) ที่ผลตอบแทนรายวัน (Daily Return) ของหุ้นในวันศุกร์มักจะสูงกว่าในวันจันทร์ หรือ January Effect ที่ผลตอบแทนในเดือนมกราคมมักจะสูงกว่าเดือนอื่น ซึ่งในสายตาของนักวิชาการปรากฏการณ์เหล่านี้ถือเป็น “ความผิดปกติของตลาด” เนื่องจากหากตลาดมีประสิทธิภาพจริง จะต้องมีนักลงทุนที่สามารถใช้โอกาสนี้เพื่อทำกำไรมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่หลงเหลือปรากฏการณ์เหล่านี้อยู่อีกต่อไป ในระยะเวลาหลายสิบปีตั้งแต่ปรากฏการณ์เหล่านี้ถูกค้นพบขึ้น ทุกวันนี้นักวิชาการก็ยังคงเถียงกันอยู่ว่ามันยังมีอยู่จริงพอที่จะเป็นโอกาสให้ทำกำไรได้ไหม? หรือมันค่อยๆ แห้งเหือดไปตามเวลา? หรือเป็นแค่การตั้งใจขุดข้อมูล (data mining) โดยนักวิชาการที่ไร้จรรยาบรรณหรือเปล่า? บทความนี้ใช้ข้อมูลดัชนี SET รายวันตั้งแต่ปลายปี 1975 ถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (รวมแล้วประมาณ 1 หมื่นวัน) เพื่อลองสำรวจดูแบบคร่าวๆ ว่าตลาดหุ้นไทยมีควันหลงของ Weekend Effect อยู่หรือไม่ (spoiler alert: […]

Continue reading


คำถามน่าคิดก่อนภาวะเงินเฟ้อจะกลับมา

ขณะนี้กำลังมีสัญญานว่าภาวะเงินเฟ้อที่ห่างหายไปนานมีโอกาสที่จะกลับมาเยือนพวกเราในเร็วๆ นี้ ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้เริ่มปรับตัวขึ้นแล้ว เยอรมันเมื่อเดือนธ.ค. ปี 2016 ได้ปรับตัวขึ้นมากถึง 1.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ามากที่สุดตั้งแต่ปี 2013  เฟดเองหลังจากที่ขึ้นดอกเบี้ยเมื่อท้ายปีที่แล้วก็ได้ใช้คำว่า “ขึ้นมามากพอควร” เพื่อใบ้ว่าเงินเฟ้อกำลังปรับตัวสูงขึ้น  ในประเทศไทยเองอัตราเงินเฟ้อในเดือน ธ.ค. 2016 ก็ได้ปรับตัวมากที่สุดในรอบ 2 ปี ที่ผ่านมาเช่นกัน  โดยนักวิเคราะห์ส่วนมากมองว่ามีผลมาจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน (ซึ่งจะสะท้อนถึงต้นทุนที่สูงขึ้นของสินค้าแทบจะทุกประเภท) บทความนี้จะนำเสนอ 3 คำถามน่าคิดเกี่ยวกับเงินเฟ้อหากเศรษฐกิจโลกจะทำการเข้าสู่วงจรใหม่จริงๆ หลังจากที่จมกับภาวะเงินเฟ้อต่ำมาเป็นเวลานานหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ครับ

Continue reading


เข้าใจ “คลินตันนอมิกส์”

การเลือกตั้งสหรัฐฯ ครั้งนี้เต็มไปด้วยความฉาวโฉ่ ทั้งเรื่องอีเมลลับ เรื่องสุขภาพ เรื่องเหยียดผิว ไปจนถึงเรื่องการปกปิดบันทึกการเสียภาษี แต่สิ่งที่ถูกดราม่าและความอื้อฉาวของการเมืองอเมริกันกลบจนแทบจะมิดคือจะเกิดอะไรขึ้นกับนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ หากฮิลลารี คลินตันชนะการเลือกตั้งครั้งนี้  ซึ่ง ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559  simulation จากเว็บไซต์ fivethirtyeight ทำนายว่าฮิลลารี คลินตันมีโอกาสเอาชนะโดนัลด์ ทรัมป์ประมาณ 54.8 เปอร์เซ็นต์

Continue reading


เข้าใจภาวะ “ดอกเบี้ยติดดิน”

พักนี้มักได้ยินหลายคนบ่นว่าทำไมอัตราดอกเบี้ยมันต่ำจัง  จะฝากประจำทีคิดหนัก ส่วนผู้สูงอายุใกล้เกษียณยิ่งวิตกเพราะอายุเลยวัยเล่นโรลเลอร์โคสเตอร์กับตลาดหุ้นที่ผันผวนแล้ว คำถามยอดฮิตทุกวันนี้จึงเป็น “ดอกเบี้ยมันจะต่ำติดดินแบบนี้ไปอีกนานไหม?” บทความนี้จะนำเสนอมุมมองหลักๆ ในการอธิบายว่า 1.ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำแปลว่าอะไร 2.ทำไมมันถึงต่ำ  3.เมื่อไรมันจะขึ้น

Continue reading



Previous page Next page

keyboard_arrow_up