เศรษฐกิจยุค AI หน้าตาเป็นแบบไหน?
เศรษฐกิจยุค AI หน้าตาเป็นแบบไหน? ทุกวันนี้มองไปทางไหนก็เห็นแต่คำว่า ‘AI’ ส่วนหนึ่งเป็นพลังความตื่นตัวกับกระแส แต่ความตื่นตัวนี้เองก็เริ่มขับเคลื่อนหลาย ๆ อย่างให้กลายเป็นความเปลี่ยนแปลงจริงเหมือนกัน Earning Calls บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในไตรมาสแรกของปี 2023 มีคำว่า ‘AI’ ปรากฏอยู่เกิน 200 คำ มากกว่าปีก่อน 5 เท่า ล่าสุด NVIDIA บริษัทการ์ดจอและบริการอื่น ๆ ที่ AI ต้องใช้งานก็ทำรายได้เหนือความคาดหมายของนักลงทุน รายงาน Future of Jobs 2023 ของ WEF คาดว่าจะมี disruptions ในงานกว่า 23% ของงานทั้งหมดในโลกในระยะ 5 ปีข้างหน้า ชัดว่ากระแสมา เงินลงทุนมา ผลประกอบการเริ่มมา บริการใหม่ ๆ ก็ผุดเกิดขึ้นทุกวัน แต่ที่ยังเห็นไม่ชัดและสำคัญคือ หน้าตา รูปแบบ และผลกระทบของ ‘เศรษฐกิจ AI’ อันเป็นพื้นที่ของการแข่งขันใหม่บนพื้นฐานของโครงสร้างเทคโนโลยีชิ้นนี้ […]
บทเรียนชีวิตจากตำราเศรษฐศาสตร์ (ตอนที่ 2): สะสมอำนาจและอยู่ให้ถูกตลาด
จากที่ผู้เขียนร่ำเรียนเศรษฐศาสตร์มา 9 ปี และใช้ชีวิตมาจะครบ 30 ปีแล้ว พบว่าแม้หลายอย่างในตำราจะไม่ค่อยมีประโยชน์โดยตรงนักในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะมัน “obvious” (ชัดเจน) อยู่แล้ว หรือมันซับซ้อนเกินไป แต่สิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมักจะโผล่เข้ามาอย่างเป็นประจำ คอยย้ำอยู่นั่น มันทำให้เราคิดว่า “อืม…เป็นอย่างนั้นจริงๆ อีกแล้วแฮะ” บทความซีรีย์นี้จะหยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากตำราเศรษฐศาสตร์ที่ผมมองว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมาเล่าผ่านประสบการณ์จริง เผื่อจะไปเป็นประโยชน์ต่อชีวิตผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ ตอนที่แล้วเราคุยกันว่า “ทำไมผู้อ่อนไหวคือผู้ชนะ” ส่วนตอนที่ 2 เราจะมาดูบทเรียนที่สอง นั่นก็คือการสะสมอำนาจและอยู่ให้ถูกตลาด
Bitcoin เข้าภาวะฟองสบู่หรือยัง?
ในหนึ่งปีที่ผ่านมาราคาของ Bitcoin ขึ้นมากว่า 1000% ขณะนี้ราคาขึ้นมาแตะที่ระดับเกิน 1 หมื่นดอลลาร์ต่อ 1 BTC แล้ว ทำให้ market capitalization ของ Bitcoin เท่ากับราวๆน้องๆ 50 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ไทยปีที่แล้วเลยทีเดียว มูลค่าของเงินดิจิทัลที่สัมผัสไม่ได้ ที่เคยไร้ค่า ตอนนี้พอๆ กับเกือบครึ่งของ GDP ประเทศไทย หลายคนเห็นราคาแบบนี้แล้วจึงสงสัยว่า “เขาซื้อ Bitcoin กันไปทำไม” และ “มันเป็นฟองสบู่หรือเปล่า?” “ทำไมถึงมีคนคิดว่าจะยังวิ่งไปได้อีก”
Future of Money (ตอนที่ 1): ใครๆ ก็ให้กู้ได้
นับวันเทคโนโลยียิ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่เราไม่เคยนึกมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของเรากับ “เงิน ที่ได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างน่าตกใจ จากเคยใช้เงินสดสู้การใช้ QR code จากแต่งตัวเดินไปธนาคารสู่โอนเงินผ่านแอพในชุดนอน หรือแม้กระทั่งจากที่ใช้เงินสกุลท้องถิ่นแสนคุ้นเคยสู่การใช้เงินคริปโต บทความซีรี่ย์ Future of Money จะหยิบมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเงินที่กำลังเปลี่ยนไปมาเล่าให้ผู้อ่านฟังกันครับ
3 Cryptocurrency ที่น่าติดตามไม่แพ้ Bitcoin
ขณะนี้คงไม่มีใครในโลกลงทุนที่ไม่รู้จักเงินสกุลดิจิทัลหรือ “cryptocurrency” แล้ว market capitalization ในตลาด cryptocurrency อยู่ที่เฉียดๆ 170 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของ market capitalization ของ SET50! โดยมีเงินสกุลดิจิทัลพันธุ์ใหม่ๆ เกิดแก่เจ็บตายกันเป็นว่าเล่น บทความนี้จะพาท่่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ 3 สกุลเงินดิจิทัลที่ถึงแม้จะยังไม่โด่งดังเท่า Bitcoin หรือ Ethereum (สองสกุลที่ครองกว่า 70% ของตลาด cryptocurrency) แต่ผู้เขียนคิดว่ามีอุดมการณ์เบื้องหลังที่น่าติดตามและมีโอกาสขึ้นมาสร้างบทบาทมากขึ้นในอนาคตครับ 1.Ripple (XRP) Ripple ที่จริงแล้วไม่ใช่ชื่อสกุลเงินดิจิทัลแต่เป็นชื่อของระบบเครือข่ายการชำระเงินทั่วโลกแบบ “cryptoๆ” ที่ช่วยอำนวยให้การชำระเงิน แลกเปลี่ยนหรือส่งสินทรัพย์ไม่ว่าจะจากที่ใดในโลก เกิดขึ้นได้อย่างไร้แรงเสียดทานและรวดเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก การส่งเงินต่างสกุลให้ญาติที่อยู่ต่างแดน พูดง่ายๆ ก็คือ Ripple เป็นตัวกลางที่คอยเสาะหาช่องทางที่มีต้นทุนต่ำที่สุดสำหรับการทำธุรกรรมทุกประเภท สองจุดที่ Ripple สามารถเข้ามาเขย่าวงการได้มากที่สุดคือ 1. การทำ settlement ระหว่างธนาคาร 2.การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ทั้งสองจุดนี้หลายคนคงทราบดีว่าเข้าจุดอิ่มตัวมานานหลายสิบปี มีกระบวนการที่หลายต่อ และมีพ่อค้าคนกลางหลายคน การทำ settlement […]
3 ประเด็นสำคัญจาก Global Competitiveness Report 2017–2018
ล่าสุดทาง World Economic Forum ได้ออกรายงาน Global Competitiveness Report (GCR) สำหรับปี 2017-2018 ซึ่งถือเป็นรายงานที่มีอิทธิพลอย่างมากในหมู่นักธุรกิจ นักวิชาการและนักพัฒนานโยบายทั่วโลก สำหรับท่านที่ไม่คุ้นเคยกับรายงานฉบับนี้ GCR เป็นผลพวงมาจากการเก็บข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศจากหลายองค์กร รวมไปถึงการทำแบบสอบถามถึงมุมมองของกลุ่มนักธุรกิจ เพื่อประกอบกันเป็นดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Global Competitiveness Index หรือย่อว่า GCI) ที่สามารถใช้ช่วยอธิบายการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวและความมั่งคั่งของแต่ละประเทศได้ จุดเด่นของรายงานฉบับนี้คือเราสามารถเจาะลึกลงไปดูได้ว่าในแต่ละประเทศมีจุดอ่อนจุดแข็งในด้านไหนบ้างใน 12 มิติของการพัฒนา และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วประเทศของเราอยู่ตรงไหน โดยรวมแล้วดัชนี GCI ของประเทศไทยในปีนี้ขยับขึ้นมา 2 อันดับจากปีที่แล้วสู่อันดับที่ 32 ของโลก (แต่ก็ยังต่ำกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว) เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิกแล้ว ไทยเราจัดว่าอยู่ “กลางๆ” คือยังคงตามหลังมาเลเซีย และเศรษฐกิจรุ่นพี่ที่พัฒนาไปไกลแล้วอย่าง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน แต่ถือว่ายังดีกว่าเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม บทความนี้จะสรุป 3 […]
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ: ดีไม่ดีดูอย่างไร
หลังจากที่ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กับตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกมาเรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ขึ้นจาก 300 บาทไปเป็น 600-700 บาทต่อวันนั้นก็ได้เกิดกระแสตอบโต้มากมายทั้งจากรัฐบาลและจากฝั่งเอกชน ในวงการเศรษฐศาสตร์เองการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันอย่างเผ็ดมันมาเป็นเวลานานหลายสิบปีไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อัตราว่างงานต่ำ ช่วงหาเสียง และช่วงที่สังคมเริ่มไม่ทนกับระดับความเหลื่อมล้ำทางรายได้ บทความนี้จะสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ ผลกระทบที่ “สามารถเกิดขึ้นได้” ในเชิงทฤษฎี และหลักฐานจากการวิจัยจริงแบบสั้นๆ มาให้ท่านผู้อ่านได้เก็บไปคิดกันเผื่อวันหนึ่งจะมีการขึ้นค่าแรงอีกครั้งครับ
เจาะข้อมูลอุบัติเหตุ 4 แสนกรณีช่วงเทศกาลจากปี 2551-2558
วันนี้ผมเก็บ “ภาพเด็ดๆ” ซึ่งมาจากข้อมูลจริงเกี่ยวกับปัญหาใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศไทยมาให้ดูกันครับ นั่นก็คือปัญหาที่ว่า “ทำไมถึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบนท้องถนนมากมายเหลือเกิน?” ใน Top 20 ประเทศที่มีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด มีประเทศด้อยพัฒนาจากทวีปแอฟริกา 18 ประเทศ ที่เหลือคือ อิหร่าน กับ ไทย (เราติดอันดับ 2 ของโลกรองจากลิเบีย) โดยมีการคาดไว้ว่าทุกๆ ปี เราจะสูญเสียพี่น้องชาวไทยไปประมาณ 24,000 คนเพราะอุบัติเหตุพวกนี้ ที่น่าโมโหเป็นเพราะว่าอุบัติเหตุมันเป็นอะไรที่ป้องกันได้ และขอบอกก่อนเลยว่าบทความนี้ยิ่งอ่านยิ่งเศร้า ยิ่งผมล้างข้อมูลและเอาหยิบมา plot ยิ่งน่าหดหู่ แต่ที่ต้องการเอา visualization มาแชร์ให้พวกเราเก็บไปช่วยๆ คิดกันเป็นเพราะว่าปัญหาอุบัติเหตุที่คร่าชีวิตคนเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนมาก มีตัวแปรจำนวนมากที่กระทบโอกาสการเกิดของมัน ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของถนน ความเร็วและประเภทของยานพาหนะ ความรักชีวิตของคนขับ พฤติกรรมดื่มสุรา การคาดเข็มขัด ความหย่อนยานของกฎหมาย ไปจนถึงความเร็วของหน่วยฉุกเฉิน เพราะฉะนั้นมันถึงแก้ยาก ถ้าแก้ผิดตัวแปร หรือแก้ไม่ครบ ปัญหานี้จะยังอยู่ต่อไป ข้อมูลในบทความนี้ดาวน์โหลดฟรีได้จาก data.go.th เป็นข้อมูลรายกรณีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงปีใหม่และสงกรานต์ จากทั่วประเทศ ที่เข้าใจว่าเก็บโดยโรงพยาบาลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ถึง 2558 (สงกรานต์มีแค่ถึง 2557) […]
ทำไม "บิทคอยน์" ถึงรุ่งในเศรษฐกิจที่กำลังพัง?
เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว เงินดิจิตอลสกุล “บิทคอยน์” ฟังดูเหมือนแค่ของเล่นที่พวกคลั่งคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่จะซื้อเก็บไว้ เหตุผลหลักๆ คือหลายคนไม่เข้าใจว่าเงินที่จับต้องไม่ได้มันจะเป็น “เงิน” ได้อย่างไร ใครจะไปรับ และมันจะล่มหรือไม่ เพราะ บิทคอยน์เป็นสกุลเงินที่ไม่มีรัฐบาลหรือธนาคารกลางคอยดูแล จะไปอยู่รอดบนโลกที่ขนาดสกุลเงินปกติบางสกุลยังแทบจะเอาตัวไม่รอดได้อย่างไร ในช่วงแรกๆ นั้นโปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกันคนหนึ่งได้ “ประเดิม” การใช้บิทคอยน์เพื่อซื้อของบนโลกจริงโดยการจ่ายเพื่อนบนเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งไป 1 หมื่น BTC เพื่อแลกกับพิซซ่าสองถาด ทุกวันนี้ บิทคอยน์ก้อนที่เอาไปแลกกับพิซซ่าแสนอร่อยสองถาดนั้นมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านดอลลาร์แล้ว (เข้าไปอ่านความฮาในกระทู้จริงได้ที่นี่) วันนี้ราคาของบิทคอยน์ได้พุ่งขึ้นจากความไร้ค่าถึงราว 2500 ดอลลาร์ ต่อ 1 BTC ร้านค้าและธุรกิจใหญ่ๆ เริ่มรับบิทคอยน์กันอย่างเป็นทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Microsoft เว็บไซต์จองตั๋วเครื่องบินและโรงแรม Expedia ร้าน Bic Camera ที่พวกเราชอบไปเที่ยวในญี่ปุ่น แม้กระทั่งร้านอาหารบางร้าน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวไทยลิ้มเหล่าโหงว แม้ว่าทุกวันนี้บิทคอยน์ยังเป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับชีวิตคนธรรมดา และคนส่วนมากยังไม่เห็นคุณค่าของมันในฐานะของ “เงิน” ที่มั่นคง บทความนี้จะพาผู้อ่านไปดูกรณีพิเศษที่บิทคอยน์กลับเป็นทางเลือกที่จำเป็นสำหรับหลายคนในประเทศเวเนซุเอลา **สำหรับผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลปูพื้น บิทคอยน์แบบคร่าวๆ เชิญกดดูได้ที่นี่ครับ** […]
รู้จักกับนโยบายแจกเงิน: Universal Basic Income
ทุกวันนี้คงมีไม่กี่เรื่องที่สามารถดึงความสนใจของคนระดับโลกจากหลากสาขา ตั้งแต่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักคิดเสรีนิยม ฟรีดรีช ฮาเย็ก นักเศรษฐศาสตร์รุ่นขลัง มิลตัน ฟรีดแมน กับ พอล แซมมวลสัน อดีตประธานาธิปดีสหรัฐฯ ริชาร์ด นิกสัน ไปจนถึง ไอรอนแมนตัวเป็นๆ อย่าง อีลอน มัสก์ เรื่องนั้นก็คือนโยบายการันตีรายได้พื้นฐานให้กับประชาชน โดยทุกวันนี้เวอร์ชันที่ได้รับความฮือฮามากที่สุดก็คือนโยบายที่เรียกว่า Universal Basic Income (UBI) นั่นเอง แม้ว่าหลายคนจะมองว่าความคิดนี้ดูไม่เข้าท่าและไม่น่าจะเป็นไปได้ในโลกจริง แต่ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่อาจทำให้ฝันกลางวันเรื่องนี้กลายเป็นความจริงเร็วขึ้นได้ ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดคือเมื่อต้นปีนี้รัฐบาลฟินแลนด์ได้เริ่มทำการทดลองสุ่มให้เงิน 560 ยูโรต่อเดือนกับกลุ่มผู้รับค่าตอบแทนการว่างงาน 2,000 คน เพื่อดูว่าจะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากบ่วงกรรมการหางานไม่ได้สักทีหรือไม่ บทความนี้จะอธิบายแบบสั้นๆ (เท่าที่จะทำได้)ว่า 1) นโยบายแจกเงินแบบ UBI คืออะไร 2) ทำไมถึงกำลังเป็นที่ฮือฮามาก 3) ผลกระทบที่เป็นไปได้มีอะไรบ้างครับ
บทสัมภาษณ์กับ The Matter: Big Data กับ Automation
1.ตอนนี้มีการพูดถึงเรื่องการใช้ Big Data ในแง่มุมต่างๆ มากมาย จนกระทั่ง Big Data กลายเป็นคำที่หลายคนเรียกว่าเป็น Buzzword หรือคำหากินของยุคใหม่ไปแล้ว อยากให้คุณณภัทรช่วยอธิบายหน่อยครับว่า จริงๆ แล้ว Big Data ในแง่มุมที่เราควรเข้าใจจริงๆ เป็นอย่างไร ‘ประโยชน์’ ของมันจริงๆ คืออะไร นิยามของ Big Data คือ ภาวะข้อมูลที่มี 3V คือ volume velocity และ variety แปลเป็นไทยง่ายๆ ก็คือข้อมูลมีปริมาณมหาศาล เก็บได้ถี่ และมีความหลากหลายรูปแบบอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนครับ ผมมองว่าสิ่งที่เราควรจะเข้าใจที่สุดนอกจากว่า Big Data คืออะไรหรือมีประโยชน์และโทษอย่างไร ก็คือต้องเข้าใจว่าคุณหนีมันไม่ได้ ยังไงมันก็จะมากระทบชีวิตพวกเรา ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่าคุณจะอยู่ในประเทศที่แม้แต่ “สมอลดาตา” ยังไม่มีหรือทั้งชีวิตนี้คุณไม่เคยใช้ (และจะไม่ใช้) เทคโนโลยีเลยก็ยังหนีไม่พ้น นั่นเป็นเพราะว่า Big […]
เล่นกับไฟ: ทรัมป์กับการถอนเขี้ยว Dodd-Frank
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามคำสั่ง Executive Order ชิ้นใหม่เพื่อเริ่มทำการรื้อกฎหมายข้อบังคับทางการเงิน Dodd-Frank ยกใหญ่ในสหรัฐฯ แม้ว่าคำสั่งนี้จะไม่หวือหวาและจะยังไม่มีผลเชิงปฏิบัติที่เร่งด่วนเท่ากับคำสั่งอื่นๆ เช่นการแบนชาวต่างชาติจาก 7 ประเทศตะวันออกกลาง แต่กฎหมาย Dodd-Frank ถือเป็นกลไกสำคัญของการควบคุมความเสี่ยงและความประพฤติของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างผลกระทบฉับพลันต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกได้อย่างที่เราเคยเห็นในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 พูดง่ายๆ คือทรัมป์กำลังเล่นกับไฟ ซึ่งหวือหวาน่าสนุกในระยะแรก แต่ตัวใครตัวมันในระยะยาว บทความนี้จะสรุปอย่างสั้นๆ ว่า 1) Dodd-Frank คืออะไร 2) มีไว้ทำไมตั้งแต่แรกและทำไมถึงจะถูกถอนเขี้ยว และ 3) จุดที่ควรจับตามองต่อไป
ทำไมต้องตื่นตัวเรื่องพลังงาน (ตอนที่ 1): จุดยืนพลังงานไทยกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
พลังงานเป็นได้ทั้งตัวช่วยและตัวถ่วงในการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพ ปลอดภัย หาซื้อได้ทั่วถึง และราคาเหมาะสมทำให้เราสามารถผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีผลิตภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปลดปล่อยให้เราเอาเวลาอันมีค่าไปทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ต่างกับตอนที่มนุษย์เริ่มใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สในการปรุงอาหารแทนที่จะต้องไปหาไม้มาก่อฟืนให้เสียเวลาเหมือนสมัยก่อน แต่การบริหารพลังงานประเทศบางทีก็เป็นการปิดกั้นความเจริญของประเทศได้โดยไม่รู้ตัวเช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น การอุดหนุนกดราคาเชื้อเพลิงให้ต่ำกว่าราคาตลาดเพื่อให้เป็นที่พอใจของประชาชน แม้จะฟังดูดีแต่ท้ายสุดจะนำมาซึ่งหายนะทั้งในด้านการคลัง การรณรงค์ให้ประหยัดพลังงาน และการกระจายรายได้เพราะว่าคนที่ยากจนจริง ๆ ไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างที่คิด อีกตัวอย่างล่าสุดก็คือการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศล้มเลิกความตั้งใจที่จะพัฒนาและวิจัยหาพลังงานทดแทนที่สะอาดกว่ามาใช้ ทั้งๆ ที่มลภาวะอากาศจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuels) นั้นมีส่วนในการคร่าชีวิตคนก่อนเวลาอันควรไม่ต่ำกว่า 2 แสนคนต่อปีในประเทศเขาเอง ปัจจัยสำคัญที่เป็นเสี้ยนหนามของการพัฒนานโยบายพลังงานคือความไม่เข้าใจข้อมูลและความลึกลับซับซ้อนของกลไกในตลาดพลังงาน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราควร “ช่างมัน” เพราะว่านโยบายพลังงานกระทบทุกคนในสังคม ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่รุ่นเราก็รุ่นลูกหลานเรา ผมหวังว่าบทความซีรี่ส์ “ทำไมต้องตื่นตัวเรื่องพลังงาน” ที่จะเสนอข้อคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พลังงานแบบสั้นๆ จะทำให้หลายคนหันมาสนใจและเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานอย่างมีทิศทางและมีข้อมูลกันมากขึ้นครับ สำหรับตอนที่ 1 เราไปดูกันว่าพลังงานไทยอยู่ตรงไหนและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) มีส่วนสำคัญอย่างไรและควรคืนปตท.ให้รัฐเหมือนแต่ก่อนดีอย่างที่มีการเรียกร้องกันหรือไม่
สรุป 3 ประเด็นสำคัญจากการประชุม WEF 2017
ผมได้ติดตามความเคลื่อนไหวจากการประชุมเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) 2017 ณ กรุงดาวอสอย่างใกล้ชิด ซึ่งในปีนี้ทาง WEF ได้จัดวงเสวนาในหัวข้อที่สามารถกระทบความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกไว้มากกว่าถึง 400 วงด้วยกัน ตั้งแต่เรื่องความเหลื่อมล้ำไปจนถึงชะตากรรมของโลกาภิวัฒน์ สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่มีเวลาดื่มด่ำกับการดวลพลังสมองของเหล่าผู้นำการเมือง นักธุรกิจ และนักคิดผู้ทรงอิทธิพลที่มาร่วมการประชุมครั้งนี้ ผมคัด 3 เรื่องที่น่าสนใจที่สุดมาเสนอให้อ่านกันในบทความนี้ครับ
คำถามน่าคิดก่อนภาวะเงินเฟ้อจะกลับมา
ขณะนี้กำลังมีสัญญานว่าภาวะเงินเฟ้อที่ห่างหายไปนานมีโอกาสที่จะกลับมาเยือนพวกเราในเร็วๆ นี้ ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้เริ่มปรับตัวขึ้นแล้ว เยอรมันเมื่อเดือนธ.ค. ปี 2016 ได้ปรับตัวขึ้นมากถึง 1.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่ามากที่สุดตั้งแต่ปี 2013 เฟดเองหลังจากที่ขึ้นดอกเบี้ยเมื่อท้ายปีที่แล้วก็ได้ใช้คำว่า “ขึ้นมามากพอควร” เพื่อใบ้ว่าเงินเฟ้อกำลังปรับตัวสูงขึ้น ในประเทศไทยเองอัตราเงินเฟ้อในเดือน ธ.ค. 2016 ก็ได้ปรับตัวมากที่สุดในรอบ 2 ปี ที่ผ่านมาเช่นกัน โดยนักวิเคราะห์ส่วนมากมองว่ามีผลมาจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน (ซึ่งจะสะท้อนถึงต้นทุนที่สูงขึ้นของสินค้าแทบจะทุกประเภท) บทความนี้จะนำเสนอ 3 คำถามน่าคิดเกี่ยวกับเงินเฟ้อหากเศรษฐกิจโลกจะทำการเข้าสู่วงจรใหม่จริงๆ หลังจากที่จมกับภาวะเงินเฟ้อต่ำมาเป็นเวลานานหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ครับ
จังหวะใหม่ของจีนกับการปรับหางเสือเศรษฐกิจ
ตั้งแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 เป็นต้นมา เราได้เห็นการ “ปรับหางเสือ” ของเศรษฐกิจจีนจากการพึ่งพาการลงทุนและการส่งออกไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสริมสร้างความสมดุลย์ (rebalancing) เพื่อเสถียรภาพและคุณภาพของการขยายตัวในระยะยาว ในสายตานักลงทุนทั่วโลกมันคือการชะลอตัวลงของฟันเฟืองชิ้นโตที่เคยขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอด แต่ในสายตาของผู้นำจีน เขามองว่าแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเดิม แม้จะนำมาซึ่งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วระดับปาฏิหาริย์ยาวถึง 3 ทศวรรษ ได้เข้าสู่จุดอิ่มตัวและสร้างปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นเสี้ยนหนามในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ยั่งยืน ในการปรับหางเสือครั้งนี้ จีนจึงตั้งใจที่จะปั้นโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่จะมีการพึ่งพาการผลิตเพื่อบริโภคภายใน พัฒนาภาคบริการ และยกระดับผลิตภาพของแรงงานและเงินทุนในหลากเซ็กเตอร์ให้มากขึ้น บทความนี้จะขอสรุปอย่างสั้นๆ ว่า 1) ทำไมความสำเร็จของการปรับหางเสือของจีนจะมีความสำคัญมากขึ้น และ 2) จีนปรับหางเสือไปถึงไหนแล้ว ไฟสปอร์ตไลท์กำลังจะกลับมาที่จีน ผู้เขียนคิดว่าหลังจากที่ฝุ่นจากเหตุการณ์ Brexit และการเลือกตั้งสหรัฐฯ สงบลง ความคาดหวังในความสำเร็จ ทิศทาง และความราบรื่นของการปรับหางเสือของจีนจะมีมากขึ้น ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ ประการแรก สหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ได้ส่งสัญญานอันไม่เป็นมิตรต่อจีนออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ตอนหาเสียงแล้ว การขึ้นภาษีนำเข้าและนโยบายกีดกันทางการค้าในรูปแบบอื่นๆ ต่อจีน จะเป็นการสร้างอุปสรรคอย่างไม่จำเป็นให้กับเศรษฐกิจจีนที่กำลังชะลอตัวลงในขณะที่จีนปรับหางเสือ ซึ่งถึงแม้จีนเองจะสามารถโต้กลับได้ด้วยการโยกย้ายการบริโภคสินค้าบางชนิดจากสหรัฐฯ ได้ เช่น เครื่องบินหรือถั่วเหลือง จีนเองก็ไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ที่ everybody loses แบบนี้เช่นกัน ประการที่สอง การแสดงทีท่าของสหรัฐฯ ว่าจะไม่ทำตัวเป็นตัวตั้งตัวตีเพื่อส่งเสริมความแน่นแฟ้นทางเศรษฐกิจแบบ multilateral บนเวทีโลกเท่าในอดีตอีกต่อไป […]
มีตัวเลขเศรษฐกิจอยู่ตัวหนึ่งที่หลายคนมักมองมันอย่างผิวเผินว่าเป็น “ตัวเลขหายนะ” ตัวเลขนั้นก็คือสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (ขอเรียกสั้นๆ ว่า หนี้รัฐบาลต่อ GDP) ในขณะที่บ้านเรากังวลกันว่าตัวเลขนี้อาจขึ้นไปแตะ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือจะชนกรอบที่ตั้งไว้ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ในไม่ช้า เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมเราถึงต้องกังวลกับมันทั้งๆ ที่เศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วแทบจะทุกเศรษฐกิจมีหนี้รัฐบาลอยู่ในระดับที่เรียกได้ว่า “ชาตินี้ก็ชำระไม่หมด” บทความนี้จะนำเสนอประเด็นที่เราควรและไม่ควรกังวล บวกกับผลวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับตัวเลขนี้ครับ
ถี่ ถูก แม่น หรือแค่ฝัน?: รวม 14 วิธีวัดตัวเลขเศรษฐกิจใหม่ในยุค Big Data
แม้ว่ามนุษย์เราได้เริ่มศึกษาและทำการวัดข้อมูลเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่เมื่อ 73 ปีแล้ว การที่น้อยคนนักที่สามารถทำนายวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ครั้งเมื่อปี 2008 ทั้ง ๆ ที่มองย้อนกลับไปจากวันนี้แล้วมันมีสาเหตุชัดเจน สะท้อนว่าเรายังรู้อะไรน้อยมากเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญมักถูกประกาศหลังจากที่สิ่งที่มันตั้งใจจะวัด ได้เกิดขึ้นไปแล้วหลายอาทิตย์หรือเป็นเดือนๆ (ดีไม่ดีเป็นปี…และอาจมี revision เพราะประกาศแรกผิด) ซ้ำร้ายยังอาจเป็นตัวเลขเท็จที่ถูกการเมืองแทรกแซงอย่างที่ตลาดโลกตราหน้าตัวเลขเศรษฐกิจทางการของประเทศจีน แต่ด้วยความก้าวหน้าและความแพร่หลายของเทคโนโลยีสารสนเทศ ผมคิดว่าทั้งหมดนี้กำลังจะเปลี่ยนไปในไม่ช้า ในโลกอนาคต ข้อมูลจำนวนมหาศาลจะถือกำเนิดขึ้นทุกครั้งที่ “ผู้เล่น” ในระบบเศรษฐกิจกำลังกระทำอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำการค้นหาใน Google โทรศัพท์หาเพื่อน จ่ายเงินค่าทางด่วน หรืออัพโหลดรูปที่ตนไปเที่ยวมาขึ้น Flickr ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถมองว่ามันเป็นเหมือน “ลายทางเศรษฐกิจ” ขนาดเล็กจำนวนนับไม่ถ้วนที่สามารถถูกนำไปวิเคราะห์ต่อเพื่อนำไปผูกเป็น “ตัวเลขเศรษฐกิจทางเลือก” ที่จะมีความถี่สูงกว่าแต่มีต้นทุนต่ำกว่าได้ อีกทั้งในบางกรณียังสามารถเอาไปทำนายตัวเลขเศรษฐกิจทางการก่อนการประกาศจริงได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ในบทความนี้ผมจะเสนอตัวอย่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลชนิดใหม่ๆ เพื่อการวัดและคาดการณ์ข้อมูลเศรษฐกิจทางการที่สำคัญ เช่น อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ อัตราว่างงาน ไปจนถึงแพทเธิร์นในการท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้อ่านเห็นถึงความเป็นไปได้ที่ข้อมูลเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ครับ วัดการขยายตัวของเศรษฐกิจใหม่ คงไม่มีใครเถียงว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดก็คือ GDP แต่จุดที่จะชี้ว่าใครเป็นผู้แพ้ผู้ชนะในตลาดการเงินโลกคือความแม่นยำในการทำนายตัวเลขนี้ก่อนที่ตัวเลขทางการจะถูกเปิดเผยออกมา ตัวอย่างที่ 1: ใช้ข้อมูลการสื่อสารด้านการเงินระหว่างธนาคารเพื่อคาดการณ์ GDP SWIFT ซึ่งปกติทำระบบสื่อสารด้านการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลกนั้นมีวิธีนำข้อมูลปริมาณการสื่อสารด้านการเงินเหล่านี้มารวมกับข้อมูลอัตราขยายตัวของเศรษฐกิจที่ผ่านมาเพื่อทำเป็น SWIFT Index ซึ่งค่อนข้างแม่นยำในการช่วยคาดการณ์ GDP […]
ลดภาษีแล้วเศรษฐกิจโตไวขึ้นจริงหรือ?
ในช่วงหนึ่งอาทิตย์หลังการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ สามารถดีดตัวขึ้นมาได้อย่างเหนือความคาดหมายเนื่องจากนักลงทุนต่างมองว่าชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ และพรรครีพับลิกันซึ่งคุมได้ทั้งสภาคองเกรสและวุฒิสภานั้นจะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ เป็นหนึ่งเดียวขึ้น ไม่มีการขัดขากันเหมือนสมัยโอบามา คิดจะทำนโยบายอะไรก็จะลื่นไหลกว่า หนึ่งในนโยบายที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงคือการหั่นภาษียกใหญ่ โดยตัวมันเองแล้วการลดภาษีเป็นนโยบายที่ใคร ๆ ก็น่าจะต้องชื่นชอบ เนื่องจากมันทำให้เรามีเงินในกระเป๋าสตางค์มากกว่าเดิม แต่จากมุมมองที่กว้างกว่าแค่กระเป๋าสตางค์ของเรานั้นผลลัพธ์ของมันต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมกลับเข้าใจได้ไม่ง่ายนักและมักไม่ขาวดำเหมือนอย่างในตำราเศรษฐศาสตร์ระดับพื้นฐานทั่วไป สหรัฐฯ เป็นประเทศที่เคยมีการปฏิรูปนโยบายภาษีครั้งใหญ่ ๆ (ทั้งเพิ่มและลด) มาแล้วนักต่อนัก แต่กลับไม่มีผลลัพธ์ที่เด่นชัดต่ออัตราขยายตัวของ GDP ในระยะยาวเลย บทความนี้จะนำเสนอแนวคิดเชิงทฤษฎีและผลวิจัยเกี่ยวกับผลของการลดภาษีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในอดีตครับ กินหวานแล้วค่อยกินเปรี้ยว โบราณเขาว่าให้เราอดเปรี้ยวไว้กินหวาน แต่ผลวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ชี้ว่าการลดภาษีนั้นเปรียบเสมือนกับการกินหวานแล้วค่อยกินเปรี้ยว (หรืออดกิน) เนื่องจากมันสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้นแต่มักไม่มีผลหรือส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในระยะยาวเนื่องจากเป็นการเพิ่มการขาดดุลการคลัง ในมุมมองหนึ่งการลดภาษีเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้เล่นทำงานและลงทุนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาจะไม่ต้องแบ่ง “รางวัล” จากการกระทำเหล่านี้ให้กับรัฐบาลมากเท่าเดิม เงินที่เคยกองอยู่อาจถูกนำออกมาหมุนเพิ่มขึ้น ชั่วโมงพักผ่อนอาจถูกเปลี่ยนไปเป็นชั่วโมงทำงานมากขึ้น นี่คือมุมมองที่คนส่วนมากใช้เป็นเหตุผลในการสนับสนุนนโยบายลดภาษีว่ามันจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้ แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง การลดภาษีก็เป็นการลดแรงจูงใจให้ผู้เล่นทำงานและลงทุนได้เหมือนกัน เหตุเป็นเพราะว่าการลดภาษีเป็นการเพิ่มรายได้หลังหักภาษีแบบทันทีทันใด “ความรวยขึ้นแบบกระทันหัน” นี้จึงเป็นการลดแรงจูงใจให้ผู้เล่นขยันขันแข็ง ลองจินตนาการถึงกรณีการเพิ่มรายได้แบบสุดโต่งจากการที่คุณถูกลอตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งดูก็ได้ครับ หลังจากที่คุณทราบข่าวดีแล้วคุณคงไม่คิดจะออกไปทำงานจำนวนชั่วโมงเท่าเดิมใช่ไหมครับ สองมุมมองนี้เป็นไปได้ทั้งนั้น คำถามคือแล้วที่ผ่าน ๆ มานั้นมุมมองไหนถูก ในระยะยาว งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าการลดภาษีไม่ได้ทำให้คนออกมาทำงานกันมากขึ้นและไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ไวขึ้น (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nber.org/chapters/c10943.pdf และ https://www.aei.org/wp-content/uploads/2013/12/-tax-policy-lessons-from-the-2000s-chapter-34_114619105718.pdf) แม้กระทั่งการลดภาษีกำไรจากการขายทรัพย์สิน (capital gain […]
โปเกนอมิกส์: 3 มุมมองเศรษฐศาสตร์โปเกมอน
ก่อนอื่นผมขอขอบคุณที่ท่านผู้อ่านได้สละเวลาอัพเลเวลโปเกมอนอันมีค่ามาอ่านบทความนี้นะครับ สัญญาว่าบทความเกี่ยวกับ “โปเกนอมิกส์” นี้จะสนุก มีสาระ และไม่ใช้เวลาอ่านนานนัก ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น พ่อแม่ ลุงป้าน้าอา ลูกเล็กเด็กแดง ต่างรู้จักเกม Pokemon GO กันถ้วนหน้า ซึ่งล่าสุดพบว่าผู้เล่น (Daily Active Users) เกือบ 25 ล้านคนใช้เวลาโดยเฉลี่ยแล้วกว่า 43 นาทีต่อวัน ในเกมนี้ (ทิ้งห่าง Instagram ที่อยู่ที่ 25 นาทีต่อวัน) ดังเปรี้ยงปร้างขนาดนี้จึงไม่แปลกที่ออฟฟิสสร้างเกมเล็กๆ สองสามออฟฟิส สามารถสร้างรายได้ได้เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวันแม้ว่าผู้เล่นสามารถดาวน์โหลดเกมเล่นได้ฟรี ความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้นนี้เป็นบทพิสูจน์เลยว่าคอนเซ็ปต์ minimum viable product (ออกเกมมาโดยมีแค่ basic feature ก่อนเพื่อทดสอบตลาด) ใช้ได้จริงในวงการนี้ แต่สำหรับผม ที่น่าสนใจกว่าคือสิ่งที่ Pokemon GO สะท้อนให้เห็นถึง 3 มุมมองเศรษฐศาสตร์ต่อไปนี้
Previous page Next page
Recent Comments