สิ่งที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับรายการ "Sesame Street"
ใครที่สมัยเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่เคยให้ดูรายการทีวีภาษาอังกฤษที่ประเทืองปัญญาจะต้องจำรายการ Sesame Street ได้ไม่ลืมเลือน คุณคงจำนกยักษ์สีเหลืองที่ชื่อ Big Bird พร้อมกับเพื่อนๆ สัตว์ประหลาดสีน้ำเงินสดใสที่ชอบกินคุ้กกี้ชื่อ Cookie Monster และ Elmo ในร่างสีแดงสดได้เป็นอย่างดี แต่คุณคงไม่ทราบถึงที่มาว่าทำไมตัวอักษรภาษาอังกฤษถึงต้องสั่นหรือเคลื่อนไหวบนจอ ทำไมถึงมีการสอนคอนเซ็ปต์คณิตศาสตร์สำคัญ เช่น “one-to-one correspondence” ให้กับผู้ชมอายุแค่ 3 ขวบ ทำไมต้องมีเพลงที่ร้องซ้ำๆ อยู่เรื่อยไป และ ทำไมรายการนี้ถึงคอยแฝงคอนเซ็ปต์ผู้ใหญ่ๆ เช่น ความตาย การไม่เหยียดผิว การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การใช้ชีวิตเมื่อเด็กติดเชื้อ HIV และ การยอมรับเมื่อบิดาหรือมารดาถูกจำคุก ให้กับเด็กที่ยังอ่านหนังสือไม่ออกด้วยซ้ำ ตั้งแต่วันแรกที่รายการทีวี Sesame Street ออกฉายในปี 1969 นั้นได้มีงานวิจัยกว่า 1000 ชิ้นออกมาชี้ให้เห็นถึงผลกระทบทางบวกต่อความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนและการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในกลุ่มเด็กๆ ที่ดูรายการนี้ บทความนี้จะเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของการถ่ายทำที่น่าประทับใจของ Sesame Workshop ที่ทำการโพรดิวซ์รายการนี้และคัดผลวิจัยคุณภาพมาเพื่อชี้ให้ผู้อ่านได้เห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องบังเอินที่การผลิตรายการทีวีสำหรับเด็กจะทำให้เกิดผลลัพธ์ดีๆ เหล่านี้ได้ แต่กลับต้องใช้แรงกาย แรงใจ ความคิดสร้างสรรค์ ทีมนักวิจัย และความใส่ใจกับอนาคตเด็กอย่างมหาศาลเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเหล่านี้
Previous page Next page
Recent Comments