หาหมอทั่วโลก: 6 ข้อคิดจากหนังสือดี "The Healing of America"
คงจะไม่มีวิธีไหนที่เราจะสามารถสัมผัสกับจุดเด่นจุดด้อยและประสิทธิภาพของระบบสาธารณะสุขได้ดีเท่ากับเมื่อตัวเราเองล้มป่วยลงและต้องเดิมพันชีวิตและสุขภาพของเรากับมัน วันนี้ขอแนะนำหนังสือดีอ่านสนุกชื่อ “The Healing of America: a Global Quest for Better, Cheaper, and Fairer Health Care” ที่มีข้อคิดและบทเรียนดีๆ มากมายหลังจากที่ผู้เขียน T.R. Reid ได้ตัดสินใจออกตระเวนหาหมอทั่วโลกเพื่อค้นหา “ระบบสาธารณสุขในฝัน” ที่มีประสิทธิภาพ มีราคาย่อมเยา และมีความเป็นธรรม มันน่าทึ่งที่ปัญหาหัวไหล่ปัญหาเดียวนี้ของ T.R. Reid สามารถถูกวินิจฉัยและรักษาบำบัดด้วยวิธีที่แตกต่างกันสุดขั้วในแต่ละประเทศ ตั้งแต่คำแนะนำจากหมอ hi-tech เสนอให้ผ่าตัดแพงๆ แบบ “Total Arthroplasty” ไปจนถึงการนวดแผนโบราณกับจิบชาแบบอายุรเวทในประเทศอินเดียที่ราคาย่อมเยา อีกทั้งรายละเอียดต่างๆ ก่อนเข้าถึงตัวหมอ เช่น การรอคิวและการใช้ประกันสุขภาพก็แตกต่างกันลิบลับ ความหลากหลายของคุณภาพ ประสิทธิภาพ ราคา และความแฟร์ของระบบสาธารณสุขทั่วโลกที่หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงทำให้เราฉุกคิดได้ว่าถ้าสมมุติว่ามีเด็กคนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงที่การแพทย์สามารถรักษาได้ ทำไมชะตาชีวิตของเด็กคนนี้ถึงจะต้องมาเดิมพันกับการที่แค่ว่าเขาเกิดมาเป็นพลเมืองของชาติใดด้วย (เลือกไม่ได้) หากโชคดีเกิดมาในประเทศที่ระบบสาธารณสุขให้น้ำหนักกับความแฟร์มากหน่อย เด็กคนนี้ก็จะมีชีวิตรอดและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขแม้ว่าพ่อแม่ของเขาจะไม่มีเงินเลยสักแดงและไม่มีเส้นสายกับคุณหมอชื่อดัง แต่หากเด็กคนนี้โชคร้ายเกิดมาในสังคมที่ระบบสาธารณสุขที่ไม่ดีและไม่แฟร์เท่า (หรือไม่มีเลย…) เขาจะเสียชีวิตแบบที่ไม่มีใครแยแสและไม่มีใครช่วยได้ ผู้เขียนคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าอ่านมากสำหรับใครที่สนใจการพัฒนาระบบสาธารณสุขเพราะว่า T.R. Reid พบว่าแม้จะไม่มีระบบไหนเลยที่ดีเลิศในทุกๆ มิติแต่ในภาพรวมแล้วมันพอมีหลักฐานค่อนข้างชัดเจนว่าระบบแบบไหนก่อให้เกิดผลลัพธ์แนวไหน […]
"4 ปัญหาร่วม" ในการพัฒนาการศึกษากับสาธารณสุข
การศึกษากับสาธารณสุขนั้นเป็นสองเซ็กเตอร์ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของการบริหารประเทศ การพัฒนาการเรียนรู้ ทักษะและสุขภาพของประชาชนนั้นนอกจากจะเป็นการทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแล้วยังสามารถส่งผลดีทางอ้อมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอีกด้วย แน่นอนว่าหลายประเทศก็เห็นถึงโอกาสในการลงทุนในสองเซ็กเตอร์นี้เพื่อผลตอบแทนในอนาคต ตลาดการศึกษาและสุขภาพในหลายประเทศจึงมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐฯอเมริกานั้นมีค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพและสาธารณสุขสูงถึง 17.7% ของ GDP ในปี 2011 (แค่เซ็กเตอร์เดียวใหญ่กว่า GDP ไทยทั้งประเทศประมาณ 7.6 เท่า!) แต่ที่น่าสนใจกว่าคือทำไมวิธีบริหารสองเซ็กเตอร์นี้ในแต่ละประเทศนั้นถึงแตกต่างกันเหลือเกิน และทำไมผลลัพธ์ที่ได้ก็แตกต่างกันมาก บทความนี้ไม่ได้จะนำเสนอสูตรลับในการพัฒนาสองเซ็กเตอร์นี้แต่จะชี้ให้เห็นถึงปัญหา 4 ปัญหาที่ทำให้การพัฒนาสองเซ็กเตอร์สำคัญนี้เป็นงานที่ยากมากๆ
Previous page Next page
Recent Comments