menu Menu
11 articles filed in
สหรัฐฯ
Previous page Next page

เล่นกับไฟ: ทรัมป์กับการถอนเขี้ยว Dodd-Frank

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามคำสั่ง Executive Order ชิ้นใหม่เพื่อเริ่มทำการรื้อกฎหมายข้อบังคับทางการเงิน Dodd-Frank ยกใหญ่ในสหรัฐฯ แม้ว่าคำสั่งนี้จะไม่หวือหวาและจะยังไม่มีผลเชิงปฏิบัติที่เร่งด่วนเท่ากับคำสั่งอื่นๆ เช่นการแบนชาวต่างชาติจาก 7 ประเทศตะวันออกกลาง  แต่กฎหมาย Dodd-Frank ถือเป็นกลไกสำคัญของการควบคุมความเสี่ยงและความประพฤติของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สามารถสร้างผลกระทบฉับพลันต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกได้อย่างที่เราเคยเห็นในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 พูดง่ายๆ คือทรัมป์กำลังเล่นกับไฟ ซึ่งหวือหวาน่าสนุกในระยะแรก แต่ตัวใครตัวมันในระยะยาว บทความนี้จะสรุปอย่างสั้นๆ ว่า 1) Dodd-Frank คืออะไร 2) มีไว้ทำไมตั้งแต่แรกและทำไมถึงจะถูกถอนเขี้ยว และ 3) จุดที่ควรจับตามองต่อไป

Continue reading


สรุป 3 ประเด็นสำคัญจากการประชุม WEF 2017

ผมได้ติดตามความเคลื่อนไหวจากการประชุมเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) 2017 ณ กรุงดาวอสอย่างใกล้ชิด  ซึ่งในปีนี้ทาง WEF ได้จัดวงเสวนาในหัวข้อที่สามารถกระทบความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกไว้มากกว่าถึง 400 วงด้วยกัน ตั้งแต่เรื่องความเหลื่อมล้ำไปจนถึงชะตากรรมของโลกาภิวัฒน์ สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่มีเวลาดื่มด่ำกับการดวลพลังสมองของเหล่าผู้นำการเมือง นักธุรกิจ และนักคิดผู้ทรงอิทธิพลที่มาร่วมการประชุมครั้งนี้  ผมคัด 3 เรื่องที่น่าสนใจที่สุดมาเสนอให้อ่านกันในบทความนี้ครับ

Continue reading


จังหวะใหม่ของจีนกับการปรับหางเสือเศรษฐกิจ

ตั้งแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 เป็นต้นมา เราได้เห็นการ “ปรับหางเสือ” ของเศรษฐกิจจีนจากการพึ่งพาการลงทุนและการส่งออกไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสริมสร้างความสมดุลย์ (rebalancing) เพื่อเสถียรภาพและคุณภาพของการขยายตัวในระยะยาว ในสายตานักลงทุนทั่วโลกมันคือการชะลอตัวลงของฟันเฟืองชิ้นโตที่เคยขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอด แต่ในสายตาของผู้นำจีน เขามองว่าแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเดิม แม้จะนำมาซึ่งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วระดับปาฏิหาริย์ยาวถึง 3 ทศวรรษ  ได้เข้าสู่จุดอิ่มตัวและสร้างปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นเสี้ยนหนามในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ยั่งยืน  ในการปรับหางเสือครั้งนี้ จีนจึงตั้งใจที่จะปั้นโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่จะมีการพึ่งพาการผลิตเพื่อบริโภคภายใน  พัฒนาภาคบริการ และยกระดับผลิตภาพของแรงงานและเงินทุนในหลากเซ็กเตอร์ให้มากขึ้น บทความนี้จะขอสรุปอย่างสั้นๆ ว่า 1) ทำไมความสำเร็จของการปรับหางเสือของจีนจะมีความสำคัญมากขึ้น และ 2) จีนปรับหางเสือไปถึงไหนแล้ว ไฟสปอร์ตไลท์กำลังจะกลับมาที่จีน ผู้เขียนคิดว่าหลังจากที่ฝุ่นจากเหตุการณ์ Brexit และการเลือกตั้งสหรัฐฯ สงบลง ความคาดหวังในความสำเร็จ  ทิศทาง และความราบรื่นของการปรับหางเสือของจีนจะมีมากขึ้น ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ ประการแรก สหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ได้ส่งสัญญานอันไม่เป็นมิตรต่อจีนออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ตอนหาเสียงแล้ว การขึ้นภาษีนำเข้าและนโยบายกีดกันทางการค้าในรูปแบบอื่นๆ ต่อจีน จะเป็นการสร้างอุปสรรคอย่างไม่จำเป็นให้กับเศรษฐกิจจีนที่กำลังชะลอตัวลงในขณะที่จีนปรับหางเสือ  ซึ่งถึงแม้จีนเองจะสามารถโต้กลับได้ด้วยการโยกย้ายการบริโภคสินค้าบางชนิดจากสหรัฐฯ ได้ เช่น เครื่องบินหรือถั่วเหลือง จีนเองก็ไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ที่ everybody loses แบบนี้เช่นกัน ประการที่สอง  การแสดงทีท่าของสหรัฐฯ ว่าจะไม่ทำตัวเป็นตัวตั้งตัวตีเพื่อส่งเสริมความแน่นแฟ้นทางเศรษฐกิจแบบ multilateral บนเวทีโลกเท่าในอดีตอีกต่อไป […]

Continue reading


5 ประเด็นเศรษฐกิจโลกรับปีใหม่

โลกของเราย่างเข้าสู่ปีใหม่มาได้ไม่ถึงหนึ่งอาทิตย์ก็เกิดอะไรขึ้นมากมายที่ทำให้เวทีเศรษฐกิจโลกสั่นคลอนไปด้วยความกลัวและความกังวล ในอาทิตย์ที่ผ่านมานี้หุ้นในประเทศจีนร่วงลง 11.6 เปอร์เซ็นต์ และมีการใช้ระบบ circuit breaker ปิดตลาดกระทันหันเมื่อวันพฤหัสบดีหลังจากเปิดมาได้ไม่เกิน 15 นาที เพื่อไม่ให้หุ้นร่วงลงไปกว่านั้น  ภาวะแบบนี้ก็ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ภายในอาทิตย์เดียวคนที่ร่ำรวยที่สุด 400 คนของโลกเสียไปราว 194 พันล้านดอลลาร์จากตลาดการเงินที่ผันผวน นอกจากทั้งหมดนี้ยังมีการที่จอร์จ โซรอส กูรูนักลงทุนข้ามชาติที่เคยให้บทเรียนอันเจ็บปวดกับประเทศไทยมาแล้ว ออกมาตอกย้ำความกังวลนี้อีกว่าเขาคิดว่าวิกฤติครั้งหน้าอยู่ไม่ไกลแล้วและมองด้วยว่าปัญหาในการปรับหางเสือของเศรษฐกิจจีนสามารถปะทุขึ้นมาเป็นวิกฤติแบบครั้งเมื่อแปดปีที่แล้วได้ นี่คือแค่อาทิตย์แรกของปีนี้…ยังเหลืออีกตั้ง 300 กว่าวัน ในบทความนี้ผู้เขียนรวบรวมข้อมูลและสรุปประเด็นสำคัญสั้นๆ 5 ประเด็นที่จะมามีบทบาทอย่างมากต่อความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้  ผู้เขียนหวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านในปีนี้ครับ

Continue reading


วิกฤตรัสเซีย: เมื่อหมีขาวถูกรังแก

ขณะนี้หมีขาวรัสเซียกำลังโดนซ้อม ทั้งราคาน้ำมันดิ่งเหว ทั้งค่าเงินป่นปี้ แถมยังโดนเตะซ้ำเข้าที่ชายโครงวันนี้ด้วยการที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โอบามาประกาศว่าจะกลับมามีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและปลดโซ่ตรวนทางการค้ากับประเทศคิวบาที่เคยทำให้สงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซีย “ร้อน” และเกือบทำให้เกิดการแลกหมัดนิวเคลียร์ขึ้นมาทันทีในปี 1962  มิหนำซ้ำยังจะมีการซ้ำเข้าที่เบ้าตาหมีขาวอีกทีเมื่อโอบามาลงนามการคว่ำบาตรปิดโลงรัสเซียรอบต่อไปในอาทิตย์นี้ (และมีข่าวฮือฮาบอกว่าลงนามไปแล้วด้วย) ตอนนี้ทั้งโลกกำลังจับตามองชะตากรรมของเศรษฐกิจรัสเซียที่ค่าเงินรูเบิลร่วงลงมากว่า 50% จากช่วงกลางเดือนมิถุนายนปีนี้ (และหล่นลงมากว่า 20% ภายในวันเดียวเมื่อสองวันก่อน)  แม้ว่าธนาคารกลางรัสเซียจะได้พยายามสกัดการร่วงของรูเบิลไปแล้วด้วยการขึ้นดอกเบี้ยจาก 10.5% เป็น 17% ก็ตาม เมื่อค่าเงินอ่อนปวกเปียกอย่างฉับพลันและรุนแรงอย่างไม่มีอะไรห้ามได้เช่นนี้ เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดภาวะ “panic” ขึ้นกับทุกฝ่ายไม่ใช่แค่กับนักลงทุนเท่านั้น  ซึ่งล่าสุดชาวรัสเซียเองก็ได้เริ่มรู้สึกสัมผัสกับ “ภาวะรูเบิลไร้ค่า” นี้แล้วเมื่อราคาสินค้าทั่วไปเริ่มปรับตัวขึ้นอย่างกระทันหัน ร้านค้าเริ่มปรับราคาขึ้นรายวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจต่างชาติยักษ์ใหญ่ที่ต้องคำนึงถึงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เช่น แมคโดนัลด์ได้เริ่มปรับราคาขึ้น ในขณะที่บริษัท Apple ก็ได้ยกเลิกการขายสินค้าออนไลน์ให้กับผู้บริโภคในรัสเซียไปเรียบร้อยแล้ว ต้องยอมรับว่าวิกฤตครั้งนี้ส่อแววแย่ค่อนข้างไวและสร้างความหวาดกลัวให้กับมีหลายฝ่ายจนถึงขั้นเริ่มมีคนหยิบยกประเด็นวิกฤตรัสเซียคราวที่แล้วเมื่อปี 1998 ขึ้นมาเปรียบเทียบกับวิกฤตคราวนี้ว่าอาจจะได้เห็นอะไรแย่ๆ ได้ในเร็วๆ นี้  บทความนี้จะสรุปสั้นๆ ในสี่หัวข้อ: 1. วิกฤตนี้เกิดขึ้นจากปัจจัยอะไร 2. อะไรคือจุดเสี่ยงของเศรษฐกิจรัสเซีย 3. บทบาทของศึกแย่งชิงเวทีโลกที่อยู่เบื้องหลังวิกฤตนี้ 4. ทางออกของปูติน

Continue reading


นับถอยหลังเพดานหนี้สหรัฐฯ

มะกันชอบ Too Big To Fail

Continue reading


[หนังสือ] มองอย่างเซียนสไตล์ ลี กวนยู

ลี กวนยู ไม่เคยพูดผิด – Margaret Thatcher

Continue reading


QE กับการวัดปริมาณเงินร้อนในเศรษฐกิจจีน

step 1: วัดเงินร้อนให้ถูก

Continue reading


QE คืออะไร? มีผลกระทบต่อจีนอย่างไร ? (ภาค 1)

QE กระทบจีนอย่างไรบ้าง ?

Continue reading


ใกล้ชิดกับ Jack Lew : ขุนคลังคนใหม่ของสหรัฐฯ

แขวะจีนแล้วยิ้มคือหน้าที่

Continue reading


วิกฤตต้มยำกุ้ง แฮมเบอร์เกอร์ หรือ ต้มยำปู?

ภาพลวงตาใหม่

Continue reading



Previous page Next page

keyboard_arrow_up