เมื่อหนึ่งเดือนที่ผ่านมาเราได้เห็นภาวะ “บอนด์ยีลด์ติดลบ” ที่ทำให้หลายคนเกาหัวกันอย่างถ้วนหน้า ภาวะนี้รุนแรงไม่ใช่เล่น มีคนวิเคราะห์แล้วว่ากว่า 27% ของปริมาณตราสารหนี้รัฐบาลในกลุ่มยูโรโซนทั้งหมดนั้นเข้าข่ายให้ผลตอบแทนติดลบไปเรียบร้อยแล้ว ผลตอบแทนของตราสารหนี้รัฐบาลญี่ปุ่นระยะสามปีก็ได้ลงไปติดลบเหมือนกันเมื่อไม่กี่อาทิตย์ก่อน น่าประหลาดไหมล่ะครับที่คนเรายอมจ่ายเงินแย่งกันเอาเงินไปให้ญี่ปุ่นยืมทั้งๆ ญี่ปุ่นจริงๆ แล้วเป็นประเทศที่มีอนาคตระยะไกลที่แย่มากๆ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีอัตราส่วนหนี้รัฐบาลต่อ GDP สูงที่สุด บวกกับมีแนวโน้มชราภาพของประชากรที่ชัดเจน กรณีของญี่ปุ่นนั้นผู้เขียนพอจะยังเข้าใจได้ว่าญี่ปุ่นจะยังไม่เจ๊งในอีกหลายปี (เหมือนที่เคยวิเคราะห์ไว้ที่นี่) แต่ที่น่าฉงนกว่าคือทำไมผลตอบแทนของตราสารหนี้รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ระยะสิบปีมันถึงลงไปแตะต่ำกว่าศูนย์ได้ โลกนี้มันไม่มีอะไรดีๆ ให้เอาเงินไปลงทุนแล้วฤา?? หรือว่านักลงทุนเข้าสู่สภาวะซึมเศร้ากันหมด มองไม่เห็นโอกาสทำเงินอะไรใดๆ ในอีกสิบปีข้างหน้า? ยิ่งไปกว่านั้น ล่าสุดอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชนของบางบริษัท เช่น GE, McDonald’s, Nestle, Royal Dutch Shell และ Proctor&Gamble ก็เคยตกต่ำกว่าศูนย์หรือกำลังมีแนวโน้มว่าจะลงไปติดลบเช่นกัน บทความนี้จะพูดถึง 3 หัวข้อหลักๆ 1. อธิบายแบบง่ายๆ ว่าอัตราตอบแทนของตราสารหนี้ติดลบนั้นจริงๆ แล้วแปลว่าอะไร 2. อะไรทำให้เกิดภาวะนี้และทำไมนักลงทุนถึงตัดสินใจซื้อ 3. ภาวะแบบนี้บ่งบอกถึงอะไร
สวิตเซอร์แลนด์: ประเทศรักสงบในสงครามค่าเงิน
เมื่อประเทศที่รักสงบมากที่สุดประเทศหนึ่งอย่างสวิตเซอร์แลนด์ได้ยกเลิกการผูกค่าเงินฟรังก์สวิสกับยูโรและยอมให้เซ็กเตอร์ส่งออกของตัวเองรับกรรมจากค่าเงินที่แข็งขึ้นเกิน 20% ภายในวันเดียวมันส่อให้เห็นถึงความน่าวิตกของตลาดการเงินโลก บทความนี้จะอธิบายความเคลื่อนไหวครั้งนี้แบบอ่านง่ายๆ ว่า 1. ทบทวนว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง 2. ทำไมธนาคารกลางจึงตัดสินใจเช่นนั้น 3. แล้วทั้งหมดนี้แปลว่าอะไร เชิญอ่านครับ
Previous page Next page
Recent Comments