menu Menu
8 articles filed in
วิจัย
Previous page Next page

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ: ดีไม่ดีดูอย่างไร

หลังจากที่ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กับตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกมาเรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ขึ้นจาก 300 บาทไปเป็น 600-700 บาทต่อวันนั้นก็ได้เกิดกระแสตอบโต้มากมายทั้งจากรัฐบาลและจากฝั่งเอกชน ในวงการเศรษฐศาสตร์เองการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันอย่างเผ็ดมันมาเป็นเวลานานหลายสิบปีไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อัตราว่างงานต่ำ ช่วงหาเสียง และช่วงที่สังคมเริ่มไม่ทนกับระดับความเหลื่อมล้ำทางรายได้ บทความนี้จะสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ ผลกระทบที่ “สามารถเกิดขึ้นได้” ในเชิงทฤษฎี และหลักฐานจากการวิจัยจริงแบบสั้นๆ มาให้ท่านผู้อ่านได้เก็บไปคิดกันเผื่อวันหนึ่งจะมีการขึ้นค่าแรงอีกครั้งครับ

Continue reading


รู้จักกับนโยบายแจกเงิน: Universal Basic Income

ทุกวันนี้คงมีไม่กี่เรื่องที่สามารถดึงความสนใจของคนระดับโลกจากหลากสาขา ตั้งแต่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์  นักคิดเสรีนิยม ฟรีดรีช ฮาเย็ก  นักเศรษฐศาสตร์รุ่นขลัง มิลตัน ฟรีดแมน กับ พอล แซมมวลสัน อดีตประธานาธิปดีสหรัฐฯ ริชาร์ด นิกสัน ไปจนถึง ไอรอนแมนตัวเป็นๆ อย่าง อีลอน มัสก์ เรื่องนั้นก็คือนโยบายการันตีรายได้พื้นฐานให้กับประชาชน โดยทุกวันนี้เวอร์ชันที่ได้รับความฮือฮามากที่สุดก็คือนโยบายที่เรียกว่า Universal Basic Income (UBI) นั่นเอง แม้ว่าหลายคนจะมองว่าความคิดนี้ดูไม่เข้าท่าและไม่น่าจะเป็นไปได้ในโลกจริง แต่ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่อาจทำให้ฝันกลางวันเรื่องนี้กลายเป็นความจริงเร็วขึ้นได้  ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดคือเมื่อต้นปีนี้รัฐบาลฟินแลนด์ได้เริ่มทำการทดลองสุ่มให้เงิน 560 ยูโรต่อเดือนกับกลุ่มผู้รับค่าตอบแทนการว่างงาน 2,000 คน เพื่อดูว่าจะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากบ่วงกรรมการหางานไม่ได้สักทีหรือไม่ บทความนี้จะอธิบายแบบสั้นๆ (เท่าที่จะทำได้)ว่า 1) นโยบายแจกเงินแบบ UBI คืออะไร 2) ทำไมถึงกำลังเป็นที่ฮือฮามาก 3) ผลกระทบที่เป็นไปได้มีอะไรบ้างครับ

Continue reading


วิจัยข้ามศตวรรษ: "คันไถ" กับบทบาทของผู้หญิงในสังคมสมัยใหม่

ในหลายประเทศ เพศหญิงยังคงเป็นเพศที่ถูกเอาเปรียบและกดดันทั้งในด้านการศึกษา ความปลอดภัย โอกาสทางหน้าที่การงาน และการมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง  รายงานจาก UN พบว่าผู้หญิงและเด็กหญิงในประเทศอียิปต์กว่า 99.3% เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ   ในแบบสอบถามของ World Values Survey (หากสนใจอ่านเรื่องของประเทศไทยคลิกที่นี่) ชาวอียีปต์กว่า 99.6%เห็นด้วยว่าเพศชายควรได้สิทธิในการได้ทำงานมากกว่าเพศหญิงเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ ในขณะที่คนจากประเทศไอซ์แลนด์เพียงแค่ 3.6% เท่านั้นที่เห็นด้วยกับความคิดแบบนี้ อะไรคือต้นตอของความแตกต่างของบทบาทและจุดยืนทางสังคมของเพศหญิงในแต่ละประเทศ ? งานวิจัยชิ้นโบแดงของ Alesina, Giuliano, และ Nunn (2013) ทดสอบสมมุติฐานพิลึกที่ว่าความแตกต่างของบทบาทของทั้งสองเพศในแต่ละสังคมในสมัยใหม่นั้นมีต้นตอมาจากวิธีที่บรรพบุรุษสมัยก่อนทำการเกษตรและสามารถสรุปได้ว่าสมมุติฐานนี้เป็นเรื่องจริง

Continue reading


อะไร work ไม่ work ในการศึกษา (ตอนที่ 2)

ลงทุนกับครู น่าจะเวิร์ค

Continue reading


“พิธีฮัจญ์” ทำให้ทัศนคติต่อเพื่อนร่วมโลกดีขึ้น

หลักฐานชิ้นสำคัญต่อความเข้าใจศาสนาอิสลาม

Continue reading


ไขปริศนารายการทีวี “คุณแม่วัยรุ่น” (Teen Mom)

ข้อดีของรายการทีวีอื้อฉาว

Continue reading


อะไร work ไม่ work ในการศึกษา (ตอนที่ 1)

ความยาวในการอ่าน: ~ 5 นาที บทสรุป: 1.แม้ค่าเล่าเรียนจะฟรีแต่ยังมีค่าใช้จ่ายลับที่สามารถลดลงได้อีก 2.การแจกของจะเวิร์คก็ต่อเมื่อพฤติกรรมในห้องเรียนเปลี่ยน  3.ให้ข้อมูลการเลี้ยงลูกกับพ่อแม่มีผลเกินคาด 4. แจกคอมพ์อาจสิ้นเปลืองเปล่า ๆ จะแจก iPad หรือแจกแว่นตา? จะให้คอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนหรือที่บ้าน? จะให้รางวัลครูตามความสามารถหรือให้รางวัลตามการไม่โดดสอน? คำถามเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์เวลาจะให้คำแนะนำที่ดีที่สุดกับรัฐบาลและผู้ประกอบการในโรงเรียนในประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศเหล่านี้มีทรัพยากรและทรัพย์สินในจำนวนจำกัดอีกทั้งยังมีช่องทางอื่น ๆ อีกมากมาย (นอกจากการศึกษา) ที่รัฐบาลสามารถกระจายเงินไปลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศและสังคมได้  ทางเดียวที่เราจะรู้ว่านโยบายเวิร์คไม่เวิร์คคือการทำวิจัยแบบ Impact Evaluation อย่างจริงจังเพื่อหาหลักฐานที่แท้จริงว่าโครงการหรือนโยบายเหล่านี้มีประโยชน์จริงแท้แค่ไหน

Continue reading


ข้อคิดที่ได้จากการทำวิจัยที่ Harvard 1 ปี

ในปีที่ผ่านมานี้ ผมดีใจที่ได้รับโอกาสไปทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยให้กับนักเศรษฐศาสตร์สองท่านที่ Harvard Kennedy School of Government และได้เห็นการใช้เศรษฐศาสต์แก้ปัญหาสังคมด้วยวิธีใหม่ ๆ  ทั้งสองท่านนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญในคนละแขนง ท่านนึงเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา ส่วนอีกท่านเชี่ยวชาญด้านนโยบายพลังงาน สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนผมมีหน้าที่ช่วยเขียนโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติและเขียนบทความ  หนึ่งปีนี้สั้นนิดเดียวแต่ได้เห็นและเรียนรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับวงการ policymaking และวงการเศรษฐศาสตร์แขนงใหม่ ผมสรุปบทเรียนย่อ ๆ มาแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านครับ

Continue reading



Previous page Next page

keyboard_arrow_up