menu Menu
3 articles filed in
มลภาวะ
Previous page Next page

เส้นผมบังภูเขา: สินค้าเคราะห์ร้ายชื่อ "สิ่งแวดล้อม"

งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ที่พบว่ามลภาวะอากาศในประเทศจีนทำให้คนเสียชีวิตวันละถึง 4 พันคน… ท่านผู้อ่านเคยสังสัยหรือไม่ว่าทำไมประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนานั้นถึงได้มีมลภาวะที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในระดับสูงเหลือเกิน  ยกตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2553 นั้นปริมาณเฉลี่ยของฝุ่นละอองที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM-2.5) ที่มาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศปากีสถานนั้นอยู่ที่ 101 ug/m3 หรือ 101 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ยในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาถึงเกือบเก้าเท่า ซึ่งระดับปริมาณ PM-2.5 เฉลี่ยต่อปีที่แค่สูงกว่า 35 ug/m3 นั้นก็ถือว่าอยู่ในขั้นที่น่าวิตกและเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับสุขภาพและชีวิตของพลเมืองแล้ว เนื่องจากงานวิจัยทางระบาดวิทยาจำนวนมากพบว่านอกจาก PM-2.5 จะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจแล้วยังเป็นตัวแปรสำคัญที่สามารถทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากความผิดปกติในระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ด้วย (cardiovascular disease)  จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมอัตราตายจากโรคที่ก่อให้เกิดขึ้นโดยมลภาวะอากาศในประเทศที่มีรายได้ต่ำและประเทศที่มีรายได้ปานกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบทะเลแปซิฟิคตะวันตกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงได้สูงกว่าในประเทศที่มีรายได้สูงอย่างผิดปกติ ในปี พ.ศ. 2553 ประเทศกลุ่มนี้แบกรับภาระโรคภัยและการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์จากมลภาวะอากาศกว่า 88% ของภาระโรคทั่วโลกที่โดยรวมแล้วมีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากมลภาวะอากาศถึงปีละ 3.7 ล้านคน แต่ที่น่าสงสัยกว่านั้นคือทำไมดูเหมือนว่าบางประเทศเหล่านี้จะไม่มีท่าทีที่จะปรับหางเสืออย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่ทราบกันอยู่ว่าประเทศกำลังพัฒนามีปัญหาด้านมลภาวะและมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจำนวนมากซึ่งในที่สุดก็จะเข้ามาเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ  และที่น่าสงสัยไปกว่านั้นก็คือ งานวิจัยบางชิ้นพบว่าประชากรในประเทศเหล่านี้เองก็ไม่ได้มีความยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อแลกกับคุณภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นอีกด้วย…

Continue reading


ท่องเที่ยวไทย : มองปายผ่านเลนส์เศรษฐศาสตร์

ในช่วงเดือนกรกฎา​คมที่ผ่านมานี้ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวพักผ่อนที่จังหวัดเชียงใหม่​และอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอนหลังจากที่ไม่ได้ไปเที่ยว​ไหนเลยเกือบหนึ่งปีเต็มเพราะทุ่มกับการอ่านหนังสือ​สอบ​ ​qualifying exam อย่างหนัก​ (ผ่านนะครับ) นับว่าเป็นทริป​ที่ผมรู้สึก​ขัดข้อง​ในใจอย่างบอกไม่ถูก ในขณะที่​ผมดีใจที่ประเทศไทยยัง​มีขุมทรัพย์​ท่องเที่ยว​อันล้ำค่าสวยงามไม่แพ้แหล่ง​ท่องเที่ยว​ธรรมชาติ​ระดับโลก​ แต่ในขณะเดียวกัน​”พฤติกรรม​มนุษย์” ​ที่ผมสังเกต​เห็นในทริปนี้ทำให้ผมกังวล​และเป็นห่วงอนาคต​ของการท่องเที่ยว​ไทย

Continue reading


ภัยสุขภาพจากรถคันแรก (และคันที่ 7 ล้าน)

ปัญหาร้ายแรงของกรุงเทพฯ

Continue reading



Previous page Next page

keyboard_arrow_up