ของแถมจากการศึกษา: สุขภาพ อาชญากรรม และความเป็นพลเมือง
ปกติแล้วเวลาเราลงทุนในการศึกษา เรามักหวังผลตอบแทนในด้านหน้าที่การงานและรายได้ในอนาคต หากแต่ว่าบางที “ของแถม” หรือ spillover effects จากการลงทุนในศึกษาต่อสังคมรอบๆ ตัวเรานั้นอาจมีค่ารวมกันแล้วมากกว่าผลตอบแทนส่วนตัวที่แต่ละคนได้รับจากระดับการศึกษาของตนอีกก็เป็นได้ คงไม่มีใครเถียงว่าหากมองแบบกว้างๆ แล้วโดยเฉลี่ยแล้วคนที่มีการศึกษามากกว่าจะหารายได้ได้สูงกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา จากงานวิจัยจำนวนนับไม่ถ้วนในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์เห็นตรงกันว่าการเพิ่มจำนวนปีของการสำเร็จการศึกษามากขึ้น 1 ปี จะทำให้เกิดรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นประมาณ 8 ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ พูดง่ายๆ คือประโยชน์ทางตรงต่อบุคคลที่ยอมสละเวลาอันแสนสนุกและเงินทองของพ่อแม่ไปเข้าเรียนหลายปีนั้นชัดเจน แต่ที่เรายังไม่ทราบแน่ชัดคือสิ่งอื่นๆ ที่การศึกษาของบุคคลเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบได้ เพราะว่าการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในช่วงเวลาหลายสิบปีนั้นมันอาจทำให้คุณเป็นพลเมืองที่แตกต่าง มีความคิดและพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนอื่นที่ไม่ได้เข้าเรียนในหลายมิติ ไม่ใช่แค่ว่ามีทักษะทางการทำงานดีขึ้นอย่างเดียว การศึกษายังอาจทำให้คุณดูแลสุขภาพคุณได้ดีขึ้น เลี้ยงบุตรหลานได้ดีขึ้น มีโอกาสก่ออาชญากรรมน้อยลง เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น ฯลฯ ที่เรื่องนี้สำคัญนั้นเป็นเพราะว่าหากผลกระทบ “นอกตลาดแรงงาน” เป็นผลกระทบทางบวกและมีผลกระทบรุนแรง บางทีสังคมอาจจะต้องเพิ่มการอุดหนุนและสนับสนุนการศึกษาให้มากขึ้นกว่าที่เคยคิดไว้ บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบนอกตลาดที่น่าสนใจในมิติของ สุขภาพ อาชญากรรม และความเป็นพลเมือง ***ปล. การศึกษาในบทความนี้จะขอพูดถึงการศึกษาในมุมมองที่กว้างที่สุด คือเป็นแค่การปูพื้นฐานทำให้คนเราอ่านออกเขียนได้ มีทักษะในการเป็นมนุษย์ในยุคสมัยใหม่ มี cognitive skills ระดับหนึ่ง ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นหลักสูตรไหน วิชาอะไร
"ประชาธิปไตย" : เส้นทางซับซ้อนสู่สังคมในฝัน
[ความยาว: 7 นาที] ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าหลายประเทศได้ร่วมเข้าแคมป์ประชาธิปไตยกันมากขึ้น แต่ทำไมเราถึงรู้สึกว่าระบอบนี้ในหลาย ๆ ที่ถึงทำงานได้ไม่ดีเลิศเท่ากับที่นักปรัชญาและนักคิดทั้งหลายเขาพยายามผลักดันและพร่ำสอนกันมา ? ทำไมเวลามองย้อนกลับไปแล้วเจอแต่ความไม่สงบ ความไม่ต่อเนื่อง และความไม่เท่าเทียมกันในหลาย ๆ สังคมประชาธิปไตยไม่ว่าจะเป็นในประเทศน้องใหม่ในแคมป์หรือ “รุ่นเดอะ” จากฝั่งตะวันตกก็ตาม เวลาผ่านไปตั้งนานหลังจากที่คนเราคิดค้นคำว่า “ประชาธิปไตย” ขึ้น แต่ทำไมดูเหมือนว่าพวกเรากำลังก้าวไปสู่สังคมตัวอย่างของระบอบนี้ได้ช้าราวกับหอยทาก ? ต้องอีกกี่ร้อยปีเชียวหรือเราถึงจะไปถึงฝั่ง ? ในบทความอันทรงพลังของ CLR James ที่ตีพิมพ์ด้วยหัวข้อ “Every Cook Can Govern: A Study of Democracy in Ancient Greece Its Meaning for Today” CLR James เตือนใจเหล่านักประชาธิปไตยและนักคิดสมัยใหม่ให้อย่าลืม “ยุคทอง” ของระบอบประชาธิปไตยที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยยุคกรีกโบราณ
ยิ่งอ่าน ยิ่งงง
[หนังสือ] มองอย่างเซียนสไตล์ ลี กวนยู
ลี กวนยู ไม่เคยพูดผิด – Margaret Thatcher
Previous page Next page
Recent Comments