menu Menu
2 articles filed in
น้ำมัน
Previous page Next page

ทำไมต้องตื่นตัวเรื่องพลังงาน (ตอนที่ 2): Energy Mix กับอนาคตพลังงานไทย

ปัจจัยสำคัญที่เป็นเสี้ยนหนามของการพัฒนานโยบายพลังงานในหลายประเทศ คือความไม่เข้าใจข้อมูลและความลึกลับซับซ้อนของกลไกในตลาดพลังงาน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราควร “ช่างมัน” เพราะว่านโยบายพลังงานกระทบทุกคนในสังคม ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่รุ่นเราก็รุ่นลูกหลานเรา ผมหวังว่าบทความซีรี่ส์ “ทำไมต้องตื่นตัวเรื่องพลังงาน” ที่จะเสนอข้อคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พลังงานแบบสั้นๆ จะทำให้หลายคนหันมาสนใจและเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานอย่างมีทิศทางและมีข้อมูลกันมากขึ้นครับ ในตอนที่ 1 เราสำรวจจุดยืนของพลังงานไทยและผลดีผลเสียของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ไปแล้ว สำหรับตอนที่ 2 นี้เราจะไปดูกันว่า “Energy Mix” (สัดส่วนการใช้พลังงาน) ของประเทศไทยเป็นอย่างไร และเมื่อเทียบกับแนวโน้มความต้องการทางพลังงานแล้วอนาคตของพลังงานไทยควรจะมีหน้าตาแบบไหนกันครับ

Continue reading


ทำไมต้องตื่นตัวเรื่องพลังงาน (ตอนที่ 1): จุดยืนพลังงานไทยกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

พลังงานเป็นได้ทั้งตัวช่วยและตัวถ่วงในการพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพ ปลอดภัย หาซื้อได้ทั่วถึง และราคาเหมาะสมทำให้เราสามารถผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีผลิตภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปลดปล่อยให้เราเอาเวลาอันมีค่าไปทำกิจกรรมอื่นๆ  ไม่ต่างกับตอนที่มนุษย์เริ่มใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สในการปรุงอาหารแทนที่จะต้องไปหาไม้มาก่อฟืนให้เสียเวลาเหมือนสมัยก่อน แต่การบริหารพลังงานประเทศบางทีก็เป็นการปิดกั้นความเจริญของประเทศได้โดยไม่รู้ตัวเช่นกัน  ยกตัวอย่าง เช่น การอุดหนุนกดราคาเชื้อเพลิงให้ต่ำกว่าราคาตลาดเพื่อให้เป็นที่พอใจของประชาชน แม้จะฟังดูดีแต่ท้ายสุดจะนำมาซึ่งหายนะทั้งในด้านการคลัง การรณรงค์ให้ประหยัดพลังงาน และการกระจายรายได้เพราะว่าคนที่ยากจนจริง ๆ ไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างที่คิด  อีกตัวอย่างล่าสุดก็คือการที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศล้มเลิกความตั้งใจที่จะพัฒนาและวิจัยหาพลังงานทดแทนที่สะอาดกว่ามาใช้ ทั้งๆ ที่มลภาวะอากาศจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuels) นั้นมีส่วนในการคร่าชีวิตคนก่อนเวลาอันควรไม่ต่ำกว่า 2 แสนคนต่อปีในประเทศเขาเอง ปัจจัยสำคัญที่เป็นเสี้ยนหนามของการพัฒนานโยบายพลังงานคือความไม่เข้าใจข้อมูลและความลึกลับซับซ้อนของกลไกในตลาดพลังงาน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราควร “ช่างมัน” เพราะว่านโยบายพลังงานกระทบทุกคนในสังคม ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่รุ่นเราก็รุ่นลูกหลานเรา ผมหวังว่าบทความซีรี่ส์ “ทำไมต้องตื่นตัวเรื่องพลังงาน” ที่จะเสนอข้อคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พลังงานแบบสั้นๆ จะทำให้หลายคนหันมาสนใจและเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายพลังงานอย่างมีทิศทางและมีข้อมูลกันมากขึ้นครับ สำหรับตอนที่ 1 เราไปดูกันว่าพลังงานไทยอยู่ตรงไหนและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) มีส่วนสำคัญอย่างไรและควรคืนปตท.ให้รัฐเหมือนแต่ก่อนดีอย่างที่มีการเรียกร้องกันหรือไม่

Continue reading



Previous page Next page

keyboard_arrow_up