สำรวจ Weekend Effect ในตลาดหุ้นไทยด้วยข้อมูลรายวัน
***ก่อนอ่านบทความนี้ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านลองทายดูว่าในช่วง 42 ปีที่ผ่านมา จะมีกี่ปีที่ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนต่อวันของดัชนี SET ในวันศุกร์ (ราคาปิดวันศุกร์ลบราคาปิดวันพฤหัสบดี) สูงกว่าในวันจันทร์ (ราคาปิดวันจันทร์ลบราคาปิดวันศุกร์จากอาทิตย์ก่อน)*** ใครที่เคยเรียนวิชาการเงินหรือเศรษฐศาสตร์การเงินคงจะจำกันได้ว่าตำราแทบจะทุกเล่มจะต้องกล่าวถึงความผิดปกติของตลาด (Market Anomalies) ที่เคยมีคนพบเห็นมากมายในอดีต เช่น Weekend Effect (หรือ Monday/Friday/Day-of-Week Effect) ที่ผลตอบแทนรายวัน (Daily Return) ของหุ้นในวันศุกร์มักจะสูงกว่าในวันจันทร์ หรือ January Effect ที่ผลตอบแทนในเดือนมกราคมมักจะสูงกว่าเดือนอื่น ซึ่งในสายตาของนักวิชาการปรากฏการณ์เหล่านี้ถือเป็น “ความผิดปกติของตลาด” เนื่องจากหากตลาดมีประสิทธิภาพจริง จะต้องมีนักลงทุนที่สามารถใช้โอกาสนี้เพื่อทำกำไรมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่หลงเหลือปรากฏการณ์เหล่านี้อยู่อีกต่อไป ในระยะเวลาหลายสิบปีตั้งแต่ปรากฏการณ์เหล่านี้ถูกค้นพบขึ้น ทุกวันนี้นักวิชาการก็ยังคงเถียงกันอยู่ว่ามันยังมีอยู่จริงพอที่จะเป็นโอกาสให้ทำกำไรได้ไหม? หรือมันค่อยๆ แห้งเหือดไปตามเวลา? หรือเป็นแค่การตั้งใจขุดข้อมูล (data mining) โดยนักวิชาการที่ไร้จรรยาบรรณหรือเปล่า? บทความนี้ใช้ข้อมูลดัชนี SET รายวันตั้งแต่ปลายปี 1975 ถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (รวมแล้วประมาณ 1 หมื่นวัน) เพื่อลองสำรวจดูแบบคร่าวๆ ว่าตลาดหุ้นไทยมีควันหลงของ Weekend Effect อยู่หรือไม่ (spoiler alert: […]
ขจัดคอร์รัปชันต้องเริ่มด้วยข้อมูล: กรณีใบสั่งรถทูต
ท่านผู้อ่านเคยสงสัยไหมครับว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อทูตจากหลากหลายสังคมมารวมกันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ diplomatic immunity ทำให้กฎหมายจอดรถในนครนิวยอร์กทำอะไรพวกเขาไม่ได้ ทุกวันนี้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนบนโลกก็จะได้ข่าวอื้อฉาวต่างๆ นานาเกี่ยวกับคอร์รัปชันแทบทุกวัน แต่ที่น่าสงใสคือทำไมสิ่งที่คนทั้งโลกเรียกกันว่า “คอร์รัปชัน” นี้ ถึงได้มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันเหลือเกินในแต่ละสังคม ความแตกต่างนี้มองปราดเดียวก็ทราบได้จากดัชนี corruption perception ที่มาจากองค์การ Transparency International ด้านบน (ยิ่งแดงเข้มยิ่งแย่) แต่ที่มองผ่านๆ แล้วยังไม่เข้าใจ ฟันธงไม่ได้ คืออะไรกันแน่ที่ทำให้เกิดความแตกต่างนี้ และที่จริงแล้วอะไรก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “คอร์รัปชัน” ตั้งแต่แรก ข้อมูลชุดข้างบนถึงแม้ว่าจะมีคุณค่าพอสมควรแต่ก็มีจุดอ่อนมากมายและไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ ความแตกต่างที่เห็นอาจเป็นเพราะว่าแต่ละสังคมมีการลาก “เส้นแบ่งล่องหน” ที่สะท้อนถึงบรรทัดฐานทางสังคม (social norms) ของตนว่าการกระทำแบบไหนถือว่า “ใสสะอาด” และการกระทำแบบไหนถือว่าเป็น “คอร์รัปชัน” เส้นแบ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่สัมผัสได้เส้นนี้มักถูกขีดไว้คนละตำแหน่งบนสเกลความคดโกงในแต่ละสังคม จึงเป็นไปได้ที่การกระทำประเภทที่บางสังคมเห็นว่าเป็นคอร์รัปชันอย่างแน่นอนกลับไม่ถือว่าเป็นคอร์รัปชันในสังคมอื่นๆ ที่เขาเห็นว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาหรือกระทั่งเห็นว่าเป็นเพียงสิ่งที่ “rule of the game” กำหนดเอาไว้แล้วในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเหล่านั้น แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง ความแตกต่างนี้ก็อาจมีผลมาจากความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมาย (enforcement) ที่อยู่ในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละสังคม บางแห่งมีทั้งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและมีทั้งการบังคับใช้อย่างจริงจัง บางแห่งมีความเข้มข้นบนกระดาษแต่ไม่มีบนท้องถนน บางแห่งไม่มีทั้งคู่ ทุกวันนี้คงไม่มีใครเถียงว่าคอร์รัปชันเป็นโรคร้ายของสังคมแต่การที่คอร์รัปชันเป็นวัชพืชที่ฆ่าไม่ตายเสียทีอาจเป็นเพราะเรายังไม่เข้าใจคอร์รัปชันอย่างแท้จริงว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร จากแค่ตัวอย่างข้างต้นที่แบ่งต้นตอของคอร์รัปชันออกเป็นสองส่วน หากเราแยกไม่ออกว่าบรรทัดฐานทางสังคมหรือการบังคับใช้กฎหมายกันแน่ที่เป็นตัวการหลักในการผลักดันพฤติกรรมคอร์รัปชัน เราจะจู่โจมปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกจุดได้อย่างไร บทความนี้จะพาท่านผู้อ่านไปทัวร์ดูวิธีศึกษาปัญหาคอร์รัปชันนี้ด้วยพลังของการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า “Corruption, Norms, and […]
Open Data เพื่อสังคม: สายด่วนร้องทุกข์
ปัญหาสาธารณะจิปาถะ เช่น เพื่อนบ้านซ้อมกลองชุดตอนตีสอง ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ แก๊งอันธพาลมั่วสุมที่หัวมุม ไฟถนนดับ ป้ายหยุดสี่แยกถูกต้นไม้บัง หรือ กิ่งไม้งอกออกมาหักกลางสามแยกนั้นฟังเผินๆ เป็นปัญหาที่เล็กน้อย แต่นั่นอาจเป็นเพราะเราไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน กระทบประชากรกี่คน หรือมีผลกระทบที่ประเมินออกมาเป็นมูลค่าความเสียหายเท่าไร นั่นเป็นเพราะว่าเราไม่เคยมีข้อมูล ไม่มีการวัดใดๆ ทุกความคิดและความเชื่อล้วนมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของเราทั้งสิ้น แต่อีกไม่นานเมืองที่เก็บข้อมูลและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับระบบสายด่วนร้องทุกข์จะสามารถมองเห็นถึงความสำคัญ ความถี่และต้นตอของปัญหาสังคมเหล่านี้ได้ และเมืองเหล่านี้จะได้เปรียบเมืองอื่นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงสภาพแวดล้อมและการดูแลความเป็นอยู่ของประชากร มิหนำซ้ำยังอาจจะดึงดูดทุนมนุษย์คุณภาพให้มาอยู่อาศัยเป็นหนึ่งในกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากเมืองอื่นๆ ที่ไม่เคยเหลียวแลประชากร เพราะที่จริงแล้วปัญหาที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยเช่น มลภาวะทางเสียง บริเวณหนูชกชุม หรือรถจอดขวางหัวดับเพลิง จริงๆ รวมๆ กันแล้วอาจเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบสุขภาพของคนจำนวนไม่น้อย ปัญหาที่ดูเหมือนว่าไร้พิษภัยอย่างไฟถนนดับๆ หรี่ๆ นั้นก็อาจเป็นต้นตนของปัญหาสังคมอื่นๆ ที่ตามมา เช่นการก่ออาชญากรรมหรือการข่มขืนในเวลาค่ำมืดก็เป็นได้ เมื่อไม่กี่ปีมานี้หลายเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เริ่มทำการเปิดเผยข้อมูลสายด่วนร้องทุกข์ 311 อย่างละเอียดยิบเป็นรายกรณีย้อนหลังไปราว 5 ถึง 10 ปี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Open Data Initiative ปัจจุบันมีราวๆ 20 เมืองที่เปิดเผยข้อมูลบน Open Data Platform และยังมีอีกหลายเมืองที่กำลังอยู่ในระหว่างพัฒนาระบบ Open Data ของตนเอง ซึ่งกรณีร้องทุกข์เกี่ยวกับปัญหาสาธารณะในข้อมูล 311 […]
ข้อคิดที่ได้จากการทำวิจัยที่ Harvard 1 ปี
ในปีที่ผ่านมานี้ ผมดีใจที่ได้รับโอกาสไปทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยให้กับนักเศรษฐศาสตร์สองท่านที่ Harvard Kennedy School of Government และได้เห็นการใช้เศรษฐศาสต์แก้ปัญหาสังคมด้วยวิธีใหม่ ๆ ทั้งสองท่านนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญในคนละแขนง ท่านนึงเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา ส่วนอีกท่านเชี่ยวชาญด้านนโยบายพลังงาน สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนผมมีหน้าที่ช่วยเขียนโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติและเขียนบทความ หนึ่งปีนี้สั้นนิดเดียวแต่ได้เห็นและเรียนรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับวงการ policymaking และวงการเศรษฐศาสตร์แขนงใหม่ ผมสรุปบทเรียนย่อ ๆ มาแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านครับ
หรือนี่คืออนาคตของการเรียนรู้ ?
Previous page Next page
Recent Comments