menu Menu
4 articles filed in
การเมือง
Previous page Next page

จังหวะใหม่ของจีนกับการปรับหางเสือเศรษฐกิจ

ตั้งแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 เป็นต้นมา เราได้เห็นการ “ปรับหางเสือ” ของเศรษฐกิจจีนจากการพึ่งพาการลงทุนและการส่งออกไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบเสริมสร้างความสมดุลย์ (rebalancing) เพื่อเสถียรภาพและคุณภาพของการขยายตัวในระยะยาว ในสายตานักลงทุนทั่วโลกมันคือการชะลอตัวลงของฟันเฟืองชิ้นโตที่เคยขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอด แต่ในสายตาของผู้นำจีน เขามองว่าแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเดิม แม้จะนำมาซึ่งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วระดับปาฏิหาริย์ยาวถึง 3 ทศวรรษ  ได้เข้าสู่จุดอิ่มตัวและสร้างปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นเสี้ยนหนามในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ยั่งยืน  ในการปรับหางเสือครั้งนี้ จีนจึงตั้งใจที่จะปั้นโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่จะมีการพึ่งพาการผลิตเพื่อบริโภคภายใน  พัฒนาภาคบริการ และยกระดับผลิตภาพของแรงงานและเงินทุนในหลากเซ็กเตอร์ให้มากขึ้น บทความนี้จะขอสรุปอย่างสั้นๆ ว่า 1) ทำไมความสำเร็จของการปรับหางเสือของจีนจะมีความสำคัญมากขึ้น และ 2) จีนปรับหางเสือไปถึงไหนแล้ว ไฟสปอร์ตไลท์กำลังจะกลับมาที่จีน ผู้เขียนคิดว่าหลังจากที่ฝุ่นจากเหตุการณ์ Brexit และการเลือกตั้งสหรัฐฯ สงบลง ความคาดหวังในความสำเร็จ  ทิศทาง และความราบรื่นของการปรับหางเสือของจีนจะมีมากขึ้น ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ ประการแรก สหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ได้ส่งสัญญานอันไม่เป็นมิตรต่อจีนออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ตอนหาเสียงแล้ว การขึ้นภาษีนำเข้าและนโยบายกีดกันทางการค้าในรูปแบบอื่นๆ ต่อจีน จะเป็นการสร้างอุปสรรคอย่างไม่จำเป็นให้กับเศรษฐกิจจีนที่กำลังชะลอตัวลงในขณะที่จีนปรับหางเสือ  ซึ่งถึงแม้จีนเองจะสามารถโต้กลับได้ด้วยการโยกย้ายการบริโภคสินค้าบางชนิดจากสหรัฐฯ ได้ เช่น เครื่องบินหรือถั่วเหลือง จีนเองก็ไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ที่ everybody loses แบบนี้เช่นกัน ประการที่สอง  การแสดงทีท่าของสหรัฐฯ ว่าจะไม่ทำตัวเป็นตัวตั้งตัวตีเพื่อส่งเสริมความแน่นแฟ้นทางเศรษฐกิจแบบ multilateral บนเวทีโลกเท่าในอดีตอีกต่อไป […]

Continue reading


"ประชาธิปไตย" : เส้นทางซับซ้อนสู่สังคมในฝัน

[ความยาว: 7 นาที]   ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าหลายประเทศได้ร่วมเข้าแคมป์ประชาธิปไตยกันมากขึ้น แต่ทำไมเราถึงรู้สึกว่าระบอบนี้ในหลาย ๆ ที่ถึงทำงานได้ไม่ดีเลิศเท่ากับที่นักปรัชญาและนักคิดทั้งหลายเขาพยายามผลักดันและพร่ำสอนกันมา ? ทำไมเวลามองย้อนกลับไปแล้วเจอแต่ความไม่สงบ ความไม่ต่อเนื่อง และความไม่เท่าเทียมกันในหลาย ๆ สังคมประชาธิปไตยไม่ว่าจะเป็นในประเทศน้องใหม่ในแคมป์หรือ “รุ่นเดอะ” จากฝั่งตะวันตกก็ตาม  เวลาผ่านไปตั้งนานหลังจากที่คนเราคิดค้นคำว่า “ประชาธิปไตย” ขึ้น แต่ทำไมดูเหมือนว่าพวกเรากำลังก้าวไปสู่สังคมตัวอย่างของระบอบนี้ได้ช้าราวกับหอยทาก ? ต้องอีกกี่ร้อยปีเชียวหรือเราถึงจะไปถึงฝั่ง ? ในบทความอันทรงพลังของ CLR James ที่ตีพิมพ์ด้วยหัวข้อ “Every Cook Can Govern: A Study of Democracy in Ancient Greece Its Meaning for Today” CLR James เตือนใจเหล่านักประชาธิปไตยและนักคิดสมัยใหม่ให้อย่าลืม “ยุคทอง” ของระบอบประชาธิปไตยที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยยุคกรีกโบราณ

Continue reading


[หนังสือ] มองอย่างเซียนสไตล์ ลี กวนยู

ลี กวนยู ไม่เคยพูดผิด – Margaret Thatcher

Continue reading


ตื่นเถิดชาวไทย: 10 ผล WEF อันน่าวิตก (2006-2014)

10 จุดอ่อนที่เราต้องหยุดคิดให้ดี

Continue reading



Previous page Next page

keyboard_arrow_up