สองสิ่งที่ยังขาด...แต่จำเป็นต่อการปฏิรูปการศึกษา (ให้ไม่หลงทาง)
ทุกวันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื้อรังในระบบการศึกษาและปัญหามีจำนวนมากมายแทบจะทุกจุดของระบบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคะแนน PISA ต่ำจนน่ากังวล ปัญหาเด็กออกกลางคัน ปัญหาระบบประเมินครูที่ไม่มีความหมาย ปัญหาครูไม่พร้อมสอนภาษาอังกฤษ ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการศึกษาระหว่างประชากรในกลุ่มต่างๆ จะควบคุมธุรกิจกวดวิชาอย่างไร ฯลฯ แต่สิ่งที่น่าหงุดหงิดที่สุดคือในหลายปีที่ผ่านมาเราไม่ได้นิ่งเฉยและเราไม่ได้ไม่มีเงินที่จะเอามาใช้เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด (ราว 18% ของงบประมาณทั้งหมด) เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนต่อ GDP แล้วถือมากกว่าอีกหลายประเทศที่มีผลลัพธ์ทางการศึกษาดีกว่าเรา ในมุมมองของผู้เขียน สิ่งที่เป็นต้นตอของแทบทุกปัญหาการศึกษาไทยก็คือ “ปัญหาจ่ายมากได้น้อย” นั่นเอง เหตุผลที่เกิดปัญหา “จ่ายมากได้น้อย” อันเรื้อรังมาเป็นเวลานานหลายปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราทุกคนต่างวาดภาพ “การศึกษาในอุดมคติ” ไว้ในหัวกันทั้งนั้น ลองสังเกตดูสิครับ ทุกวันนี้ไม่ว่าใครจะอยู่ในสายอาชีพใด ไม่ว่าจะมีประสบการณ์ในระบบการศึกษาจริงหรือไม่ จะพบได้ว่าแทบทุกคนจะมีมุมมองหรืออุดมการณ์หนักแน่นในการแก้ไขปัญหาการศึกษาในรูปแบบของตัวเองที่คิดว่า “น่าจะดีที่สุด” กันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงที่ต้องยอมรับคือแทบจะไม่มีใครทราบเลยว่า หนึ่ง จะทำให้สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปถึง “การศึกษาในอุดมคติ”เหล่านั้นได้อย่างไร? และ สอง จะทราบได้อย่างไรว่า “การศึกษาในอุดมคติ” ของใครดีกว่ากัน หรือเหมาะสมกับบริบทของประเทศมากกว่ากัน? จึงไม่แปลกที่ในหลายสิบปีที่ผ่านมาเรามีการเปลี่ยนผู้นำการศึกษาไทยเฉลี่ยแล้วแทบจะทุกปี และเราได้เห็นการดำเนินนโยบายการศึกษาที่มาจากหลายแนวคิดมากภายในเวลาอันสั้น แต่สิ่งที่แทบไม่เปลี่ยนคือความผิดหวังในจิตใจประชาชนจำนวนมากที่ว่าความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการเมืองเหล่านี้ กับการอัดฉีดเม็ดเงินอันมหาศาลที่ผ่านมา ไม่เห็นได้นำมาซึ่งความก้าวหน้าในการพัฒนาอนาคตของชาติเลย บทความชิ้นนี้เสนอ 2 สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าจะช่วยให้เราปฏิรูปการศึกษาได้อย่างมีทิศทางมากขึ้นครับ
3 แนวคิดลงทุนกับลูกในยุคแข่งขันสูง
ผมเพิ่งเป็นคุณพ่อมือใหม่เมื่อไม่กี่วันมานี้ ในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมาก็ได้ศึกษาศาสตร์แห่งการพัฒนาเด็กมาไม่น้อย บวกกับตัวเองทำวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์อยู่แล้ว วันนี้ผมเลยจะมาเสนอ 3 แนวคิดของผมเกี่ยวกับการลงทุนกับลูกในยุคที่ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมันเร็วยิ่งกว่ากระพิบตาและค่าเล่าเรียนแพงขึ้นทุกปีจนทำให้พ่อแม่รุ่นใหม่ๆ ครุ่นเครียดกันถ้วนหน้า ทั้งนี้ผมไม่ได้ต้องการให้เรามองว่าลูกเป็นสินทรัพย์ที่จะสร้างผลตอบแทนให้กับพ่อแม่แต่อย่างใด เพียงแต่เห็นว่าพ่อแม่หลายคนอยากให้ลูกมีอนาคตที่ดี มีความสุข และเป็นคนที่สมบูรณ์เสียยิ่งกว่าตัวเอง สิ่งเหล่านี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ล้วนแต่ต้องแลกมาด้วยทรัพยากรของพ่อแม่ในระยะแรกทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น เวลา เงิน หรือ ความรู้และความใส่ใจของพ่อแม่ ไหนๆ จะ “ลงทุน” แล้วก็ควรลงทุนอย่างมีระบบนิดนึงจริงไหมครับ
ทำไม HR ก็ควร Data-Driven: เรื่องเล่าจากเซกเตอร์การศึกษาสหรัฐฯ
ทุกวันนี้ในสังคมดิจิทัล (ที่แท้จริง) จะเหลือ “การตัดสินใจสำคัญ” ที่ยังไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ อยู่ไม่กี่ประเภท ที่หลงเหลืออยู่ ส่วนมากจะเป็นการตัดสินใจที่มี 3 ลักษณะ เด่น คือ 1) สมัยก่อนไม่เคยมีข้อมูล ดีๆ (หรือไม่มีเลย) 2) มีผลกระทบที่คอขาดบาดตาย (high-stakes) 3) มีวัฒนธรรมในสังคมหรือองค์กรที่ชี้ว่าควรให้ “สมองคน” หรือ ” ดุลพินิจ ” ของผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นตัวชี้นำในการตัดสินใจ การสร้างทัศนคติ data-driven ระหว่างการตัดสินใจที่มีลักษณะเหล่านี้จึงเป็นไปได้อย่างเชื่องช้าและมักมีกระแสต่อต้านรุมล้อม เรียกได้ว่ามี “ความเฉื่อย” ชั้นดีในการคอยรั้งการเปลี่ยนทัศนคติ เรามีทางเลือกที่จะตัดสินใจแบบเดิมๆ ต่อไป แต่หลังจากที่มีข้อมูลดีขึ้น เราเริ่มเห็นแล้วว่าการตัดสินใจเหล่านี้โดยการพึ่งพา “คน” อย่างเดียวนั้นมีข้อจำกัดหรืออาจมีโทษด้วยซ้ำ เช่น ในการตัดสินใจฝากขังหรือปล่อยตัวจำเลยโดยผู้พิพาษาที่พบว่ามีการปล่อยตัวพลาดเป็นจำนวนมากอย่างน่าตกใจ เป็นต้น เพื่อให้เห็นภาพ ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นก็คือ การตัดสินใจจ้างงาน ขึ้น/ลดเงินเดือน หรือเชิญ ออก โดยจะเป็นตัวอย่างที่มาจากประสบการณ์ทำงานวิจัยของผู้เขียนในความร่วมมือกับ school district แห่งหนึ่งในสหรัฐฯ อเมริกาเพื่อหา insight […]
บทสัมภาษณ์กับ The Matter: Big Data กับ Automation
1.ตอนนี้มีการพูดถึงเรื่องการใช้ Big Data ในแง่มุมต่างๆ มากมาย จนกระทั่ง Big Data กลายเป็นคำที่หลายคนเรียกว่าเป็น Buzzword หรือคำหากินของยุคใหม่ไปแล้ว อยากให้คุณณภัทรช่วยอธิบายหน่อยครับว่า จริงๆ แล้ว Big Data ในแง่มุมที่เราควรเข้าใจจริงๆ เป็นอย่างไร ‘ประโยชน์’ ของมันจริงๆ คืออะไร นิยามของ Big Data คือ ภาวะข้อมูลที่มี 3V คือ volume velocity และ variety แปลเป็นไทยง่ายๆ ก็คือข้อมูลมีปริมาณมหาศาล เก็บได้ถี่ และมีความหลากหลายรูปแบบอย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนครับ ผมมองว่าสิ่งที่เราควรจะเข้าใจที่สุดนอกจากว่า Big Data คืออะไรหรือมีประโยชน์และโทษอย่างไร ก็คือต้องเข้าใจว่าคุณหนีมันไม่ได้ ยังไงมันก็จะมากระทบชีวิตพวกเรา ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่าคุณจะอยู่ในประเทศที่แม้แต่ “สมอลดาตา” ยังไม่มีหรือทั้งชีวิตนี้คุณไม่เคยใช้ (และจะไม่ใช้) เทคโนโลยีเลยก็ยังหนีไม่พ้น นั่นเป็นเพราะว่า Big […]
ของแถมจากการศึกษา: สุขภาพ อาชญากรรม และความเป็นพลเมือง
ปกติแล้วเวลาเราลงทุนในการศึกษา เรามักหวังผลตอบแทนในด้านหน้าที่การงานและรายได้ในอนาคต หากแต่ว่าบางที “ของแถม” หรือ spillover effects จากการลงทุนในศึกษาต่อสังคมรอบๆ ตัวเรานั้นอาจมีค่ารวมกันแล้วมากกว่าผลตอบแทนส่วนตัวที่แต่ละคนได้รับจากระดับการศึกษาของตนอีกก็เป็นได้ คงไม่มีใครเถียงว่าหากมองแบบกว้างๆ แล้วโดยเฉลี่ยแล้วคนที่มีการศึกษามากกว่าจะหารายได้ได้สูงกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา จากงานวิจัยจำนวนนับไม่ถ้วนในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์เห็นตรงกันว่าการเพิ่มจำนวนปีของการสำเร็จการศึกษามากขึ้น 1 ปี จะทำให้เกิดรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นประมาณ 8 ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ พูดง่ายๆ คือประโยชน์ทางตรงต่อบุคคลที่ยอมสละเวลาอันแสนสนุกและเงินทองของพ่อแม่ไปเข้าเรียนหลายปีนั้นชัดเจน แต่ที่เรายังไม่ทราบแน่ชัดคือสิ่งอื่นๆ ที่การศึกษาของบุคคลเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบได้ เพราะว่าการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในช่วงเวลาหลายสิบปีนั้นมันอาจทำให้คุณเป็นพลเมืองที่แตกต่าง มีความคิดและพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนอื่นที่ไม่ได้เข้าเรียนในหลายมิติ ไม่ใช่แค่ว่ามีทักษะทางการทำงานดีขึ้นอย่างเดียว การศึกษายังอาจทำให้คุณดูแลสุขภาพคุณได้ดีขึ้น เลี้ยงบุตรหลานได้ดีขึ้น มีโอกาสก่ออาชญากรรมน้อยลง เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น ฯลฯ ที่เรื่องนี้สำคัญนั้นเป็นเพราะว่าหากผลกระทบ “นอกตลาดแรงงาน” เป็นผลกระทบทางบวกและมีผลกระทบรุนแรง บางทีสังคมอาจจะต้องเพิ่มการอุดหนุนและสนับสนุนการศึกษาให้มากขึ้นกว่าที่เคยคิดไว้ บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบนอกตลาดที่น่าสนใจในมิติของ สุขภาพ อาชญากรรม และความเป็นพลเมือง ***ปล. การศึกษาในบทความนี้จะขอพูดถึงการศึกษาในมุมมองที่กว้างที่สุด คือเป็นแค่การปูพื้นฐานทำให้คนเราอ่านออกเขียนได้ มีทักษะในการเป็นมนุษย์ในยุคสมัยใหม่ มี cognitive skills ระดับหนึ่ง ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นหลักสูตรไหน วิชาอะไร
การศึกษาไทยกับวัฒนธรรมไทยชื่อ “กวดวิชา”
“ได้ครับๆ เดี๋ยวพี่บุ๊ควันเสาร์นี้ไว้นะ แปดโมงเช้าถึงสี่โมงเย็นใช่มั๊ย โอเค…อ่อเอาวันอาทิตย์ช่วงบ่ายเพิ่มด้วยเหรอ พอดีพี่ติดสอนอีกที่นึง เดี๋ยวพี่ให้เพื่อนพี่ไปแทนนะ คนนี้เก่งเหมือนกัน จบวิศวะ…สรุปเสาร์นี้หกชั่วโมง อาทิตย์สี่ชั่วโมงนะครับ ที่เดิมนะครับ สวัสดีครับ” แม้ว่าเวลาจะผ่านไปสิบเอ็ดปีแล้วหลังจากครั้งสุดท้ายที่ผม “เรียนพิเศษ” แต่พอไปได้ยินการสนทนาทางโทรศัพท์ของครูสอนพิเศษที่นั่งอยู่โต๊ะข้างๆ ในร้านกาแฟก็อดคิดไม่ได้ว่าจริงๆ ว่าไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากนัก การกวดวิชาได้กลายเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งและยังเป็นส่วนสำคัญในชีวิตนักเรียนไทย ซึ่งดูจากสถิติจำนวนผู้เรียนคร่าวๆ ที่ยังไม่รวมการติวตัวต่อตัว บวกกับค่าเล่าเรียนที่ไม่ถูกแล้ว การกวดวิชาอาจเป็นส่วนสำคัญที่สุดสำหรับนักเรียนและผู้ปกครองหลายท่านในสังคมไทยสมัยใหม่ก็เป็นได้
สิ่งที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับรายการ "Sesame Street"
ใครที่สมัยเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่เคยให้ดูรายการทีวีภาษาอังกฤษที่ประเทืองปัญญาจะต้องจำรายการ Sesame Street ได้ไม่ลืมเลือน คุณคงจำนกยักษ์สีเหลืองที่ชื่อ Big Bird พร้อมกับเพื่อนๆ สัตว์ประหลาดสีน้ำเงินสดใสที่ชอบกินคุ้กกี้ชื่อ Cookie Monster และ Elmo ในร่างสีแดงสดได้เป็นอย่างดี แต่คุณคงไม่ทราบถึงที่มาว่าทำไมตัวอักษรภาษาอังกฤษถึงต้องสั่นหรือเคลื่อนไหวบนจอ ทำไมถึงมีการสอนคอนเซ็ปต์คณิตศาสตร์สำคัญ เช่น “one-to-one correspondence” ให้กับผู้ชมอายุแค่ 3 ขวบ ทำไมต้องมีเพลงที่ร้องซ้ำๆ อยู่เรื่อยไป และ ทำไมรายการนี้ถึงคอยแฝงคอนเซ็ปต์ผู้ใหญ่ๆ เช่น ความตาย การไม่เหยียดผิว การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การใช้ชีวิตเมื่อเด็กติดเชื้อ HIV และ การยอมรับเมื่อบิดาหรือมารดาถูกจำคุก ให้กับเด็กที่ยังอ่านหนังสือไม่ออกด้วยซ้ำ ตั้งแต่วันแรกที่รายการทีวี Sesame Street ออกฉายในปี 1969 นั้นได้มีงานวิจัยกว่า 1000 ชิ้นออกมาชี้ให้เห็นถึงผลกระทบทางบวกต่อความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนและการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในกลุ่มเด็กๆ ที่ดูรายการนี้ บทความนี้จะเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของการถ่ายทำที่น่าประทับใจของ Sesame Workshop ที่ทำการโพรดิวซ์รายการนี้และคัดผลวิจัยคุณภาพมาเพื่อชี้ให้ผู้อ่านได้เห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องบังเอินที่การผลิตรายการทีวีสำหรับเด็กจะทำให้เกิดผลลัพธ์ดีๆ เหล่านี้ได้ แต่กลับต้องใช้แรงกาย แรงใจ ความคิดสร้างสรรค์ ทีมนักวิจัย และความใส่ใจกับอนาคตเด็กอย่างมหาศาลเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเหล่านี้
"4 ปัญหาร่วม" ในการพัฒนาการศึกษากับสาธารณสุข
การศึกษากับสาธารณสุขนั้นเป็นสองเซ็กเตอร์ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของการบริหารประเทศ การพัฒนาการเรียนรู้ ทักษะและสุขภาพของประชาชนนั้นนอกจากจะเป็นการทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแล้วยังสามารถส่งผลดีทางอ้อมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอีกด้วย แน่นอนว่าหลายประเทศก็เห็นถึงโอกาสในการลงทุนในสองเซ็กเตอร์นี้เพื่อผลตอบแทนในอนาคต ตลาดการศึกษาและสุขภาพในหลายประเทศจึงมีขนาดใหญ่โตมโหฬาร ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐฯอเมริกานั้นมีค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพและสาธารณสุขสูงถึง 17.7% ของ GDP ในปี 2011 (แค่เซ็กเตอร์เดียวใหญ่กว่า GDP ไทยทั้งประเทศประมาณ 7.6 เท่า!) แต่ที่น่าสนใจกว่าคือทำไมวิธีบริหารสองเซ็กเตอร์นี้ในแต่ละประเทศนั้นถึงแตกต่างกันเหลือเกิน และทำไมผลลัพธ์ที่ได้ก็แตกต่างกันมาก บทความนี้ไม่ได้จะนำเสนอสูตรลับในการพัฒนาสองเซ็กเตอร์นี้แต่จะชี้ให้เห็นถึงปัญหา 4 ปัญหาที่ทำให้การพัฒนาสองเซ็กเตอร์สำคัญนี้เป็นงานที่ยากมากๆ
เราควรลงทุนกับการศึกษาในระดับอนุบาลแค่ไหน? นี่คือหนึ่งในคำถามคาใจของพ่อแม่รุ่นใหม่หลายคู่ที่จะต้องเผชิญหน้ากับโลกที่มีการแข่งขันสูงและค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูลูกและค่าเล่าเรียนที่ดูเหมือนจะสูงขึ้นทุกวี่ทุกวัน ควรจะหาอนุบาลใกล้บ้านหรือว่าควรจะลงทุนขับรถไปไกลหน่อยเพื่อแลกกับคุณภาพครูที่ดีกว่าและอัตราส่วนนักเรียนต่อครูที่น้อยลง คำถามเดียวกันเหล่านี้ก็เกิดขึ้นในใจของผู้บริหารประเทศเหมือนกันว่าการเอาเงินประเทศไปลงทุนในการศึกษาปฐมวัยมันคุ้มค่าแค่ไหนเมื่อเทียบกับการลงทุนในด้านอื่น มันคุ้มค่าแค่ไหนที่จะสั่งให้อนุบาลหรือโรงเรียนประถมต่างๆ ลดจำนวนนักเรียนต่อครูหนึ่งคนลงและยอมเสียเงินจ้างครูเพิ่มมากขึ้น
เขาว่ากันว่าในอีกไม่กี่สิบปีงานบางชนิดเช่นนักบัญชีและเซลส์ขายบ้านจะหายไปจากโลกเพราะว่าวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ หลายประเทศเริ่มรู้สึกตัวและพยายามเตรียมประชากรรุ่นลูกหลานให้เติบโตขึ้นมาพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้โดยการปรับเปลี่ยนแนวทางการศึกษาให้แฝงเอา 21st century skills เข้าไปด้วย บทความนี้จะไม่กล่าวถึงวิชาเพิ่มเติมที่โรงเรียนควรจะสอนเพื่อที่จะเตรียมเด็กรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือกับโลกสมัยใหม่ แต่จะเสนอให้ผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง ครู หรือผู้ใหญ่รอบๆ ตัวเด็กๆ ให้คำนึงถึงการสอนสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ห้าสิ่งต่อไปนี้ที่น่าจะมีเข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่ออนาคตของเด็กมากเสียยิ่งกว่าสิ่งที่วิชาย่อยๆ แต่ละวิชานั้นให้แก่เด็กอีกด้วยซ้ำ
วิเคราะห์แนวโน้มการศึกษาออนไลน์
ไม่น่าเชื่อว่าขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคนแล้ว หลายคนเห็นว่าการเรียนออนไลน์คืออนาคตของการศึกษาเนื่องจากเป็นการเผยแพร่ความรู้โดยผู้สอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในรูปแบบที่มีค่าใช้จ่ายต่อหัวต่ำที่สุด มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ถึงกับผวาเมื่อนึกถึงบทบาทของตัวเองในโลกแห่งดิจิตัลในอนาคต ถึงกระนั้นก็ตามในพักหลังนี้เริ่มมีการถกเถียงถึงข้อเสียของ Online Education ว่าไม่สามารถทดแทนสิ่งที่มหาวิทยาลัยมอบให้กับนักเรียนได้ มิหนำซ้ำยังอาจเป็นการทำลายความมั่นคงของอาชีพศาสตราจารย์และโมเดลธุรกิจดั้งเดิมของสถาบันการศึกษาอันเก่าแก่อีกด้วย คลื่นลูกใหม่ลูกนี้จะมาเปลี่ยนอนาคตของการศึกษา มหาวิทยาลัย คณาจารย์และเหล่านักเรียนรุ่นลูกหลานของเราอย่างไร ? เป็นคำถามที่น่าคิดยิ่งนัก
5 วิธีพัฒนาการศึกษานอกรั้วโรงเรียน
บางทีการแก้ปัญหาสังคมที่คาราคาซังมานานอาจจะมีความก้าวหน้าไปมากขึ้นหาก policy maker ถอยมาหนึ่งก้าวและเริ่มตั้งคำถามใหม่ เวลาคนเราพูดว่าจะ “ปฏิรูป” การศึกษา เรามักจะนึกถึงห้องเรียน ปากกาดินสอ ข้อสอบวัดมาตรฐาน หลักสูตรเข้มข้น อะไรประมาณนี้แต่ผมมานึก ๆ ดูนะครับ คนเราส่วนมากใช้เวลาแค่ 6-7 ชั่วโมงต่อวันในห้องเรียนเท่านั้น แค่ห้าวันจากเจ็ดวันต่ออาทิตย์ และยังมีปิดภาคเรียนยาวเป็นเดือน ๆ แล้วที่เหลืออีกเกินครึ่งของเวลาตอนเด็ก ๆ ตื่นล่ะ? ยิ่งไปกว่านั้น…แล้วอีกค่อน “ชีวิตผู้ใหญ่” ของคนเราล่ะ ? การเรียนรู้ไม่ควรถูกจำกัดโดยเครื่องแบบนักเรียน เพศ ฐานะทางการเงิน วัย หรือการที่เรากำลังยืนอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “โรงเรียน” ชาติไหนที่การเรียนรู้ในหมู่ประชากรจบสิ้นลงที่ตอนที่ได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญา ชาตินั้นจะลำบาก เราเคยคิดที่จะปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบอื่นกันบ้างหรือไม่? การเปลี่ยนคำถามแคบ ๆ เช่น “จะคิดหลักสูตรใหม่ยังไง?” “จะแจกไอแพดให้เด็กป.หนึ่งดีไหม?” มาเป็น “จะทำอย่างไรให้การเรียนรู้และความสามารถของคนไทยโดยรวมดีขึ้น?” อาจจะทำให้เราเห็นแนวทางใหม่ ๆ หลาย ๆ ทางที่สามารถมาร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ยาก ๆ อย่างเช่นการศึกษาก็เป็นได้ วันนี้ผมมาเสนอ 5 วิธีพัฒนาการศึกษานอกรั้วโรงเรียนแบบ […]
ไล่ครูเหลวไหล ให้โบนัสครูดีเลิศ เวิร์คจริงหรือ?
งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าการทำ teacher incentive program ที่ไล่ครูหรือให้รางวัลครูตามผลงานในกรุงดีซี สหรัฐฯอเมริกามีผลทำให้ครูที่ผลประเมินต่ำลาออกไปและทำให้ครูที่เคยทำได้ดีทำได้ดีขึ้นไปอีก
อะไร work ไม่ work ในการศึกษา (ตอนที่ 2)
ลงทุนกับครู น่าจะเวิร์ค
อะไร work ไม่ work ในการศึกษา (ตอนที่ 1)
ความยาวในการอ่าน: ~ 5 นาที บทสรุป: 1.แม้ค่าเล่าเรียนจะฟรีแต่ยังมีค่าใช้จ่ายลับที่สามารถลดลงได้อีก 2.การแจกของจะเวิร์คก็ต่อเมื่อพฤติกรรมในห้องเรียนเปลี่ยน 3.ให้ข้อมูลการเลี้ยงลูกกับพ่อแม่มีผลเกินคาด 4. แจกคอมพ์อาจสิ้นเปลืองเปล่า ๆ จะแจก iPad หรือแจกแว่นตา? จะให้คอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนหรือที่บ้าน? จะให้รางวัลครูตามความสามารถหรือให้รางวัลตามการไม่โดดสอน? คำถามเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์เวลาจะให้คำแนะนำที่ดีที่สุดกับรัฐบาลและผู้ประกอบการในโรงเรียนในประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศเหล่านี้มีทรัพยากรและทรัพย์สินในจำนวนจำกัดอีกทั้งยังมีช่องทางอื่น ๆ อีกมากมาย (นอกจากการศึกษา) ที่รัฐบาลสามารถกระจายเงินไปลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศและสังคมได้ ทางเดียวที่เราจะรู้ว่านโยบายเวิร์คไม่เวิร์คคือการทำวิจัยแบบ Impact Evaluation อย่างจริงจังเพื่อหาหลักฐานที่แท้จริงว่าโครงการหรือนโยบายเหล่านี้มีประโยชน์จริงแท้แค่ไหน
หรือนี่คืออนาคตของการเรียนรู้ ?
Previous page Next page
Recent Comments