สมัยนี้คนทำงานรุ่นใหม่ไฟแรงมักเพรียกหาสิ่งที่เรียกว่า “productivity” แต่ทว่าหากไม่ลองหยุดคิดดูจริงๆ ว่าอะไรคือ productivity คุณอาจกำลังเหนื่อยเปล่า
ผมคิดว่าคงไม่ใช่ผมคนเดียวที่เคยเข้าใจผิดหลงนึกว่า “ความรู้สึกยุ่ง” คือความ productive
บางวันเรา “ดูเหมือน” productive เพียงเพราะตอนท้ายวันเรารู้สึกเหนื่อยที่ทั้งวันแทบไม่มีเวลาได้พักเลย จมอยู่กับงานบางชิ้นตั้งแต่เช้าจรดเย็น
อารมณ์ประมาณ salaryman ไม่มีผิด
แต่การเทียบความรู้สึกยุ่งกับคำว่า productivity นั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
เพราะจริงๆ แล้วการที่คุณ productive ขึ้นนั้น จากมุมมองเศรษฐศาสตร์มันหมายความว่าคุณจะต้องมีผลผลิตมากขึ้นจากการใช้ทรัพยากรจำนวนเท่าเดิมในการ “ผลิต” สินค้าหรือบริการชนิดหนึ่ง
ถ้าให้คิดง่ายๆ ก็คือคุณก็ใช้ทรัพยากรน้อยลงในการผลิตผลงานชิ้นเดิม (ซึ่งแปลว่าผลงานต่อหนึ่งหน่วยทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นนาทีหรือหยดเหงื่อ ได้เพิ่มมากขึ้นแล้ว)
แปลว่าไม่ใช่วัดกันว่าตอนท้ายวันคุณรู้สึกว่าเสียเวลาหรือเสียเหงื่อไปกับงานทุกชิ้นมากแค่ไหน (นั่นมันทรัพยากรที่หายไป) แต่ต้องวัดกันที่ว่าคุณใช้ทรัพยากรอันจำกัดไปคุ้มค่าแค่ไหน
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
เวลาคุณใช้ Excel ทำรายรับรายจ่ายปิดบัญชีท้ายวันได้เร็วขึ้น คุณ productive ขึ้น เพราะคุณเสียทรัพยากรชื่อว่า “เวลา” น้อยลง
เวลาคุณไม่อ่อนล้าเท่าแต่ก่อนเวลาคุณต้องขึ้นเวทีทั้งวัน คุณ productive ขึ้น เพราะคุณเสียทรัพยากรชื่อว่า “พลังงานของร่างกาย” น้อยลง
เวลาคุณเครียดน้อยลงในการเตรียมพรีเซนต์ คุณก็ productive ขึ้นได้ เพราะคุณเสียทรัพยากรชื่อว่า “สุขภาพจิต” น้อยลง
ทุ่มนึงแล้วแฮะ…แหม่แต่กำลังอิน กำลังเครื่องแรงเลย ทำต่ออีกชั่วโมงดีกว่า
สิ่งที่หลายคน (รวมทั้งผมเองในบางครั้ง) มักตกเป็นเหยื่อคือ “ความติดมัน” หรือความรู้สึกว่ากำลังอินกับงานโดยไม่รู้ตัว
ถ้าคุณใช้เวลา 5-6 ชั่วโมงติดต่อกันในการทำงานงานหนึ่งแล้วคุณมั่นใจว่าผลผลิตต่อชั่วโมงคุณไม่ตกเลย นั่นไม่มีปัญหา
ปัญหาคือคนส่วนมาก (และแม้กระทั่งเครื่องจักรก็ตาม) มักจะพบเจอกับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า The Law of Diminishing Marginal Productivity ซึ่งแปลสั้นๆ ว่า ถึงจุดๆ นึงอัตราของการเพิ่มขึ้นของผลงานคุณจะลดลงเมื่อคุณเพิ่มทรัพยากร (เช่น เวลา) เข้าไปในการทำงาน
ต้องย้ำว่าผลงานคุณยังคงเพิ่มขึ้นเวลาคุณตัดสินใจเพิ่มทรัพยากรเวลาเข้าไปเพื่ออยู่เย็นทำงานต่อเป็นชั่วโมงที่เก้า แต่มีโอกาสสูงมากที่อัตราการเพิ่มขึ้นของผลงานคุณจะลดลงกว่าชั่วโมงแรกๆ ที่คุณเริ่มทำงานชิ้นนี้
เพื่อความกระจ่าง สมมุติว่าคุณกำลังเขียนบทความอยู่นะครับ คิดง่ายๆ ว่าจำนวนบรรทัดคือผลผลิต
ชั่วโมงที่ศูนย์คุณจะเขียนได้ 0 บรรทัด (เพราะคุณยังไม่ได้เริ่ม!)
ชั่วโมงที่หนึ่งคุณอาจจะเขียนได้แค่ 10 บรรทัดเพราะการเรียงไอเดียในหัวตอนแรกมันยาก
ชั่วโมงที่สองคุณเครื่องติดแล้ว เขียนได้เพิ่มจากชั่วโมงแรกตั้ง 50 บรรทัด
ชั่วโมงที่สามคุณยังไฟแรง เขียนได้เพิ่มจากชั่วโมงที่สองอีก 60 บรรทัด
แต่พอชั่วโมงที่สี่ คุณเขียนเพิ่มขึ้นได้จากชั่วโมงที่สามแค่ 30 บรรทัด
นั่นเป็นสัญญานว่าอัตราเพิ่มผลงานของคุณได้ร่วงลงแล้ว หลังจากชั่วโมงที่สามนั้นการลงทุนเวลาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชั่วโมงมันไม่ productive เท่าชั่วโมงก่อนๆ ที่คุณลงทุนไป และหากคุณยังมีงานชิ้นอื่นนอกจากงานชิ้นนี้ (หรืออยากพักผ่อนบ้าง) อาจถึงเวลาแล้วที่คุณควรเปลี่ยนเกียร์เพื่อไปเติมพลังหรือไปทำอย่างอื่นครับ
จริงๆ แล้ววิธีที่ทำให้เรา productive ขึ้นมีหลายวิธี วิธีหลักๆ เลยคือการเปลี่ยนวิธีการทำงาน หรือเพิ่มความเก่ง (ไม่ว่าจะไปเรียนหนังสือ อบรมหรือไปฝึกงาน)
แต่จริงๆ แล้วเราสามารถเพิ่ม productivity ให้กับชีวิตเราได้โดยไม่ต้องทำสิ่งเหล่านั้นเพิ่มเลยด้วยซ้ำ (แต่ทำทั้งคู่ก็ดีนะครับ) โดยการประยุกต์หลักการง่ายๆ จากบทความนี้ได้ด้วย 3 วิธีง่ายๆ ต่อไปนี้ครับ
ขอให้ทุกท่าน productive ขึ้นกันถ้วนหน้านะครับ!
Recent Comments