วิชาเศรษฐศาสตร์สอนให้เรา maximize โน่น maximize นี่ และ minimize cost เพื่อผลลัพธ์ที่ optimal ที่สุด
ไม่กี่ปีมานี้ผมค้นพบวิธีการ maximize คุณค่าของการซื้อดอกไม้ให้คนรักครับ
ไม่ทราบว่าผู้หญิงมองดอกไม้อย่างไร แต่ผู้ชายอย่างผมมองว่าดอกไม้ก็คือดอกไม้ คือส่วนนึงของต้นไม้ที่สีสวย มองดูสบายตาดี แต่ก็สงสารที่ทำไมคนเราชอบไปตัดมาปักแจกันรอวันตาย และไม่แน่ใจว่าเขาขายกันราคาสูงลิบลิ่วได้ยังไง
หากแฟนคุณเป็นคนที่คาดหวังดอกไม้เนื่องในโอกาสพิเศษ คุณหยุดอ่านได้เลยครับ โพสนี้ไม่น่าจะทำให้ชีวิตรักคุณดีขึ้น (น่าจะทำให้แย่ลง…)
แต่ถ้าหากแฟนคุณเป็นคนที่ไม่คาดหวังว่าจะได้ดอกไม้ขนาดนั้นแต่ถ้าได้ดอกไม้ก็ยังดีใจ ผมเสนอให้อ่านต่ออีกนิดนึง
ผมแนะนำให้คุณไปซื้อดอกไม้ในวันที่คนอื่นเขาไม่ซื้อกัน และจะต้องเป็นวันที่ random ที่สุดเท่าที่จะทำได้
การซื้อดอกไม้ในวันที่ไม่ใช่วันพิเศษ (วันวาเลนไทน์ วันปีใหม่ วันรับปริญญา วันครบรอบ) นั้นจะเพิ่มความสุขให้แก่ผู้รับเพราะว่าเขาไม่ได้คาดหวังเลยสักนิดว่าคนที่ไม่เห็นค่าในดอกไม้อย่างเราอยู่ดี ๆ จะไปซื้อดอกไม้มาให้ทำไม!!
ในทางกลับกัน หากเราซื้อในวันพิเศษ เค้าอาจจะสรุปว่า “โอ้ มันเป็นวัฒนธรรมที่คนเราให้ดอกไม้กันในวันพิเศษ” ผู้ชายที่ไหนเค้าก็ให้กัน
ผลลัพธ์จึงจะไม่ค่อยรุนแรงเท่าที่ควร
แท็กติกการบอกรักด้วยสิ่งของหรือการกระทำ ในเศรษฐศาสตร์เค้าเรียกกันว่าการส่งสัญญาณ หรือ signal
การส่งสัญญาณที่เหมือนกับผู้ชายอื่น ๆ ทั่วไปในวันวาเลนไทน์หรือการส่งสัญญาณแบบแทบไม่มี cost ต่อผู้ส่งเลย (เช่นการบอก happy birthday ทาง facebook หรือการที่ผู้ชายรวยล้นฟ้าจ้างร้านดอกไม้ให้คอยส่งดอกไม้เป็นรอบ ๆ ตามวันที่จดไว้) จึงเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยมีคุณค่าในตัวเองนัก
ที่แย่ที่สุดคือการซื้อดอกไม้ไปขอโทษเพราะว่า 1.ผู้รับนั้นมีความคาดหวังบางอย่างอยู่แล้ว 2.ดอกไม้ ด้วยตัวมันเอง มันไม่สามารถแก้ปัญหาจริง ๆ ได้ การซื้อดอกไม้ในวันอย่างนี้ถือว่าไม่ optimal เพราะมันไม่ random และมันเป็นการแก้ปัญหาแบบขี้เกียจ ๆ ไม่มี cost ต่อเราที่สูงพอที่จะให้เค้าคืนดีกับเราครับ
นอกจากจะได้สร้างความสุขแบบ extra แล้ว ดอกไม้ในวันที่แสนจะ “ปกติ” ก็มักจะมีราคาต่ำกว่าปกติ ไม่เว่อร์เกินไปอีกด้วย
กำไรเห็น ๆ 🙂
Recent Comments