menu Menu
10 articles filed in
Smarter Policy
Previous page Next page

รู้จักกับนโยบายแจกเงิน: Universal Basic Income

ทุกวันนี้คงมีไม่กี่เรื่องที่สามารถดึงความสนใจของคนระดับโลกจากหลากสาขา ตั้งแต่นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์  นักคิดเสรีนิยม ฟรีดรีช ฮาเย็ก  นักเศรษฐศาสตร์รุ่นขลัง มิลตัน ฟรีดแมน กับ พอล แซมมวลสัน อดีตประธานาธิปดีสหรัฐฯ ริชาร์ด นิกสัน ไปจนถึง ไอรอนแมนตัวเป็นๆ อย่าง อีลอน มัสก์ เรื่องนั้นก็คือนโยบายการันตีรายได้พื้นฐานให้กับประชาชน โดยทุกวันนี้เวอร์ชันที่ได้รับความฮือฮามากที่สุดก็คือนโยบายที่เรียกว่า Universal Basic Income (UBI) นั่นเอง แม้ว่าหลายคนจะมองว่าความคิดนี้ดูไม่เข้าท่าและไม่น่าจะเป็นไปได้ในโลกจริง แต่ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่อาจทำให้ฝันกลางวันเรื่องนี้กลายเป็นความจริงเร็วขึ้นได้  ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดคือเมื่อต้นปีนี้รัฐบาลฟินแลนด์ได้เริ่มทำการทดลองสุ่มให้เงิน 560 ยูโรต่อเดือนกับกลุ่มผู้รับค่าตอบแทนการว่างงาน 2,000 คน เพื่อดูว่าจะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากบ่วงกรรมการหางานไม่ได้สักทีหรือไม่ บทความนี้จะอธิบายแบบสั้นๆ (เท่าที่จะทำได้)ว่า 1) นโยบายแจกเงินแบบ UBI คืออะไร 2) ทำไมถึงกำลังเป็นที่ฮือฮามาก 3) ผลกระทบที่เป็นไปได้มีอะไรบ้างครับ

Continue reading


ขจัดคอร์รัปชันต้องเริ่มด้วยข้อมูล: กรณีใบสั่งรถทูต

ท่านผู้อ่านเคยสงสัยไหมครับว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อทูตจากหลากหลายสังคมมารวมกันอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ diplomatic immunity ทำให้กฎหมายจอดรถในนครนิวยอร์กทำอะไรพวกเขาไม่ได้ ทุกวันนี้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนบนโลกก็จะได้ข่าวอื้อฉาวต่างๆ นานาเกี่ยวกับคอร์รัปชันแทบทุกวัน  แต่ที่น่าสงใสคือทำไมสิ่งที่คนทั้งโลกเรียกกันว่า “คอร์รัปชัน” นี้ ถึงได้มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันเหลือเกินในแต่ละสังคม ความแตกต่างนี้มองปราดเดียวก็ทราบได้จากดัชนี corruption perception ที่มาจากองค์การ Transparency International ด้านบน (ยิ่งแดงเข้มยิ่งแย่) แต่ที่มองผ่านๆ แล้วยังไม่เข้าใจ ฟันธงไม่ได้ คืออะไรกันแน่ที่ทำให้เกิดความแตกต่างนี้ และที่จริงแล้วอะไรก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “คอร์รัปชัน” ตั้งแต่แรก ข้อมูลชุดข้างบนถึงแม้ว่าจะมีคุณค่าพอสมควรแต่ก็มีจุดอ่อนมากมายและไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ ความแตกต่างที่เห็นอาจเป็นเพราะว่าแต่ละสังคมมีการลาก “เส้นแบ่งล่องหน” ที่สะท้อนถึงบรรทัดฐานทางสังคม (social norms) ของตนว่าการกระทำแบบไหนถือว่า “ใสสะอาด” และการกระทำแบบไหนถือว่าเป็น “คอร์รัปชัน”  เส้นแบ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่สัมผัสได้เส้นนี้มักถูกขีดไว้คนละตำแหน่งบนสเกลความคดโกงในแต่ละสังคม  จึงเป็นไปได้ที่การกระทำประเภทที่บางสังคมเห็นว่าเป็นคอร์รัปชันอย่างแน่นอนกลับไม่ถือว่าเป็นคอร์รัปชันในสังคมอื่นๆ ที่เขาเห็นว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาหรือกระทั่งเห็นว่าเป็นเพียงสิ่งที่ “rule of the game” กำหนดเอาไว้แล้วในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเหล่านั้น แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง ความแตกต่างนี้ก็อาจมีผลมาจากความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมาย (enforcement) ที่อยู่ในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละสังคม บางแห่งมีทั้งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและมีทั้งการบังคับใช้อย่างจริงจัง บางแห่งมีความเข้มข้นบนกระดาษแต่ไม่มีบนท้องถนน  บางแห่งไม่มีทั้งคู่ ทุกวันนี้คงไม่มีใครเถียงว่าคอร์รัปชันเป็นโรคร้ายของสังคมแต่การที่คอร์รัปชันเป็นวัชพืชที่ฆ่าไม่ตายเสียทีอาจเป็นเพราะเรายังไม่เข้าใจคอร์รัปชันอย่างแท้จริงว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร จากแค่ตัวอย่างข้างต้นที่แบ่งต้นตอของคอร์รัปชันออกเป็นสองส่วน หากเราแยกไม่ออกว่าบรรทัดฐานทางสังคมหรือการบังคับใช้กฎหมายกันแน่ที่เป็นตัวการหลักในการผลักดันพฤติกรรมคอร์รัปชัน เราจะจู่โจมปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกจุดได้อย่างไร บทความนี้จะพาท่านผู้อ่านไปทัวร์ดูวิธีศึกษาปัญหาคอร์รัปชันนี้ด้วยพลังของการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า “Corruption, Norms, and […]

Continue reading


Open Data เพื่อสังคม: สายด่วนร้องทุกข์

ปัญหาสาธารณะจิปาถะ เช่น เพื่อนบ้านซ้อมกลองชุดตอนตีสอง ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ แก๊งอันธพาลมั่วสุมที่หัวมุม ไฟถนนดับ ป้ายหยุดสี่แยกถูกต้นไม้บัง หรือ กิ่งไม้งอกออกมาหักกลางสามแยกนั้นฟังเผินๆ เป็นปัญหาที่เล็กน้อย  แต่นั่นอาจเป็นเพราะเราไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน กระทบประชากรกี่คน หรือมีผลกระทบที่ประเมินออกมาเป็นมูลค่าความเสียหายเท่าไร   นั่นเป็นเพราะว่าเราไม่เคยมีข้อมูล ไม่มีการวัดใดๆ ทุกความคิดและความเชื่อล้วนมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของเราทั้งสิ้น แต่อีกไม่นานเมืองที่เก็บข้อมูลและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับระบบสายด่วนร้องทุกข์จะสามารถมองเห็นถึงความสำคัญ ความถี่และต้นตอของปัญหาสังคมเหล่านี้ได้  และเมืองเหล่านี้จะได้เปรียบเมืองอื่นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงสภาพแวดล้อมและการดูแลความเป็นอยู่ของประชากร มิหนำซ้ำยังอาจจะดึงดูดทุนมนุษย์คุณภาพให้มาอยู่อาศัยเป็นหนึ่งในกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากเมืองอื่นๆ ที่ไม่เคยเหลียวแลประชากร  เพราะที่จริงแล้วปัญหาที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยเช่น มลภาวะทางเสียง บริเวณหนูชกชุม หรือรถจอดขวางหัวดับเพลิง จริงๆ รวมๆ กันแล้วอาจเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบสุขภาพของคนจำนวนไม่น้อย ปัญหาที่ดูเหมือนว่าไร้พิษภัยอย่างไฟถนนดับๆ หรี่ๆ นั้นก็อาจเป็นต้นตนของปัญหาสังคมอื่นๆ ที่ตามมา เช่นการก่ออาชญากรรมหรือการข่มขืนในเวลาค่ำมืดก็เป็นได้ เมื่อไม่กี่ปีมานี้หลายเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เริ่มทำการเปิดเผยข้อมูลสายด่วนร้องทุกข์ 311 อย่างละเอียดยิบเป็นรายกรณีย้อนหลังไปราว 5 ถึง 10 ปี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Open Data Initiative  ปัจจุบันมีราวๆ 20 เมืองที่เปิดเผยข้อมูลบน Open Data Platform และยังมีอีกหลายเมืองที่กำลังอยู่ในระหว่างพัฒนาระบบ Open Data ของตนเอง  ซึ่งกรณีร้องทุกข์เกี่ยวกับปัญหาสาธารณะในข้อมูล 311 […]

Continue reading


ของแถมจากการศึกษา: สุขภาพ อาชญากรรม และความเป็นพลเมือง

ปกติแล้วเวลาเราลงทุนในการศึกษา เรามักหวังผลตอบแทนในด้านหน้าที่การงานและรายได้ในอนาคต หากแต่ว่าบางที “ของแถม” หรือ spillover effects จากการลงทุนในศึกษาต่อสังคมรอบๆ ตัวเรานั้นอาจมีค่ารวมกันแล้วมากกว่าผลตอบแทนส่วนตัวที่แต่ละคนได้รับจากระดับการศึกษาของตนอีกก็เป็นได้ คงไม่มีใครเถียงว่าหากมองแบบกว้างๆ แล้วโดยเฉลี่ยแล้วคนที่มีการศึกษามากกว่าจะหารายได้ได้สูงกว่าคนที่ไม่มีการศึกษา จากงานวิจัยจำนวนนับไม่ถ้วนในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์เห็นตรงกันว่าการเพิ่มจำนวนปีของการสำเร็จการศึกษามากขึ้น 1 ปี จะทำให้เกิดรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นประมาณ 8 ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ พูดง่ายๆ คือประโยชน์ทางตรงต่อบุคคลที่ยอมสละเวลาอันแสนสนุกและเงินทองของพ่อแม่ไปเข้าเรียนหลายปีนั้นชัดเจน แต่ที่เรายังไม่ทราบแน่ชัดคือสิ่งอื่นๆ ที่การศึกษาของบุคคลเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบได้   เพราะว่าการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในช่วงเวลาหลายสิบปีนั้นมันอาจทำให้คุณเป็นพลเมืองที่แตกต่าง มีความคิดและพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนอื่นที่ไม่ได้เข้าเรียนในหลายมิติ  ไม่ใช่แค่ว่ามีทักษะทางการทำงานดีขึ้นอย่างเดียว การศึกษายังอาจทำให้คุณดูแลสุขภาพคุณได้ดีขึ้น  เลี้ยงบุตรหลานได้ดีขึ้น มีโอกาสก่ออาชญากรรมน้อยลง เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น ฯลฯ ที่เรื่องนี้สำคัญนั้นเป็นเพราะว่าหากผลกระทบ “นอกตลาดแรงงาน” เป็นผลกระทบทางบวกและมีผลกระทบรุนแรง  บางทีสังคมอาจจะต้องเพิ่มการอุดหนุนและสนับสนุนการศึกษาให้มากขึ้นกว่าที่เคยคิดไว้ บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบนอกตลาดที่น่าสนใจในมิติของ สุขภาพ อาชญากรรม และความเป็นพลเมือง ***ปล. การศึกษาในบทความนี้จะขอพูดถึงการศึกษาในมุมมองที่กว้างที่สุด คือเป็นแค่การปูพื้นฐานทำให้คนเราอ่านออกเขียนได้ มีทักษะในการเป็นมนุษย์ในยุคสมัยใหม่  มี cognitive skills ระดับหนึ่ง ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นหลักสูตรไหน วิชาอะไร

Continue reading


เมื่อคนแก่ "อดยา" : ข้อคิดจาก Medicare Part D

คุณค่าของคนชรา คำถามที่ต้องตอบให้ได้ก่อนเข้าสู่โลกสีเทา

Continue reading


วิเคราะห์แนวโน้มการศึกษาออนไลน์

ไม่น่าเชื่อว่าขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคนแล้ว  หลายคนเห็นว่าการเรียนออนไลน์คืออนาคตของการศึกษาเนื่องจากเป็นการเผยแพร่ความรู้โดยผู้สอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในรูปแบบที่มีค่าใช้จ่ายต่อหัวต่ำที่สุด  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ถึงกับผวาเมื่อนึกถึงบทบาทของตัวเองในโลกแห่งดิจิตัลในอนาคต  ถึงกระนั้นก็ตามในพักหลังนี้เริ่มมีการถกเถียงถึงข้อเสียของ Online Education ว่าไม่สามารถทดแทนสิ่งที่มหาวิทยาลัยมอบให้กับนักเรียนได้ มิหนำซ้ำยังอาจเป็นการทำลายความมั่นคงของอาชีพศาสตราจารย์และโมเดลธุรกิจดั้งเดิมของสถาบันการศึกษาอันเก่าแก่อีกด้วย  คลื่นลูกใหม่ลูกนี้จะมาเปลี่ยนอนาคตของการศึกษา มหาวิทยาลัย คณาจารย์และเหล่านักเรียนรุ่นลูกหลานของเราอย่างไร ? เป็นคำถามที่น่าคิดยิ่งนัก

Continue reading


5 วิธีพัฒนาการศึกษานอกรั้วโรงเรียน

บางทีการแก้ปัญหาสังคมที่คาราคาซังมานานอาจจะมีความก้าวหน้าไปมากขึ้นหาก policy maker ถอยมาหนึ่งก้าวและเริ่มตั้งคำถามใหม่ เวลาคนเราพูดว่าจะ “ปฏิรูป” การศึกษา เรามักจะนึกถึงห้องเรียน ปากกาดินสอ ข้อสอบวัดมาตรฐาน หลักสูตรเข้มข้น อะไรประมาณนี้แต่ผมมานึก ๆ ดูนะครับ คนเราส่วนมากใช้เวลาแค่ 6-7 ชั่วโมงต่อวันในห้องเรียนเท่านั้น แค่ห้าวันจากเจ็ดวันต่ออาทิตย์ และยังมีปิดภาคเรียนยาวเป็นเดือน ๆ แล้วที่เหลืออีกเกินครึ่งของเวลาตอนเด็ก ๆ ตื่นล่ะ?  ยิ่งไปกว่านั้น…แล้วอีกค่อน “ชีวิตผู้ใหญ่” ของคนเราล่ะ ? การเรียนรู้ไม่ควรถูกจำกัดโดยเครื่องแบบนักเรียน เพศ ฐานะทางการเงิน วัย หรือการที่เรากำลังยืนอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “โรงเรียน” ชาติไหนที่การเรียนรู้ในหมู่ประชากรจบสิ้นลงที่ตอนที่ได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญา ชาตินั้นจะลำบาก เราเคยคิดที่จะปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบอื่นกันบ้างหรือไม่? การเปลี่ยนคำถามแคบ ๆ เช่น “จะคิดหลักสูตรใหม่ยังไง?” “จะแจกไอแพดให้เด็กป.หนึ่งดีไหม?” มาเป็น “จะทำอย่างไรให้การเรียนรู้และความสามารถของคนไทยโดยรวมดีขึ้น?” อาจจะทำให้เราเห็นแนวทางใหม่ ๆ หลาย ๆ ทางที่สามารถมาร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ยาก ๆ อย่างเช่นการศึกษาก็เป็นได้ วันนี้ผมมาเสนอ 5 วิธีพัฒนาการศึกษานอกรั้วโรงเรียนแบบ […]

Continue reading


ไล่ครูเหลวไหล ให้โบนัสครูดีเลิศ เวิร์คจริงหรือ?

งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าการทำ teacher incentive program ที่ไล่ครูหรือให้รางวัลครูตามผลงานในกรุงดีซี สหรัฐฯอเมริกามีผลทำให้ครูที่ผลประเมินต่ำลาออกไปและทำให้ครูที่เคยทำได้ดีทำได้ดีขึ้นไปอีก

Continue reading


อะไร work ไม่ work ในการศึกษา (ตอนที่ 1)

ความยาวในการอ่าน: ~ 5 นาที บทสรุป: 1.แม้ค่าเล่าเรียนจะฟรีแต่ยังมีค่าใช้จ่ายลับที่สามารถลดลงได้อีก 2.การแจกของจะเวิร์คก็ต่อเมื่อพฤติกรรมในห้องเรียนเปลี่ยน  3.ให้ข้อมูลการเลี้ยงลูกกับพ่อแม่มีผลเกินคาด 4. แจกคอมพ์อาจสิ้นเปลืองเปล่า ๆ จะแจก iPad หรือแจกแว่นตา? จะให้คอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนหรือที่บ้าน? จะให้รางวัลครูตามความสามารถหรือให้รางวัลตามการไม่โดดสอน? คำถามเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์เวลาจะให้คำแนะนำที่ดีที่สุดกับรัฐบาลและผู้ประกอบการในโรงเรียนในประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศเหล่านี้มีทรัพยากรและทรัพย์สินในจำนวนจำกัดอีกทั้งยังมีช่องทางอื่น ๆ อีกมากมาย (นอกจากการศึกษา) ที่รัฐบาลสามารถกระจายเงินไปลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศและสังคมได้  ทางเดียวที่เราจะรู้ว่านโยบายเวิร์คไม่เวิร์คคือการทำวิจัยแบบ Impact Evaluation อย่างจริงจังเพื่อหาหลักฐานที่แท้จริงว่าโครงการหรือนโยบายเหล่านี้มีประโยชน์จริงแท้แค่ไหน

Continue reading


ข้อคิดที่ได้จากการทำวิจัยที่ Harvard 1 ปี

ในปีที่ผ่านมานี้ ผมดีใจที่ได้รับโอกาสไปทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยให้กับนักเศรษฐศาสตร์สองท่านที่ Harvard Kennedy School of Government และได้เห็นการใช้เศรษฐศาสต์แก้ปัญหาสังคมด้วยวิธีใหม่ ๆ  ทั้งสองท่านนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญในคนละแขนง ท่านนึงเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา ส่วนอีกท่านเชี่ยวชาญด้านนโยบายพลังงาน สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ส่วนผมมีหน้าที่ช่วยเขียนโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติและเขียนบทความ  หนึ่งปีนี้สั้นนิดเดียวแต่ได้เห็นและเรียนรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับวงการ policymaking และวงการเศรษฐศาสตร์แขนงใหม่ ผมสรุปบทเรียนย่อ ๆ มาแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านครับ

Continue reading



Previous page Next page

keyboard_arrow_up