menu Menu
19 articles filed in
published
Previous page Next page

บทเรียนชีวิตจากตำราเศรษฐ​ศาสตร์​ (​ตอนที่ 2)​: สะสมอำนาจและอยู่ให้ถูกตลาด

จากที่ผู้เขียนร่ำเรียนเศรษฐศาสตร์มา 9 ปี และใช้ชีวิตมาจะครบ 30 ปีแล้ว พบว่าแม้หลายอย่างในตำราจะไม่ค่อยมีประโยชน์โดยตรงนักในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะมัน “obvious” (ชัดเจน) อยู่แล้ว หรือมันซับซ้อนเกินไป แต่สิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมักจะโผล่เข้ามาอย่างเป็นประจำ คอยย้ำอยู่นั่น มันทำให้เราคิดว่า “อืม…เป็นอย่างนั้นจริงๆ อีกแล้วแฮะ” บทความซีรีย์นี้จะหยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากตำราเศรษฐศาสตร์ที่ผมมองว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมาเล่าผ่านประสบการณ์จริง เผื่อจะไปเป็นประโยชน์ต่อชีวิตผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ ตอนที่แล้วเราคุยกันว่า “ทำไมผู้อ่อนไหวคือผู้ชนะ” ส่วน​ตอนที่ 2 เราจะมาดูบทเรียนที่สอง นั่นก็คือการสะสมอำนาจและอยู่ให้ถูกตลาด

Continue reading


บทเรียนชีวิตจากตำราเศรษฐศาสตร์ (ตอนที่ 1): ผู้อ่อนไหวคือผู้ชนะ

จากที่ผู้เขียนร่ำเรียนเศรษฐ​ศาสตร์​มา​ 9​ ปี​ และใช้ชีวิตมาจะครบ 30 ปีแล้ว พบว่าแม้หลายอย่างในตำราจะไม่ค่อยมีประโยชน์​โดยตรงนักในชีวิต​ประจำวัน​ ไม่ว่าจะเป็นเพราะมัน​ “obvious” อยู่แล้ว​ หรือมันซับซ้อน​เกินไป  แต่สิ่งที่มีประโยชน์​ต่อชีวิตจริง​มักจะโผล่เข้ามาอย่างเป็นประจำ​  คอยย้ำอยู่นั้น​ มันทำให้เราคิดว่า​ “อืม.. เป็นอย่างนั้นจริงๆ​ อีกแล้วแฮะ” บทความซีรีย์นี้จะหยิบเกร็ดเล็ก​เกร็ด​น้อย​จากตำรา​เศรษฐ​ศาสตร์​ที่ผมมองว่ามีประโยชน์​ต่อชีวิต​จริง​มาเล่าผ่านประสบการณ์​จริง​ เผื่อจะไปเป็นประโยชน์​ต่อชีวิตผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ

Continue reading


สองสิ่งที่ยังขาด...แต่จำเป็นต่อการปฏิรูปการศึกษา (ให้ไม่หลงทาง)

ทุกวันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื้อรังในระบบการศึกษาและปัญหามีจำนวนมากมายแทบจะทุกจุดของระบบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคะแนน PISA ต่ำจนน่ากังวล  ปัญหาเด็กออกกลางคัน ปัญหาระบบประเมินครูที่ไม่มีความหมาย ปัญหาครูไม่พร้อมสอนภาษาอังกฤษ ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการศึกษาระหว่างประชากรในกลุ่มต่างๆ จะควบคุมธุรกิจกวดวิชาอย่างไร ฯลฯ แต่สิ่งที่น่าหงุดหงิดที่สุดคือในหลายปีที่ผ่านมาเราไม่ได้นิ่งเฉยและเราไม่ได้ไม่มีเงินที่จะเอามาใช้เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด (ราว 18% ของงบประมาณทั้งหมด)  เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนต่อ GDP แล้วถือมากกว่าอีกหลายประเทศที่มีผลลัพธ์ทางการศึกษาดีกว่าเรา ในมุมมองของผู้เขียน สิ่งที่เป็นต้นตอของแทบทุกปัญหาการศึกษาไทยก็คือ “ปัญหาจ่ายมากได้น้อย” นั่นเอง เหตุผลที่เกิดปัญหา “จ่ายมากได้น้อย” อันเรื้อรังมาเป็นเวลานานหลายปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราทุกคนต่างวาดภาพ “การศึกษาในอุดมคติ” ไว้ในหัวกันทั้งนั้น  ลองสังเกตดูสิครับ ทุกวันนี้ไม่ว่าใครจะอยู่ในสายอาชีพใด ไม่ว่าจะมีประสบการณ์ในระบบการศึกษาจริงหรือไม่ จะพบได้ว่าแทบทุกคนจะมีมุมมองหรืออุดมการณ์หนักแน่นในการแก้ไขปัญหาการศึกษาในรูปแบบของตัวเองที่คิดว่า “น่าจะดีที่สุด” กันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงที่ต้องยอมรับคือแทบจะไม่มีใครทราบเลยว่า หนึ่ง จะทำให้สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปถึง “การศึกษาในอุดมคติ”เหล่านั้นได้อย่างไร? และ สอง จะทราบได้อย่างไรว่า “การศึกษาในอุดมคติ” ของใครดีกว่ากัน หรือเหมาะสมกับบริบทของประเทศมากกว่ากัน? จึงไม่แปลกที่ในหลายสิบปีที่ผ่านมาเรามีการเปลี่ยนผู้นำการศึกษาไทยเฉลี่ยแล้วแทบจะทุกปี และเราได้เห็นการดำเนินนโยบายการศึกษาที่มาจากหลายแนวคิดมากภายในเวลาอันสั้น  แต่สิ่งที่แทบไม่เปลี่ยนคือความผิดหวังในจิตใจประชาชนจำนวนมากที่ว่าความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการเมืองเหล่านี้ กับการอัดฉีดเม็ดเงินอันมหาศาลที่ผ่านมา ไม่เห็นได้นำมาซึ่งความก้าวหน้าในการพัฒนาอนาคตของชาติเลย บทความชิ้นนี้เสนอ 2 สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าจะช่วยให้เราปฏิรูปการศึกษาได้อย่างมีทิศทางมากขึ้นครับ

Continue reading


Bitcoin เข้าภาวะฟองสบู่หรือยัง?

ในหนึ่งปีที่ผ่านมาราคาของ Bitcoin ขึ้นมากว่า 1000%  ขณะนี้ราคาขึ้นมาแตะที่ระดับเกิน 1 หมื่นดอลลาร์ต่อ 1 BTC  แล้ว  ทำให้ market capitalization ของ Bitcoin เท่ากับราวๆน้องๆ 50 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ไทยปีที่แล้วเลยทีเดียว มูลค่าของเงินดิจิทัลที่สัมผัสไม่ได้ ที่เคยไร้ค่า  ตอนนี้พอๆ กับเกือบครึ่งของ GDP ประเทศไทย หลายคนเห็นราคาแบบนี้แล้วจึงสงสัยว่า  “เขาซื้อ Bitcoin กันไปทำไม” และ “มันเป็นฟองสบู่หรือเปล่า?” “ทำไมถึงมีคนคิดว่าจะยังวิ่งไปได้อีก”

Continue reading


Future of Money (ตอนที่ 1): ใครๆ ก็ให้กู้ได้

นับวันเทคโนโลยียิ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่เราไม่เคยนึกมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของเรากับ “เงิน  ที่ได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างน่าตกใจ จากเคยใช้เงินสดสู้การใช้ QR  code  จากแต่งตัวเดินไปธนาคารสู่โอนเงินผ่านแอพในชุดนอน  หรือแม้กระทั่งจากที่ใช้เงินสกุลท้องถิ่นแสนคุ้นเคยสู่การใช้เงินคริปโต บทความซีรี่ย์ Future of Money จะหยิบมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเงินที่กำลังเปลี่ยนไปมาเล่าให้ผู้อ่านฟังกันครับ

Continue reading


เมื่อ Wall St. สนใจ Bitcoin

ประเดิมกันไปสดๆ ร้อนๆ​ นะครับกับตลาด Bitcoin futures สองแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่เปิดตัวไปในอาทิตย์ที่ผ่านมา สัญญา Futures ของ Bitcoin ภายใต้ ticker “XBT” เปิดให้เทรดที่​ Cboe​ ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ราคา futures เดือนมกราคาของ Bitcoin ก็ทยานขึ้นไปเกิน 25%  ส่งผลให้ตลาดเกิด circuit breaker ยุติการซื้อขายชั่วคราวถึง 2 ครั้ง ถือเป็นสัญญานว่า Wall St. มองว่า Bitcoin จะยังไปต่อได้อีก  คลายความกังวลในหมู่นักเทรด Bitcoin กันไปชั่วขณะเนื่องจากในอาทิตย์ที่ผ่านมาเริ่มมีกระแสว่าการมาของตลาด Futures ครั้งนี้อาจเปิดโอกาสให้ผู้เล่นยักษ์ใหญ่เข้ามาถล่มและเก็งกำไรจากการร่วงหล่นของราคา Bitcoin ในตลาด Spot บทความนี้จะชี้ 2 ประเด็นที่น่าจับตามองหลังจากที่ Wall St. กำลังเข้ามาร่วมวงในโลกคริปโตครั้งนี้ครับ

Continue reading


ธนาคาร: อยู่รอดในยุคฟินเทคได้อย่างไร?

ในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาคำว่า​ “ฟินเทค” กลายเป็นคำพูดที่ติดหูที่สุดในแวดวงการเงินทั่วโลก​ จากเดิมที่คนเราคุ้นเคยกับการเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร​ ตอนนี้การทำธุรกรรมที่ปลายนิ้วโดยไม่ต้องเจอใครเลยจากทุกที่บนโลก​ (และบางทีไม่ต้องผ่านตัวกลางใดๆ)​ กำลังจะกลายเป็น​ new normal สำหรับผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อย แม้ว่าธนาคารใหญ่ๆ​ หลายเจ้าจะเริ่มไหวตัวกันแล้วบ้าง​แล้ว​ เช่น เริ่ม digitize ข้อมูลและระบบเดิมมากขึ้นหรือเริ่มทำ​ mobile banking ​ ก็ยังถือว่าเป็นการปรับตัวที่เชื่องช้ามากเมื่อเทียบกับไอเดียและความคิดที่กำลังถูกปรุงแต่งโดยทีมสตาร์ต​อัพฟินเทคใหม่ๆ​ จึงเกิดคำถามขึ้นว่าธนาคารยุคเก่าที่เราคุ้นเคยกันจะอยู่รอดอย่างไร​ท่ามกลางคลื่นลูกใหม่ที่กำลังรุกรานถิ่นเก่าการเงินนี้

Continue reading


3 Cryptocurrency ที่น่าติดตามไม่แพ้​ Bitcoin

ขณะนี้คงไม่มีใครในโลกลงทุนที่ไม่รู้จักเงินสกุลดิจิทัลหรือ “cryptocurrency” แล้ว   market capitalization ในตลาด cryptocurrency อยู่ที่เฉียดๆ 170 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของ market capitalization ของ SET50!  โดยมีเงินสกุลดิจิทัลพันธุ์ใหม่ๆ เกิดแก่เจ็บตายกันเป็นว่าเล่น บทความนี้จะพาท่่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ 3 สกุลเงินดิจิทัลที่ถึงแม้จะยังไม่โด่งดังเท่า Bitcoin หรือ Ethereum (สองสกุลที่ครองกว่า 70% ของตลาด cryptocurrency) แต่ผู้เขียนคิดว่ามีอุดมการณ์เบื้องหลังที่น่าติดตามและมีโอกาสขึ้นมาสร้างบทบาทมากขึ้นในอนาคตครับ  1.Ripple (XRP) Ripple  ที่จริงแล้วไม่ใช่ชื่อสกุลเงินดิจิทัลแต่เป็นชื่อของระบบเครือข่ายการชำระเงินทั่วโลกแบบ “cryptoๆ” ที่ช่วยอำนวยให้การชำระเงิน แลกเปลี่ยนหรือส่งสินทรัพย์ไม่ว่าจะจากที่ใดในโลก เกิดขึ้นได้อย่างไร้แรงเสียดทานและรวดเร็วที่สุด  ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก การส่งเงินต่างสกุลให้ญาติที่อยู่ต่างแดน พูดง่ายๆ ก็คือ Ripple เป็นตัวกลางที่คอยเสาะหาช่องทางที่มีต้นทุนต่ำที่สุดสำหรับการทำธุรกรรมทุกประเภท สองจุดที่ Ripple สามารถเข้ามาเขย่าวงการได้มากที่สุดคือ 1. การทำ settlement ระหว่างธนาคาร 2.การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ทั้งสองจุดนี้หลายคนคงทราบดีว่าเข้าจุดอิ่มตัวมานานหลายสิบปี  มีกระบวนการที่หลายต่อ และมีพ่อค้าคนกลางหลายคน  การทำ settlement […]

Continue reading


3 ประเด็นสำคัญจาก Global Competitiveness Report 2017–2018

ล่าสุดทาง World Economic Forum ได้ออกรายงาน Global Competitiveness Report (GCR) สำหรับปี 2017-2018 ซึ่งถือเป็นรายงานที่มีอิทธิพลอย่างมากในหมู่นักธุรกิจ นักวิชาการและนักพัฒนานโยบายทั่วโลก สำหรับท่านที่ไม่คุ้นเคยกับรายงานฉบับนี้  GCR เป็นผลพวงมาจากการเก็บข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศจากหลายองค์กร รวมไปถึงการทำแบบสอบถามถึงมุมมองของกลุ่มนักธุรกิจ เพื่อประกอบกันเป็นดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Global Competitiveness Index หรือย่อว่า GCI) ที่สามารถใช้ช่วยอธิบายการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวและความมั่งคั่งของแต่ละประเทศได้  จุดเด่นของรายงานฉบับนี้คือเราสามารถเจาะลึกลงไปดูได้ว่าในแต่ละประเทศมีจุดอ่อนจุดแข็งในด้านไหนบ้างใน 12 มิติของการพัฒนา และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วประเทศของเราอยู่ตรงไหน โดยรวมแล้วดัชนี GCI ของประเทศไทยในปีนี้ขยับขึ้นมา 2 อันดับจากปีที่แล้วสู่อันดับที่ 32 ของโลก (แต่ก็ยังต่ำกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว) เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิกแล้ว ไทยเราจัดว่าอยู่ “กลางๆ”  คือยังคงตามหลังมาเลเซีย และเศรษฐกิจรุ่นพี่ที่พัฒนาไปไกลแล้วอย่าง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน  แต่ถือว่ายังดีกว่าเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม บทความนี้จะสรุป 3 […]

Continue reading


กินหวานแต่ไม่อดเปรี้ยว: อุปสรรคในการวางแผนการเงินและชีวิต

คนไทยประมาณ 70 ถึง 80% ออมเงินไม่พอสำหรับวัยเกษียณ ผลสำรวจของเมนูไลฟ์ในหมู่นักลงทุนในกรุงเทพฯ ผู้ซึ่งน่าจะครุ่นคิดถึงการวางแผนการเงินมากกว่าประชากรทั่วไปก็ยังพบว่ากว่าครึ่งคิดว่าตนมีเงินออมไม่พอสำหรับวัยเกษียณ  ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็พบว่าในขณะที่คนไทยออมน้อยลงนั้น การบริโภคมีแต่จะโตขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคประเภทอาหารการกิน เสื้อผ้า  ส่วนการบริโภคในด้านการศึกษากลับหดตัวลง ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าอัตราดอกเบี้ยตกต่ำมานาน  ตลาดหุ้นก็นิ่งๆ มาหลายปี แรงจูงใจในการตัดใจไม่บริโภควันนี้แล้วเอาไปออมหรือลงทุนจึงมีไม่มากนัก  แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอีกส่วนมันเป็นเพราะความผิดพลาดในการตัดสินใจของคนเราเองด้วย สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเราตัดสินใจวางแผนการเงินและชีวิตได้ไม่ดีพอ คือการที่เราให้ความสำคัญกับปัจจุบันมากเกินไปจนเกิดการผลัดวันประกันพรุ่ง (ไปเรื่อยๆ)  แทนที่เราจะใจเย็นยอมเก็บออมวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีกว่ามากๆ ในวันข้างหน้า เรากลับมักเลือกดื่มด่ำกับความสุขเล็กๆ วันนี้แทน (ซึ่งทำให้เราอดได้ผลตอบแทนขนาดใหญ่กว่าในอนาคต)  และหากเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ท้ายสุดแล้วในระยะยาวเราจะหันกลับมามองอดีตแล้วพบว่าเราตัดสินใจผิดพลาดแบบเล็กๆ น้อยๆ มาโดยตลอด บทความนี้จะอธิบายถึงความลำเอียงทางเวลาอย่างหนึ่งที่มีส่วนทำให้เราตัดสินใจได้ไม่ดีนักและแนะนำ 3 วิธีต่อกรกับมันเพื่อชีวิตที่ดีกว่าครับ

Continue reading


ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ: ดีไม่ดีดูอย่างไร

หลังจากที่ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กับตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกมาเรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 ขึ้นจาก 300 บาทไปเป็น 600-700 บาทต่อวันนั้นก็ได้เกิดกระแสตอบโต้มากมายทั้งจากรัฐบาลและจากฝั่งเอกชน ในวงการเศรษฐศาสตร์เองการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันอย่างเผ็ดมันมาเป็นเวลานานหลายสิบปีไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อัตราว่างงานต่ำ ช่วงหาเสียง และช่วงที่สังคมเริ่มไม่ทนกับระดับความเหลื่อมล้ำทางรายได้ บทความนี้จะสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ ผลกระทบที่ “สามารถเกิดขึ้นได้” ในเชิงทฤษฎี และหลักฐานจากการวิจัยจริงแบบสั้นๆ มาให้ท่านผู้อ่านได้เก็บไปคิดกันเผื่อวันหนึ่งจะมีการขึ้นค่าแรงอีกครั้งครับ

Continue reading


เจาะข้อมูลอุบัติเหตุ 4 แสนกรณีช่วงเทศกาลจากปี 2551-2558

วันนี้ผมเก็บ “ภาพเด็ดๆ” ซึ่งมาจากข้อมูลจริงเกี่ยวกับปัญหาใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศไทยมาให้ดูกันครับ นั่นก็คือปัญหาที่ว่า “ทำไมถึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบนท้องถนนมากมายเหลือเกิน?”  ใน Top 20 ประเทศที่มีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุด มีประเทศด้อยพัฒนาจากทวีปแอฟริกา 18 ประเทศ  ที่เหลือคือ อิหร่าน กับ ไทย (เราติดอันดับ 2 ของโลกรองจากลิเบีย) โดยมีการคาดไว้ว่าทุกๆ ปี เราจะสูญเสียพี่น้องชาวไทยไปประมาณ 24,000 คนเพราะอุบัติเหตุพวกนี้ ที่น่าโมโหเป็นเพราะว่าอุบัติเหตุมันเป็นอะไรที่ป้องกันได้ และขอบอกก่อนเลยว่าบทความนี้ยิ่งอ่านยิ่งเศร้า ยิ่งผมล้างข้อมูลและเอาหยิบมา plot ยิ่งน่าหดหู่ แต่ที่ต้องการเอา visualization มาแชร์ให้พวกเราเก็บไปช่วยๆ คิดกันเป็นเพราะว่าปัญหาอุบัติเหตุที่คร่าชีวิตคนเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนมาก มีตัวแปรจำนวนมากที่กระทบโอกาสการเกิดของมัน ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของถนน ความเร็วและประเภทของยานพาหนะ ความรักชีวิตของคนขับ พฤติกรรมดื่มสุรา การคาดเข็มขัด ความหย่อนยานของกฎหมาย ไปจนถึงความเร็วของหน่วยฉุกเฉิน เพราะฉะนั้นมันถึงแก้ยาก ถ้าแก้ผิดตัวแปร หรือแก้ไม่ครบ ปัญหานี้จะยังอยู่ต่อไป ข้อมูลในบทความนี้ดาวน์โหลดฟรีได้จาก data.go.th  เป็นข้อมูลรายกรณีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงปีใหม่และสงกรานต์ จากทั่วประเทศ ที่เข้าใจว่าเก็บโดยโรงพยาบาลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ถึง 2558 (สงกรานต์มีแค่ถึง 2557) […]

Continue reading


3 แนวคิดลงทุนกับลูกในยุคแข่งขันสูง

ผมเพิ่งเป็นคุณพ่อมือใหม่เมื่อไม่กี่วันมานี้ ในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมาก็ได้ศึกษาศาสตร์แห่งการพัฒนาเด็กมาไม่น้อย บวกกับตัวเองทำวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์อยู่แล้ว วันนี้ผมเลยจะมาเสนอ 3 แนวคิดของผมเกี่ยวกับการลงทุนกับลูกในยุคที่ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมันเร็วยิ่งกว่ากระพิบตาและค่าเล่าเรียนแพงขึ้นทุกปีจนทำให้พ่อแม่รุ่นใหม่ๆ ครุ่นเครียดกันถ้วนหน้า  ทั้งนี้ผมไม่ได้ต้องการให้เรามองว่าลูกเป็นสินทรัพย์ที่จะสร้างผลตอบแทนให้กับพ่อแม่แต่อย่างใด เพียงแต่เห็นว่าพ่อแม่หลายคนอยากให้ลูกมีอนาคตที่ดี มีความสุข และเป็นคนที่สมบูรณ์เสียยิ่งกว่าตัวเอง  สิ่งเหล่านี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ  ล้วนแต่ต้องแลกมาด้วยทรัพยากรของพ่อแม่ในระยะแรกทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น เวลา เงิน หรือ ความรู้และความใส่ใจของพ่อแม่ ไหนๆ จะ “ลงทุน” แล้วก็ควรลงทุนอย่างมีระบบนิดนึงจริงไหมครับ

Continue reading


ทำไม HR ก็ควร Data-Driven: เรื่องเล่าจากเซกเตอร์การศึกษาสหรัฐฯ

ทุกวันนี้ในสังคมดิจิทัล (ที่แท้จริง) จะเหลือ “การตัดสินใจสำคัญ” ที่ยังไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ อยู่ไม่กี่ประเภท ที่หลงเหลืออยู่ ส่วนมากจะเป็นการตัดสินใจที่มี 3 ลักษณะ เด่น คือ 1) สมัยก่อนไม่เคยมีข้อมูล ดีๆ (หรือไม่มีเลย) 2) มีผลกระทบที่คอขาดบาดตาย (high-stakes) 3) มีวัฒนธรรมในสังคมหรือองค์กรที่ชี้ว่าควรให้ “สมองคน” หรือ ” ดุลพินิจ ” ของผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นตัวชี้นำในการตัดสินใจ การสร้างทัศนคติ data-driven ระหว่างการตัดสินใจที่มีลักษณะเหล่านี้จึงเป็นไปได้อย่างเชื่องช้าและมักมีกระแสต่อต้านรุมล้อม  เรียกได้ว่ามี “ความเฉื่อย” ชั้นดีในการคอยรั้งการเปลี่ยนทัศนคติ เรามีทางเลือกที่จะตัดสินใจแบบเดิมๆ ต่อไป  แต่หลังจากที่มีข้อมูลดีขึ้น เราเริ่มเห็นแล้วว่าการตัดสินใจเหล่านี้โดยการพึ่งพา “คน” อย่างเดียวนั้นมีข้อจำกัดหรืออาจมีโทษด้วยซ้ำ เช่น ในการตัดสินใจฝากขังหรือปล่อยตัวจำเลยโดยผู้พิพาษาที่พบว่ามีการปล่อยตัวพลาดเป็นจำนวนมากอย่างน่าตกใจ เป็นต้น เพื่อให้เห็นภาพ ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นก็คือ การตัดสินใจจ้างงาน ขึ้น/ลดเงินเดือน หรือเชิญ ออก โดยจะเป็นตัวอย่างที่มาจากประสบการณ์ทำงานวิจัยของผู้เขียนในความร่วมมือกับ school district แห่งหนึ่งในสหรัฐฯ อเมริกาเพื่อหา insight […]

Continue reading


G-20 กับเกมกีดกันการค้าของทรัมป์

หลังจากที่การประชุม G-20 เสร็จสิ้นไปได้ไม่กี่วัน  เราจะได้เห็นกันว่าทรัมป์จะเริ่มเปิดศึกการค้าโลกโดยการเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กกล้าขึ้นมาได้มากถึง 20% จริงๆ หรือไม่ในอีกไม่กี่วันนี้ ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ส่งออกเหล็กกล้าหลักสำหรับสหรัฐฯ (แคนาดา บราซิล และ เกาหลีใต้) แต่ที่ประเด็นนี้สำคัญเป็นเพราะว่าหลายคนมองว่าการตัดสินใจของทรัมป์ครั้งนี้เป็นเหมือนการเปิดศึกการค้าโลกอย่างเป็นทางการ จึงไม่แปลกที่เราได้เห็นการตักเตือนให้ทรัมป์แตะเบรคกีดกันทางการค้าโดยผู้นำเศรษฐกิจกลุ่ม G-20 แทบจะทุกคน ณ การประชุม G-20 ครั้งล่าสุดเมื่ออาทิตย์ก่อน  และหากกลุ่ม G-20 ที่เหลือเริ่มทำการโต้กลับขึ้นมาแล้วเกิดสงครามการค้าโลกเช่นนั้นขึ้นมาจริงๆ ก็จะเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงเนื่องจากเศรษฐกิจกลุ่ม G-20 เป็นถึงกว่า 78% ของมูลค่าการค้าโลกทั้งหมด บทความนี้จะพาท่านผู้อ่านไปสำรวจข้อมูลมาตรการกีดกันทางการค้าและรายงานประจำครึ่งปีของ Global Trade Alert ที่สะท้อนหลายประเด็นที่น่าคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของสหรัฐฯและ G-20 หลังชัยชนะของทรัมป์ครับ 1.พฤติกรรมกีดกันทางการค้าของ G-20 ต่อประเทศทั่วโลก ภาพด้านบนมากจากรายงานครึ่งปีแรกของปี 2017 โดย Global Trade Alert (เป็นโปรเจ็คที่เริ่มโดย Think Tank สหรัฐฯ ชื่อดัง The Center for Economic and Policy […]

Continue reading


ทำไมธุรกิจถึงจะอยากรับ Bitcoin?

ในหนึ่งปีที่ผ่านมาราคาของ Bitcoin ได้พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 300% และมี market value กว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (มากกว่า Ebay เสียอีก) จากเดิมที่ Bitcoin เป็นแค่กระแสฮิตในห้องแชท ทุกวันนี้ธุรกิจหลายแห่งทั่วโลกเริ่มรับ Bitcoin กันอย่างเป็นทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Microsoft  Expedia ร้าน Bic Camera ที่พวกเราชอบไปเที่ยวในญี่ปุ่น แม้กระทั่งร้านอาหารบางร้าน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวไทยลิ้มเหล่าโหงว  และมีการคาดกันว่าภายในปีนี้จำนวนร้านค้าที่รับ Bitcoin จะทะลุ 3 แสนแห่งในประเทศญี่ปุ่น แต่มีคำถามที่ยังคาใจหลายๆ คนอยู่ก็คือ “ถ้ามันยังมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนขนาดนี้…ร้านค้าได้อะไรจากการรับ Bitcoin?” บทความนี้อธิบายเหตุผลหลักๆ 3 เหตุผลว่าทำไมร้านค้าบางร้านถึงเริ่มรับ Bitcoin ทั้งๆ ที่คนส่วนมากก็เพิ่งจะรู้จักมันเมื่อไม่กี่ปี (หรือเดือน) มานี้

Continue reading


คนรวยหรือคนจนมีพฤติกรรมเอื้อสังคมมากกว่ากัน?

นี่เป็นคำถามที่กำลังถูกถกเถียงกันอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ซึ่งมักเป็นบ่อเกิดแห่งความเชื่อและอคติที่ไม่ได้มีข้อมูลรองรับเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนที่อยู่คนละฐานะกันกับตัวเรา เช่น คนรวยมองว่าคนจนไม่ทำประโยชน์ให้สังคม หรือ คนจนมองคนรวยว่าเอาเปรียบผู้อื่นและเห็นแก่ตัว การทดลองภาคสนามในเนเธอร์แลนด์โดยทีมนักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญเรื่องการให้และการช่วยเหลือผู้อื่น พบว่าการทดลอง “ตั้งใจส่งจดหมายผิดบ้านแล้วดูว่าใครจะส่งคืน” ชี้ว่าพฤติกรรมเอื้อสังคมของคนรวยและคนจนไม่ได้มีความแตกต่างกันนักถ้าเราคำนึงว่าคนจนต้องฝ่าฟันความกดดันและเครียดทางการเงิน

Continue reading


ทำไม Bitcoin และผองเพื่อนถึงเป็นได้มากกว่าแค่สินทรัพย์เสี่ยงสูง

เมื่อ 7 ปีที่แล้ว เงินดิจิทัลสกุล “Bitcoin” ฟังดูเหมือนแค่ของเล่นที่พวกคลั่งคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่จะซื้อเก็บไว้ เหตุผลหลักๆ คือคนส่วนมากคิดว่าเงินที่จับต้องไม่ได้มันจะเป็น “เงิน” ได้อย่างไร ใครจะไปรับ และมันจะล่มหรือไม่ เพราะมันเป็นสกุลเงินที่ไม่มีองค์กรใดๆ ดูแล จะไปอยู่รอดบนโลกที่ขนาดสกุลเงินปกติบางสกุลยังแทบจะเอาตัวไม่รอดได้อย่างไร ในช่วงแรกๆ โปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกันคนหนึ่งได้ “ประเดิม” การใช้ Bitcoin เพื่อซื้อของบนโลกจริงโดยการจ่ายเพื่อนบนเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งไป 1 หมื่น BTC (BTC คือตัวย่อสกุล Bitcoin เหมือนกับที่ USD ย่อจาก “ดอลลาร์สหรัฐ”) เพื่อแลก กับพิซซ่าสองถาด ทุกวันนี้ Bitcoin ก้อนที่เอาไปแลกกับพิซซ่าแสนอร่อยสองถาดนั้นมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านดอลลาร์แล้ว (เข้าไปอ่านความฮาในกระทู้จริงได้ ที่นี่) ร้านค้าและธุรกิจใหญ่ๆ ก็เริ่มรับ Bitcoin กันอย่างเป็นทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Expedia, ร้าน Bic Camera ที่พวกเราชอบไปเที่ยวในญี่ปุ่น แม้กระทั่งร้านอาหารบางร้าน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวไทยลิ้มเหล่าโหงว ด้วยความร้อนแรงของ cryptocurrency (ขอเรียกสั้นๆ ว่า “เงินดิจิทัล”) ที่ตอนนี้มีมูลค่าตลาดรวมกันแล้วพอๆ กับมูลค่าของบริษัทสตาร์บัคส์แล้ว (เกิน […]

Continue reading


สำรวจ Weekend Effect ในตลาดหุ้นไทยด้วยข้อมูลรายวัน

***ก่อนอ่านบทความนี้ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านลองทายดูว่าในช่วง 42 ปีที่ผ่านมา จะมีกี่ปีที่ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนต่อวันของดัชนี SET ในวันศุกร์ (ราคาปิดวันศุกร์ลบราคาปิดวันพฤหัสบดี) สูงกว่าในวันจันทร์ (ราคาปิดวันจันทร์ลบราคาปิดวันศุกร์จากอาทิตย์ก่อน)*** ใครที่เคยเรียนวิชาการเงินหรือเศรษฐศาสตร์การเงินคงจะจำกันได้ว่าตำราแทบจะทุกเล่มจะต้องกล่าวถึงความผิดปกติของตลาด (Market Anomalies) ที่เคยมีคนพบเห็นมากมายในอดีต เช่น Weekend Effect (หรือ Monday/Friday/Day-of-Week Effect) ที่ผลตอบแทนรายวัน (Daily Return) ของหุ้นในวันศุกร์มักจะสูงกว่าในวันจันทร์ หรือ January Effect ที่ผลตอบแทนในเดือนมกราคมมักจะสูงกว่าเดือนอื่น ซึ่งในสายตาของนักวิชาการปรากฏการณ์เหล่านี้ถือเป็น “ความผิดปกติของตลาด” เนื่องจากหากตลาดมีประสิทธิภาพจริง จะต้องมีนักลงทุนที่สามารถใช้โอกาสนี้เพื่อทำกำไรมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่หลงเหลือปรากฏการณ์เหล่านี้อยู่อีกต่อไป ในระยะเวลาหลายสิบปีตั้งแต่ปรากฏการณ์เหล่านี้ถูกค้นพบขึ้น ทุกวันนี้นักวิชาการก็ยังคงเถียงกันอยู่ว่ามันยังมีอยู่จริงพอที่จะเป็นโอกาสให้ทำกำไรได้ไหม? หรือมันค่อยๆ แห้งเหือดไปตามเวลา? หรือเป็นแค่การตั้งใจขุดข้อมูล (data mining) โดยนักวิชาการที่ไร้จรรยาบรรณหรือเปล่า? บทความนี้ใช้ข้อมูลดัชนี SET รายวันตั้งแต่ปลายปี 1975 ถึงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (รวมแล้วประมาณ 1 หมื่นวัน) เพื่อลองสำรวจดูแบบคร่าวๆ ว่าตลาดหุ้นไทยมีควันหลงของ Weekend Effect อยู่หรือไม่ (spoiler alert: […]

Continue reading



Previous page Next page

keyboard_arrow_up