menu Menu
8 ทัศนคติอันน่าฉงนของคนไทย
By ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ Posted in Driven-by-data on October 10, 2013 One Comment 102 words
นับถอยหลังเพดานหนี้สหรัฐฯ Previous เรียนวิทย์กับเชฟทำเนียบขาว Next

เคยสงสัยบ้างไหมว่าคนไทยโดยเฉลี่ยแล้วคิดว่าอะไรคือประชาธิปไตย?

คิดอย่างไรเกี่ยวกับการแต่งงาน?

หรือคิดว่าอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญในตัวลูก?

ที่น่าสงสัยกว่าคือเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ แล้ว ค่านิยมกับทัศนคติของคนไทยอยู่ตรงไหน?

แม้ว่าค่านิยมกับทัศนคติจะเป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้ วัดออกมาเป็นตัวเลขได้ลำบาก แต่ผมคิดว่าสองสิ่งนี้เป็นอะไรที่จำเป็นมากต่อการพัฒนาประเทศและผลักดันให้สังคมเจริญก้าวหน้าได้อย่างราบรื่น  ในโพสนี้ผมไปสืบข้อมูลจาก World Values Survey และคัดเอาผลสำรวจค่านิยมและทัศนคติของคนไทยเทียบกับคนชาติอื่น ๆ มาให้ผู้อ่านลองขบคิดไปด้วยกันว่ามันสะท้อนความเป็นจริงแค่ไหนและทำไมผลลัพธ์มันถึงออกมาเป็นเช่นนี้

World Values Survey คือโครงการวิจัยค่านิยมและวัฒนธรรมโดยใช้การตระเวนไปทั่วโลกเพื่อสอบถามประชากรในประเทศต่าง ๆ ว่ามีความเห็นอย่างไรในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่การเมืองการปกครองไปจนถึงเรื่องศีลธรรม  โดยข้อมูลที่ผมคัดมาคราวนี้มาจากแบบสอบถามหลายชุด (ประมาณปี 2006-2007 แล้วแต่ประเทศ)  sample size ประมาณพันกว่าคนสำหรับทุกประเทศ  หากผู้อ่านท่านใดอ่านโพสนี้แล้วอยากเจาะลึกลงไปทำ statistical analysis จริง ๆ จัง ๆ สามารถดาวน์โหลดข้อมูลดิบได้ที่นี่

1. ประชาธิปไตยแบบ “งง ๆ”

ผลจากแบบสอบถามนี้บ่งบอกถึงความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยแบบ “งง ๆ” ของคนไทยด้วยสองเหตุผล

เหตุผลแรกคือคนไทยจำนวนไม่น้อยเลยที่ตอบว่าการมีระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดีกลับตอบว่าการมีผู้นำที่เก่งแต่ไม่ต้องยุ่งกับการเลือกตั้งหรือรัฐสภาก็เป็นสิ่งที่ดีเหมือนกัน  ลองดูตารางข้างล่างครับ

[table id=16 /]

วิธีอ่านตารางข้างบนนี้ไม่ยาก มองเป็นหลัก ๆ เอา (column)  ยกตัวอย่างคือ ช่องแรกซ้ายบนที่มีตัวเลข 23.3  แปลว่า 23.3% ของคนไทยที่ตอบว่าการมีระบอบประชาธิปไตยนั้น “ดีมาก” ก็ตอบ “ดีมาก” สำหรับอีกคำถามเกี่ยวกับการมีผู้นำเก่งที่ไม่ต้องยุ่งกับการเลือกตั้งหรือรัฐสภา (แถว row) เหมือนกัน….

การที่เราเห็นผลลัพธ์แบบนี้มันอาจจะบ่งบอกว่าคนไทยจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญว่าผู้นำต้องควรมาจากการเลือกตั้งหรือควรมีปฏิสัมพันธ์กับสภา เอาแค่ว่าเก่ง พาบ้านเมืองไปข้างหน้าได้ก็พอ อย่างอื่นมาทีหลัง

ข้อสันนิษฐานข้างบนอาจจะไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงก็เป็นได้  จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นเพราะว่าประชากรเราเบื่อหน่ายกับการเลือกตั้งหรือการอภิปรายก็เป็นได้  แต่โดยปกติแล้ว ตัวเลขใหญ่ ๆ ไม่ควรจะอยู่ในช่องแถบ ๆ บนซ้ายอย่างในกรณีประเทศเรา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ปกครองระบอบนี้และต้องการระบอบนี้)

Screen Shot 2013-10-07 at 9.26.32 PM

ดูจากรูปข้างบนจะเห็นเทรนด์ว่าในหลายประเทศที่เราคุ้นเคยเขาจะไม่ค่อยมีความขัดแย้งแบบกรณีเราไม่ว่าจะปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ก็ตาม… อย่างน้อยที่สุดช่องแถว ๆ บนซ้ายไม่ควรเขียวครับ

เหตุผลที่สองคือคนไทยจำนวนไม่น้อยเลยที่ตอบว่าการมีระบอบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดีกลับตอบว่าจะไม่มีวันเดินขบวนหรือประท้วงแบบถูกกฎหมาย

[table id=12 /]

ตัวเลขด้านบนนี้น่าเป็นห่วงนะครับ เพราะว่ามันแปลว่าประชากรไทยทำหน้าที่ “democratic citizen” แค่สี่ปีครั้งหรือเฉพาะเวลามีเลือกตั้งเท่านั้น และไม่ได้มีเจตนาจะออกเสียงนอกคูหากันเลย  นอกนั้นส่วนมากคงเป็นแค่การดูอภิปราย อ่านข่าว ถกเถียงกันด้วยลมปากหรือเป็นการเดินขบวนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น  อย่างกับว่าประชาชนถูกแยกออกมาจากเกม ไร้เรี่ยวแรงแบบถูกกฎหมายนอกคูหา  เห็นอย่างนี้แล้ว “กำลัง” จากภาคประชาชนที่จะเอามากดดันรัฐบาลระหว่างเวลาสี่ปีจะมาจากไหน?

2. ความไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่/ภาครัฐ

ผมเคยเขียนเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตัวนักการเมืองไปแล้วในโพสนี้  ความไว้วางใจเจ้าหน้าที่/ภาครัฐนั้นเป็นอะไรที่ทุกประเทศควรมีนะครับ….  ลองคิดถึงสังคมที่ไม่มีใครไว้ใจทหาร ตำรวจ ตำรวจดับเพลิง หรือนักการเมืองในการทำหน้าที่ของเขาดูสิครับ  สังคมจะอยู่ไปอย่างราบรื่นได้อย่างไร

[table id=13 /]

ในตารางด้านบน ไทยเรามีความไม่ไว้วางใจในกองทัพสูงเกินไปนะครับในความคิดผม เกือบ 50% ไม่ค่อยไว้วางใจ  ผิดกับประเทศอื่น ๆ ที่คนส่วนมากอย่างน้อยจะมั่นใจพอสมควร

[table id=14 /]

สำหรับตำรวจก็เจอเทรนด์เดิม  จะมีก็อินโดนีเซียที่คล้าย ๆ เราคราวนี้

[table id=15 /]

สุดท้ายคือความไม่ไว้วางใจในรัฐสภา  อันนี้เราไม่ประหลาดนัก  แต่ผมอยากชี้ให้ผู้อ่านลองมองเวียดนามกับจีนให้ดี ๆ ครับ ทั้งสามตารางนี้ประชาชนเขาเชื่อมั่นในหน่วยงานเหล่านี้มากเหลือเกิน นี่อาจจะเป็นข้อได้เปรียบของประเทศที่มีรากฐานแบบ socialist (ที่ยังอยู่รอดมาได้ถึงทุกวันนี้)

3. ไม่ค่อยชอบการแข่งขัน

compet

จากกราฟด้านบนจะเห็นได้ว่าคนไทยจำนวนมากค่อนข้างที่จะมีอคติกับการแข่งขันเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ  เกือบครึ่งหนึ่งเอนไปทางที่ว่าการแข่งขันไม่ค่อยเป็นสิ่งที่ดี  ที่เราเห็นอย่างนี้อาจจะเป็นเพราะว่าคนไทยคิดว่าการแข่งขันนั้นนำความแตกแยกมาสู่สังคมมากกว่าความเจริญก็เป็นได้   หากผู้อ่านลองมองดี ๆ จะเห็นว่าญี่ปุ่นก็คล้าย ๆ เราในคำถามนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ค่อนข้างต่อต้านการแข่งขันสไตล์ตะวันตกมาก บริษัทยักษ์ ๆ จึงมีการฮั๊วกัน อุ้มไปอุ้มมา ทั้ง ๆ ที่บางบริษัทเน่าเป็น zombie company ไปแล้ว

4. ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่เดิม?

hardwork

ผู้อ่านอาจจะยังจำได้ว่าตอนเด็ก ๆ คุณครูมักให้พวกเราท่องว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

แต่ว่า……………

มองจากกราฟด้านบนแล้วสงสัยพวกเราจะลืมสุภาษิตนี้ไปแล้ว  อาจจะเป็นเพราะคนไทยคิดว่าสังคมไม่แฟร์ก็เป็นได้  แต่ผมคิดว่ามันน่าสนใจที่ญี่ปุ่นก็เจอเทรนด์เดียวกัน  หรือว่ามันมีความเชื่อมโยงแบบลับ ๆ ระหว่างทัศนคติเกี่ยวกับการแข่งขันกับผลตอบแทนจากการทำงานหนัก?  อาจจะเป็นเพราะว่าถึงแม้คนไทยกับคนญี่ปุ่นจะขยันทำงานแข่งกับคนอื่นหรือแข่งกับตัวเองแค่ไหนระบบสังคมมันไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้นเลย….(ก็เป็นไปได้ เพราะว่าชีวิต salary man ในญี่ปุ่นมันช่างโหดร้ายจริง ๆ)

5. การแต่งงานเป็นอะไรที่ล้าสมัย?

[table id=3 /]

ตั้งแต่เล็กจนโต ผมได้ยินมาว่าการแต่งงานถือเป็นอะไรที่สำคัญต่อชีวิตคนเรามาก ๆ แต่เมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ แล้วจะเห็นว่าเรามีทัศนคติเกี่ยวกับการแต่งงานที่แตกต่างออกไปมากทีเดียว  ตารางด้านบนบ่งบอกว่ามีคนไทยหนึ่งในสี่คน (จากที่ไปสอบถามมา) ที่เห็นว่าการแต่งงานเป็นอะไรที่ล้าสมัย  เป็นเพราะว่าสังคมเรากดดันและคาดหวังอะไรจากคู่สมรสมากเกินไปหรือ? หรือว่าการคลุมถุงชนยังเป็นที่นิยมกันอยู่?

6. ค่านิยมเกี่ยวกับลูก

ทัศนคติต่อสิ่งที่สำคัญในตัวลูกน่าจะเป็น leading indicator แบบหยาบ ๆ ที่จะบอกใบ้ได้ว่าพ่อแม่ในแต่ละประเทศอยากเลี้ยงลูกให้ออกมาแนวไหนและประชากรรุ่นใหม่ ๆ ในอีกสิบยี่สิบปีน่าจะมีคุณสมบัติใดบ้าง  คำถามคือ:

Here is a list of qualities that children can be encouraged to learn at home. Which, if any, do you consider to be especially important? Please choose up to five!

[table id=5 /]

มองจากตารางด้านบนที่ให้คนเลือกว่าคุณสมบัติใดในตัวลูกที่สำคัญเป็นพิเศษถ้าเลือกได้แค่ห้าอย่าง จะเห็นได้ว่าคนจากแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับคุณสมบัติที่แตกต่างกันพอสมควรเลยทีเดียว (กดปุ่มshowด้านบนเพื่อโชว์คุณสมบัติอื่น ๆ ครับ)

  • ความขยัน – คนไทยแค่ 23% เท่านั้นที่ตอบว่าความขยันนั้นสำคัญเป็นพิเศษ (หรือว่าเพราะเห็นว่าพยายามไปก็เท่านั้น? เพราะไม่เห็นว่าการแข่งขันมันดี???) น่าสนใจมากเพราะว่าญี่ปุ่นก็พอกัน (33%)  ในขณะที่ % เฉลี่ยทั่วโลกนั้นเท่ากับ 62%  ส่วนจีนนั้นนำโด่งมาที่ 90%  จริงอยู่ที่ขยันอย่างเดียวไม่พอ แต่ผมคิดว่าความขยันหมั่นเพียรเป็นอะไรที่สำคัญมากนะครับ
  • ความศรัทธาทางศาสนา – จีน ญี่ปุ่น กับเวียดนามไม่เคร่งเลยในขณะที่อินโดกับสหรัฐฯค่อนข้างเคร่งมาก ๆ ส่วนทางไทยเราอยู่กลาง ๆ ครับ
  • เอาให้เลี้ยงง่าย ๆไว้ก่อน! – ไทยกับอินโดนำโด่งในด้านนี้ ครึ่งหนึ่งของคนที่ทำแบบสอบถามจากสองประเทศนี้คิดว่าความว่านอนสอนง่ายนั้นสำคัญเป็นพิเศษ

 7. ทุบตีภรรยา: จิตใต้สำนึกในไทยกับมาเลย์?

beatwife

คำถามคือ

Please tell me for each of the following actions whether you think it can always be justified, never be justified, or something in between: For a man to beat his wife

ข้อนี้…ไม่แน่ใจว่ามันเป็นไปได้อย่างไร…ผมค่อนข้างช๊อค  ในโลกที่สวยงามทุกคนควรจะตอบว่า “ไม่มีทางเถียงได้ว่าถูกต้อง”  และกราฟด้านบนควรจะเป็นสีน้ำเงินเข้มทั้งหมด  ทำไมถึงมีคนไทยกับคนมาเลย์จำนวนมากที่คิดว่าการทุบตีภรรยาเป็นอะไรที่สามารถเถียงให้ถูกต้องได้ในหลายระดับมากกว่าชาติอื่น?

ที่น่าสลดกว่าคือเมื่อแบ่งคำตอบตามเพศของผู้ตอบ ผลลัพธ์ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปขนาดนั้น… มีผู้หญิงไทยแค่ 39% ที่ตอบว่า “ไม่มีทางเถียงได้ว่าถูกต้อง”  ผมงง… หรือมันเป็นเพราะว่าผู้หญิงก็อยู่ในสังคมเดียวกัน ความคิดและทัศนคติก็โดนกลืนกินไปด้วย…

8. ความภูมิใจในชาติ

nationalpride

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม คนไทยก็ยังภูมิใจในชาติตัวเองมากที่สุดในกลุ่มประเทศที่ผมคัดมาวันนี้ครับ! สัดส่วนคนไทยที่ “ภูมิใจมาก” เลยค่าเฉลี่ยทั่วโลกไปเยอะอยู่เหมือนกัน

อ่านโพสนี้ประกอบกับโพส “ตื่นเถิดชาวไทย” แล้วผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไร  เชิญ comment ได้ครับ

world values survey ค่านิยม ทัศนคติ ประชาธิปไตย สังคมไทย


Previous Next

Leave a Reply

Your email address will not be published.

Cancel Post Comment

  1. แหม่เป็นบทความที่ เปิดมุมมองได้มากเลยทีเดียวครับ
    ขอแชร์ครับ

keyboard_arrow_up