menu Menu
อาทาเดีย
หนังสือเล่มแรกของผม
By ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ Posted in Driven-by-data, Web3 on September 18, 2022 0 Comments 128 words
เศรษฐกิจยุค AI หน้าตาเป็นแบบไหน? Previous บทเรียนชีวิตจากตำราเศรษฐ​ศาสตร์​ (​ตอนที่ 2)​: สะสมอำนาจและอยู่ให้ถูกตลาด Next

เล่มแรกต้องเขียนให้เหมือนตีดาบ 🔥

นักเขียนรุ่นใหญ่ท่านหนึ่งให้คำแนะนำผมเมื่อหลายปีก่อน

คำแนะนำนี้ทำให้ผมเหนื่อยกว่าเดิมมาก 😂 แต่ก็ขอบพระคุณมากนะครับ มันทำให้งานเขียนครั้งนี้มีความหมายขึ้น และนำพาผมไปไกลกว่าแค่การรวมเล่มมาก…

…มากแค่ไหนต้องรออ่านกันในเล่มจริง ๆ

แต่ใบ้ให้ว่า…ตั้งแต่ต้นฉบับเสร็จ 90% คอนเซ็ปต์ เรื่องราว และความคิดในหนังสือเล่มนี้ได้ท่องโลกไปไกลถึงแนวหน้าของ Web3, ติดชาร์ท OpenSea อยู่วันนึงที่ไม่คิดว่าในชีวิตนี้จะเป็นไปได้, ไปรุกไทม์แสควร์ในช่วงสัปดาห์ NFT.NYC อันแสนระห่ำ, ไปในคราบกาแฟไทยที่สร้างความประทับใจให้กับผู้คนทั่วโลก, ไปเขียนเรื่องราวขึ้นมาใหม่ร่วมกับคนแปลกหน้าในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ, และทุกวันยังคงบุกเบิกนวัตกรรมใหม่ในพื้นที่ที่เอไอมาบรรจบกับบล็อกเชน เพื่อให้ “ส่วนที่ดี”ในหนังสือเกิดขึ้นจริงบนโลกนี้

นี่คือดาบเล่มแรกของผม มันอาจไม่สมบูรณ์หรือคมที่สุดด้วยวัย 34 แต่คิดว่าเป็นดาบเล่มที่ทุ่มไปสุดตัวแล้ว 

คำนิยม

“คือหนังสือที่ผมรอคอย จูงมือเราเข้าไปในโลกที่ ไม่ใช่แค่ ‘ฝัน’ ขึ้นมาเฉยๆ หากเกิดจากฐานข้อมูลและความรู้แน่นหนา ทำให้ ‘โลกอนาคต’ ที่ว่านั้นมิใช่ ‘นิยายไซไฟ’ หากคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงรอบตัวเรา จะอ่านในฐานะ ‘นิยายโลกอนาคต’ ก็ได้ จะอ่านในฐานะ ‘หนังสือคาดการณ์โลกอนาคต’ ก็ได้ ว่าแต่ว่าทุกวันนี้เรายังสามารถแยก ‘จินตนาการ’ กับ ‘ความจริง’ ออกจากกันได้จริงหรือ”

— นิ้วกลม

“ข้อมูล… ขุมทรัพย์มหัศจรรย์สำหรับโลกยุค 4.0 ที่กำลังเปิดโอกาสทางธุรกิจ ช่วยเปลี่ยนแปลงสังคม และดิสรัปต์ทุกสรรพสิ่ง อาทาเดีย” ซึ่งเขียนโดย ดร.ณภัทร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลชั้นนำของไทย จะเป็นประตูนำท่านไปโลดแล่นในโลกแห่งอนาคต ไปลองสัมผัสก่อนผู้อื่นในมิติต่างๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีข้อมูล ทั้งในส่วนของ Big Data อัลกอริทึม ปัญญาประดิษฐ์ บล็อกเชน Internet of Things และ Metaverse ในรูปแบบที่เราไม่เคยคาดฝันมาก่อนว่าจะเป็นไปได้ หนังสือเล่มนี้พลาดไม่ได้ครับ”

— ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล
อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

“ด้วยการผสานภาคนวนิยายที่สนุกเปี่ยมรสชาติเข้ากับภาคความรู้ที่กระตุ้นต่อมความคิด อาทาเดีย” เล่มเดียวครบทั้งมิติกว้าง สูง ลึก กว้าง” ในขอบเขตการปรับใช้ Data Science ทั้งในภาคธุรกิจ และภาคนโยบายสาธารณะ สูง” ในพลังจินตนาการและระดับการมองเห็นโลกใหม่ที่ชีวิตมนุษย์จะถูกกำหนดด้วยข้อมูล และ ลึก” ในการไม่หลีกเลี่ยงที่จะเผชิญความท้าทายและด้านมืดของเทคโนโลยี”

— ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร
รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คอนเซ็ปต์

ตั้งแต่วันนั้นที่ได้รับคำแนะนำมา ผมตัดสินใจว่าต้องการเขียน “หนังสือที่มีจิตวิญญาณ

หนังสือที่เข้าถึงประเด็นลึกซึ้งโดยไม่ต้องแคร์นักว่าจะมีใครว่างพอจะร่วมขบคิดไปพร้อมกันหรือไม่ และไม่ต้องกลัวผิดในประเด็นใหม่ ๆ ที่ทั้งโลกนี้ก็ยังไม่มีคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่แน่ชัด

โดยเนื้อหาแล้วหนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในวันที่เทคโนโลยีข้อมูลหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น บิ๊กดาต้า Web3 เอไอ วิทยาศาสตร์ข้อมูล บล็อกเชน และ โทเคน เข้ามาบรรจบกันและสร้างผลกระทบกับทุก ๆ ด้านของชีวิต ธุรกิจ และสังคม

จากมุมมองของคนที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล แลดูเป็นเรื่องอันตรายและน่าเสียดายที่เรื่องเหล่านี้ถูกทำให้เข้าใจยากเกินจำเป็นทั้ง ๆ ที่ “ข้อมูล” เป็นเรื่องใหญ่และกระทบกับทุกชีวิตบนโลกนี้เป็นอันเรียบร้อยแล้ว

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงตัดสินใจรื้อคอนเซ็ปต์เดิมที่ตั้งใจจะเขียนให้เป็นหนังสือธุรกิจหรือหนังสือวิชาการทั้งหมดทิ้ง แล้วลองเข้าไปเยี่ยมไอเดียเดิม ๆ เหล่านั้นอีกครั้งด้วยสปิริตแห่งโลกไซไฟที่เปิดกว้างให้กับความเป็นไปได้ทุกอย่าง

สิ่งที่ได้ก็คือโครงสร้างหนังสือแบบ “ไฮบริด”

ครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องแต่ง (fiction) อีกครึ่งเป็นเรื่องจริง (nonfiction)

เรื่องแต่ง เป็นเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง ๆ หนึ่งในอนาคตอีก 30 กว่าปีจากนี้ ชื่อว่าเมือง “อาทาเดีย”

เรื่องจริง เกิดขึ้นแล้วในโลกที่เราอยู่อาศัยกันนี้ รวมถึงเรื่องราวที่ผมประสบกับการสอนและการทำงานในประเทศสหรัฐฯ ประเทศไทย และในโลก Web3

ส่วนวิธีอ่านที่เต็มรูปแบบที่สุด คือ ค่อย ๆ อ่านเป็นคู่ ๆ นั่นคือ อ่านบทเรื่องแต่งได้บทหนึ่ง ให้กระโดดไปอ่านบทเรื่องจริงที่คู่กับมัน ทีละคู่ ๆ

จะเรียกว่า เป็นการซึมซาบหนังสือแบบเดียวกับเวลาเราดูซีรีส์ Black Mirror แต่มี “บทเฉลย” เพื่อไขข้อข้องใจและประเด็นหลักในทุก ๆ ตอนก็ว่าได้

เนื้อหา “เรื่องแต่ง”

แก่นของเรื่องราวของชาวอาทาเดีย อยู่ที่คำว่า

“การต่อสู้” หรือ “struggle”

ที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านมุมมองและชีวิตส่วนตัวของตัวละครพ่อแม่ลูก 4 ชีวิตในเมืองที่ทุก ๆ อย่างขับเคลื่อนด้วยอัลกอริทึม

“การต่อสู้” ที่ว่านี้อยู่ในหลายระดับ ระหว่างการควบคุมและอิสรภาพ ฝูงชนกับชนชั้นนำ ส่วนรวมกับส่วนตัว ความปลอมแปลงกับความแท้จริง คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ซ้ายกับขวา และที่สำคัญที่สุด ระหว่างชะตากับ free will

เรื่องราวของ พ่อเมฆ แม่ฟ้า แสนดี และปัญ เกิดขึ้นในวันวันหนึ่งของปี 2054 ระหว่างที่กลุ่มกบฎใต้ดินกำลังคิดต่อต้านคณะปกครองของเผด็จการเดชา ผู้นำจากอดีตการณ์ที่ควบคุมทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของชาวอาทาเดียที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่

ชีวิตที่เคยมีสุขร่วมกันของทั้ง 4 ถูกเขย่าและร่วงลงไปอยู่ในใจกลางมรสุมของความขัดแย้งเหล่านี้ ท่ามกลางความสมยอมอย่างไม่น่าเชื่อของชาวอาทาเดียที่ล้วนตกเป็นทาสทางความคิดและร่างกายมาแต่ยาวนาน

และเป็นโชคของผมจริง ๆ ที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับ คุณเตย สุทธิภา คําแย้ม award-winning illustrator ฝีมือระดับโลกในการใช้เรื่องราวนี้เป็นแรงบันดาลใจวาดภาพประกอบประกบทุกบทและตัวละครในเมืองแห่งนี้

ปกหนังสือภาคอังกฤษ

และระหว่างที่หนังสืออาทาเดียฉบับภาษาไทยอยู่ในระหว่างจัดพิมพ์ บางส่วนของเรื่องแต่งนี้ได้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ และมีการแต่งเติม ตัดแต่ง เรียบเรียงใหม่ให้เข้ากับวัฒนธรรมในโลก Web3 โดยมนุษย์ที่อยู่ในโลก Web3 และจะวางแผงในอีกไม่กี่เดือนหลังจากนี้ครับ 👀

เนื้อหา “เรื่องจริง”

ผมคัดมิติในสังคมมนุษย์ที่เทคโนโลยีข้อมูลสร้างผลกระทบมากที่สุดมา 12 มิติ และแยกเป็น 12 บท ดังนี้

บทที่ 1 “Atadia”

เกี่ยวกับเมืองอนาคต หรือ smart city ที่ได้ยินกันจนชินหู  รถยนต์ไร้คนขับ ขับเองได้อย่างไรนะ? มี IoT แล้วไงต่อ? วางผังเมืองอย่างไรให้ฉลาด?

บทที่ 2 “NeoCommerce”

เกี่ยวกับอนาคตของการค้า โอกาสทางธุรกิจต่างๆ ที่ดูเหลือเชื่อหากไม่มีข้อมูล รวมถึงและรูปแบบการตลาดที่ผิดแปลกหรือ creepy เกินไปเพราะ big data จนไม่แน่ใจว่ามนุษย์ยัง “คิด” เป็นหรือไม่

บทที่ 3 “Pandemic”

เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเพื่อควบคุมโรค บทนี้แทรกเข้าไปเพราะโควิด อัดแน่นเรื่องราวตั้งแต่ระลอกแรก ระลอกที่ยังพอ trace ได้ ถึงระลอกบานปลายที่ผมทำงานกับ Jitasa.care 

บทที่ 4 “Perfect Hedge”

เกี่ยวกับการทำนายความเสี่ยง และประกันภัย  ชวนคิดโลกอนาคตที่ความเสี่ยงเริ่มถูกเดาได้มากขึ้น 

บทที่ 5 “State”

เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม บทนี้ยาวที่สุด รวมเนื้อหาตั้งแต่การเก็บข้อมูล การทำ evidence based policy ไปจนถึงค้นหาแนวทางในการแสดงความเห็น/โหวต ให้มีประสิทธิภาพกว่าปัจจุบัน

บทที่ 6 “Coins”

เกี่ยวกับเงินอนาคต เนื้อหาเน้นไปทาง 1) alternative credit 2)โอกาส อุดมการณ์ และความเสี่ยงของโลกเศรษฐกิจโทเคน 3) อัตลักษณ์ของธนาคารกลาง และ 4) การกลับมาของ “ตลาดที่หายไป”

บทที่ 7 “The Great Equalizers”

เกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในสังคม กับบทบาทของเทคโนโลยีข้อมูล ทั้งที่ซ้ำเติมให้สังคมเละเทะกว่าเดิม และที่อาจจะ counteract ได้บ้าง

บทที่ 8 “Human Condition”

เกี่ยวกับจุดยืนของมนุษย์ในโลกเอไอ รวมถึง การพัฒนาทุนมนุษย์ให้เป็นระบบ มีหลักฐานเชิงข้อมูล ไม่ละลายเงินภาษีประชาชน

บทที่ 9 “Thou Art”

เกี่ยวกับคุณค่าและตัวตนของศิลปะ ในโลกของเอไอและ NFT ตั้งแต่ภาพเขียน ดนตรี เต้น งานปั้น etc

บทที่ 10 “Death”

เกี่ยวกับมนุษย์และความสัมพันธ์กับความตายในโลกอนาคต เทคโนโลยีข้อมูลกับการยืดอายุขัย การเตรียมมรดก และการจำลองตัวตนหลังความตาย

บทที่ 11 “Destiny, Again”

เกี่ยวกับความรักในโลกอัลกอริทึม มีมุมมอง เศรษฐศาสตร์เจือปน ตั้งคำถามและเสริมมุมมองภาวะคน “รักไม่เป็น” ในยุคสังคมก้มหน้า

บทที่ 12 “Justice”

เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ว่าทำให้มันดีกว่านี้ คนล้นคุกน้อยลง คนดีเข้าคุก น้อยลง และชี้จุดบอดของเอไอไม่ให้มโนเชื่อมันทุกอย่างจนพ่าย algorithmic bias 

บทสุดท้าย Epilogue

บทสุดท้าย ถือเป็นตอนจบปลายเปิดของเรื่องแต่ง ที่ตีความได้หลายแง่มุมว่าใครเป็นผู้ชนะของ “การต่อสู้” ในมิติต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้พบกับคำตอบ และบันทึกเป็นคำทำนายไว้เพื่อรอวันแห่งอนาคตโคจรมาตัดสินเอง

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใคร?

หนังสือนี้ไม่เหมาะกับคนที่ต้องการคำตอบที่เร่งด่วนแนว self-help หรือสูตรสำเร็จในการทำ digital transformation (มันไม่มี!)

หนังสือเล่มนี้เหมาะกับคนที่รักและตื่นเต้นกับเทคโนโลยีข้อมูล รวมถึง สงสัย ท้าทาย คันสมอง และอยากรู้ว่าพวกมันทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ โดยเฉพาะในวันที่พวกมันถาโถมเข้ามาเร็วขึ้นทุกวี่วัน มนุษย์มีทางเลือกที่จะวางมันไว้ในกรอบ 12 กรอบของชีวิต/สังคมที่ผมคัดมาอย่างไร จึงจะเกิดสาธารณะประโยชน์สูงสุด?

หนังสือที่เป็นเอามาก…

อ่าน 580+ หน้าแล้วยังไม่จุใจ?

เขาว่ากันว่ามีวิธีในการก้าวมาเป็นชาวอาทาเดียและเดอะโปรเทคเตอร์ได้จริง ๆ 🤝 หรือแม้กระทั่ง ดื่มด่ำกับมันอีกขั้นกับสินค้าแฟชั่น ศิลปะ และกาแฟจากหุบเขาอันไกลโพ้นในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง…

พบกันใหม่ที่อาทาเดีย และมหกรรมหนังสือระดับชาติ 2565 ครับ

Link สั่งจอง pre-order 👇 ก่อน 3 ตุลาคม ได้รับส่วนลด 15% ครับ

https://salt.co.th/product/atadia/

🔥🔥 สำหรับท่านที่สนใจเนื้อหาเรื่อง Web3 เป็นพิเศษ สามารถลงทะเบียนคอร์ส Intro กับ ดร.ณภัทร ได้ที่ https://nsu3jfe5pn0.typeform.com/introweb3  3-hour & online ครับ


Previous Next

Leave a Reply

Your email address will not be published.

Cancel Post Comment

keyboard_arrow_up