จากที่ผู้เขียนร่ำเรียนเศรษฐศาสตร์มา 9 ปี และใช้ชีวิตมาจะครบ 30 ปีแล้ว พบว่าแม้หลายอย่างในตำราจะไม่ค่อยมีประโยชน์โดยตรงนักในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะมัน “obvious” (ชัดเจน) อยู่แล้ว หรือมันซับซ้อนเกินไป แต่สิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมักจะโผล่เข้ามาอย่างเป็นประจำ คอยย้ำอยู่นั่น มันทำให้เราคิดว่า “อืม…เป็นอย่างนั้นจริงๆ อีกแล้วแฮะ” บทความซีรีย์นี้จะหยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากตำราเศรษฐศาสตร์ที่ผมมองว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมาเล่าผ่านประสบการณ์จริง เผื่อจะไปเป็นประโยชน์ต่อชีวิตผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ ตอนที่แล้วเราคุยกันว่า “ทำไมผู้อ่อนไหวคือผู้ชนะ” ส่วนตอนที่ 2 เราจะมาดูบทเรียนที่สอง นั่นก็คือการสะสมอำนาจและอยู่ให้ถูกตลาด
จากที่ผู้เขียนร่ำเรียนเศรษฐศาสตร์มา 9 ปี และใช้ชีวิตมาจะครบ 30 ปีแล้ว พบว่าแม้หลายอย่างในตำราจะไม่ค่อยมีประโยชน์โดยตรงนักในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะมัน “obvious” อยู่แล้ว หรือมันซับซ้อนเกินไป แต่สิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมักจะโผล่เข้ามาอย่างเป็นประจำ คอยย้ำอยู่นั้น มันทำให้เราคิดว่า “อืม.. เป็นอย่างนั้นจริงๆ อีกแล้วแฮะ” บทความซีรีย์นี้จะหยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากตำราเศรษฐศาสตร์ที่ผมมองว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตจริงมาเล่าผ่านประสบการณ์จริง เผื่อจะไปเป็นประโยชน์ต่อชีวิตผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ
ทุกวันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื้อรังในระบบการศึกษาและปัญหามีจำนวนมากมายแทบจะทุกจุดของระบบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคะแนน PISA ต่ำจนน่ากังวล ปัญหาเด็กออกกลางคัน ปัญหาระบบประเมินครูที่ไม่มีความหมาย ปัญหาครูไม่พร้อมสอนภาษาอังกฤษ ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการศึกษาระหว่างประชากรในกลุ่มต่างๆ จะควบคุมธุรกิจกวดวิชาอย่างไร ฯลฯ แต่สิ่งที่น่าหงุดหงิดที่สุดคือในหลายปีที่ผ่านมาเราไม่ได้นิ่งเฉยและเราไม่ได้ไม่มีเงินที่จะเอามาใช้เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด (ราว 18% ของงบประมาณทั้งหมด) เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนต่อ GDP แล้วถือมากกว่าอีกหลายประเทศที่มีผลลัพธ์ทางการศึกษาดีกว่าเรา ในมุมมองของผู้เขียน สิ่งที่เป็นต้นตอของแทบทุกปัญหาการศึกษาไทยก็คือ “ปัญหาจ่ายมากได้น้อย” นั่นเอง เหตุผลที่เกิดปัญหา “จ่ายมากได้น้อย” อันเรื้อรังมาเป็นเวลานานหลายปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราทุกคนต่างวาดภาพ “การศึกษาในอุดมคติ” ไว้ในหัวกันทั้งนั้น ลองสังเกตดูสิครับ ทุกวันนี้ไม่ว่าใครจะอยู่ในสายอาชีพใด ไม่ว่าจะมีประสบการณ์ในระบบการศึกษาจริงหรือไม่ จะพบได้ว่าแทบทุกคนจะมีมุมมองหรืออุดมการณ์หนักแน่นในการแก้ไขปัญหาการศึกษาในรูปแบบของตัวเองที่คิดว่า “น่าจะดีที่สุด” กันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงที่ต้องยอมรับคือแทบจะไม่มีใครทราบเลยว่า หนึ่ง จะทำให้สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปถึง “การศึกษาในอุดมคติ”เหล่านั้นได้อย่างไร? และ สอง จะทราบได้อย่างไรว่า “การศึกษาในอุดมคติ” ของใครดีกว่ากัน หรือเหมาะสมกับบริบทของประเทศมากกว่ากัน? จึงไม่แปลกที่ในหลายสิบปีที่ผ่านมาเรามีการเปลี่ยนผู้นำการศึกษาไทยเฉลี่ยแล้วแทบจะทุกปี และเราได้เห็นการดำเนินนโยบายการศึกษาที่มาจากหลายแนวคิดมากภายในเวลาอันสั้น แต่สิ่งที่แทบไม่เปลี่ยนคือความผิดหวังในจิตใจประชาชนจำนวนมากที่ว่าความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการเมืองเหล่านี้ กับการอัดฉีดเม็ดเงินอันมหาศาลที่ผ่านมา ไม่เห็นได้นำมาซึ่งความก้าวหน้าในการพัฒนาอนาคตของชาติเลย บทความชิ้นนี้เสนอ 2 สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าจะช่วยให้เราปฏิรูปการศึกษาได้อย่างมีทิศทางมากขึ้นครับ
ในหนึ่งปีที่ผ่านมาราคาของ Bitcoin ขึ้นมากว่า 1000% ขณะนี้ราคาขึ้นมาแตะที่ระดับเกิน 1 หมื่นดอลลาร์ต่อ 1 BTC แล้ว ทำให้ market capitalization ของ Bitcoin เท่ากับราวๆน้องๆ 50 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ไทยปีที่แล้วเลยทีเดียว มูลค่าของเงินดิจิทัลที่สัมผัสไม่ได้ ที่เคยไร้ค่า ตอนนี้พอๆ กับเกือบครึ่งของ GDP ประเทศไทย หลายคนเห็นราคาแบบนี้แล้วจึงสงสัยว่า “เขาซื้อ Bitcoin กันไปทำไม” และ “มันเป็นฟองสบู่หรือเปล่า?” “ทำไมถึงมีคนคิดว่าจะยังวิ่งไปได้อีก”
นับวันเทคโนโลยียิ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่เราไม่เคยนึกมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของเรากับ “เงิน ที่ได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างน่าตกใจ จากเคยใช้เงินสดสู้การใช้ QR code จากแต่งตัวเดินไปธนาคารสู่โอนเงินผ่านแอพในชุดนอน หรือแม้กระทั่งจากที่ใช้เงินสกุลท้องถิ่นแสนคุ้นเคยสู่การใช้เงินคริปโต บทความซีรี่ย์ Future of Money จะหยิบมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเงินที่กำลังเปลี่ยนไปมาเล่าให้ผู้อ่านฟังกันครับ
ประเดิมกันไปสดๆ ร้อนๆ นะครับกับตลาด Bitcoin futures สองแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่เปิดตัวไปในอาทิตย์ที่ผ่านมา สัญญา Futures ของ Bitcoin ภายใต้ ticker “XBT” เปิดให้เทรดที่ Cboe ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ราคา futures เดือนมกราคาของ Bitcoin ก็ทยานขึ้นไปเกิน 25% ส่งผลให้ตลาดเกิด circuit breaker ยุติการซื้อขายชั่วคราวถึง 2 ครั้ง ถือเป็นสัญญานว่า Wall St. มองว่า Bitcoin จะยังไปต่อได้อีก คลายความกังวลในหมู่นักเทรด Bitcoin กันไปชั่วขณะเนื่องจากในอาทิตย์ที่ผ่านมาเริ่มมีกระแสว่าการมาของตลาด Futures ครั้งนี้อาจเปิดโอกาสให้ผู้เล่นยักษ์ใหญ่เข้ามาถล่มและเก็งกำไรจากการร่วงหล่นของราคา Bitcoin ในตลาด Spot บทความนี้จะชี้ 2 ประเด็นที่น่าจับตามองหลังจากที่ Wall St. กำลังเข้ามาร่วมวงในโลกคริปโตครั้งนี้ครับ
ในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาคำว่า “ฟินเทค” กลายเป็นคำพูดที่ติดหูที่สุดในแวดวงการเงินทั่วโลก จากเดิมที่คนเราคุ้นเคยกับการเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร ตอนนี้การทำธุรกรรมที่ปลายนิ้วโดยไม่ต้องเจอใครเลยจากทุกที่บนโลก (และบางทีไม่ต้องผ่านตัวกลางใดๆ) กำลังจะกลายเป็น new normal สำหรับผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อย แม้ว่าธนาคารใหญ่ๆ หลายเจ้าจะเริ่มไหวตัวกันแล้วบ้างแล้ว เช่น เริ่ม digitize ข้อมูลและระบบเดิมมากขึ้นหรือเริ่มทำ mobile banking ก็ยังถือว่าเป็นการปรับตัวที่เชื่องช้ามากเมื่อเทียบกับไอเดียและความคิดที่กำลังถูกปรุงแต่งโดยทีมสตาร์ตอัพฟินเทคใหม่ๆ จึงเกิดคำถามขึ้นว่าธนาคารยุคเก่าที่เราคุ้นเคยกันจะอยู่รอดอย่างไรท่ามกลางคลื่นลูกใหม่ที่กำลังรุกรานถิ่นเก่าการเงินนี้
ขณะนี้คงไม่มีใครในโลกลงทุนที่ไม่รู้จักเงินสกุลดิจิทัลหรือ “cryptocurrency” แล้ว market capitalization ในตลาด cryptocurrency อยู่ที่เฉียดๆ 170 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของ market capitalization ของ SET50! โดยมีเงินสกุลดิจิทัลพันธุ์ใหม่ๆ เกิดแก่เจ็บตายกันเป็นว่าเล่น บทความนี้จะพาท่่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ 3 สกุลเงินดิจิทัลที่ถึงแม้จะยังไม่โด่งดังเท่า Bitcoin หรือ Ethereum (สองสกุลที่ครองกว่า 70% ของตลาด cryptocurrency) แต่ผู้เขียนคิดว่ามีอุดมการณ์เบื้องหลังที่น่าติดตามและมีโอกาสขึ้นมาสร้างบทบาทมากขึ้นในอนาคตครับ 1.Ripple (XRP) Ripple ที่จริงแล้วไม่ใช่ชื่อสกุลเงินดิจิทัลแต่เป็นชื่อของระบบเครือข่ายการชำระเงินทั่วโลกแบบ “cryptoๆ” ที่ช่วยอำนวยให้การชำระเงิน แลกเปลี่ยนหรือส่งสินทรัพย์ไม่ว่าจะจากที่ใดในโลก เกิดขึ้นได้อย่างไร้แรงเสียดทานและรวดเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก การส่งเงินต่างสกุลให้ญาติที่อยู่ต่างแดน พูดง่ายๆ ก็คือ Ripple เป็นตัวกลางที่คอยเสาะหาช่องทางที่มีต้นทุนต่ำที่สุดสำหรับการทำธุรกรรมทุกประเภท สองจุดที่ Ripple สามารถเข้ามาเขย่าวงการได้มากที่สุดคือ 1. การทำ settlement ระหว่างธนาคาร 2.การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ทั้งสองจุดนี้หลายคนคงทราบดีว่าเข้าจุดอิ่มตัวมานานหลายสิบปี มีกระบวนการที่หลายต่อ และมีพ่อค้าคนกลางหลายคน การทำ settlement […]
ล่าสุดทาง World Economic Forum ได้ออกรายงาน Global Competitiveness Report (GCR) สำหรับปี 2017-2018 ซึ่งถือเป็นรายงานที่มีอิทธิพลอย่างมากในหมู่นักธุรกิจ นักวิชาการและนักพัฒนานโยบายทั่วโลก สำหรับท่านที่ไม่คุ้นเคยกับรายงานฉบับนี้ GCR เป็นผลพวงมาจากการเก็บข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศจากหลายองค์กร รวมไปถึงการทำแบบสอบถามถึงมุมมองของกลุ่มนักธุรกิจ เพื่อประกอบกันเป็นดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Global Competitiveness Index หรือย่อว่า GCI) ที่สามารถใช้ช่วยอธิบายการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวและความมั่งคั่งของแต่ละประเทศได้ จุดเด่นของรายงานฉบับนี้คือเราสามารถเจาะลึกลงไปดูได้ว่าในแต่ละประเทศมีจุดอ่อนจุดแข็งในด้านไหนบ้างใน 12 มิติของการพัฒนา และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วประเทศของเราอยู่ตรงไหน โดยรวมแล้วดัชนี GCI ของประเทศไทยในปีนี้ขยับขึ้นมา 2 อันดับจากปีที่แล้วสู่อันดับที่ 32 ของโลก (แต่ก็ยังต่ำกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว) เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิกแล้ว ไทยเราจัดว่าอยู่ “กลางๆ” คือยังคงตามหลังมาเลเซีย และเศรษฐกิจรุ่นพี่ที่พัฒนาไปไกลแล้วอย่าง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน แต่ถือว่ายังดีกว่าเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม บทความนี้จะสรุป 3 […]
Previous page Next page
Recent Comments