menu Menu

G-20 กับเกมกีดกันการค้าของทรัมป์

หลังจากที่การประชุม G-20 เสร็จสิ้นไปได้ไม่กี่วัน  เราจะได้เห็นกันว่าทรัมป์จะเริ่มเปิดศึกการค้าโลกโดยการเพิ่มภาษีนำเข้าเหล็กกล้าขึ้นมาได้มากถึง 20% จริงๆ หรือไม่ในอีกไม่กี่วันนี้ ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ส่งออกเหล็กกล้าหลักสำหรับสหรัฐฯ (แคนาดา บราซิล และ เกาหลีใต้) แต่ที่ประเด็นนี้สำคัญเป็นเพราะว่าหลายคนมองว่าการตัดสินใจของทรัมป์ครั้งนี้เป็นเหมือนการเปิดศึกการค้าโลกอย่างเป็นทางการ จึงไม่แปลกที่เราได้เห็นการตักเตือนให้ทรัมป์แตะเบรคกีดกันทางการค้าโดยผู้นำเศรษฐกิจกลุ่ม G-20 แทบจะทุกคน ณ การประชุม G-20 ครั้งล่าสุดเมื่ออาทิตย์ก่อน  และหากกลุ่ม G-20 ที่เหลือเริ่มทำการโต้กลับขึ้นมาแล้วเกิดสงครามการค้าโลกเช่นนั้นขึ้นมาจริงๆ ก็จะเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงเนื่องจากเศรษฐกิจกลุ่ม G-20 เป็นถึงกว่า 78% ของมูลค่าการค้าโลกทั้งหมด บทความนี้จะพาท่านผู้อ่านไปสำรวจข้อมูลมาตรการกีดกันทางการค้าและรายงานประจำครึ่งปีของ Global Trade Alert ที่สะท้อนหลายประเด็นที่น่าคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของสหรัฐฯและ G-20 หลังชัยชนะของทรัมป์ครับ 1.พฤติกรรมกีดกันทางการค้าของ G-20 ต่อประเทศทั่วโลก ภาพด้านบนมากจากรายงานครึ่งปีแรกของปี 2017 โดย Global Trade Alert (เป็นโปรเจ็คที่เริ่มโดย Think Tank สหรัฐฯ ชื่อดัง The Center for Economic and Policy […]

Read more


ทำไมธุรกิจถึงจะอยากรับ Bitcoin?

ในหนึ่งปีที่ผ่านมาราคาของ Bitcoin ได้พุ่งขึ้นมาแล้วกว่า 300% และมี market value กว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (มากกว่า Ebay เสียอีก) จากเดิมที่ Bitcoin เป็นแค่กระแสฮิตในห้องแชท ทุกวันนี้ธุรกิจหลายแห่งทั่วโลกเริ่มรับ Bitcoin กันอย่างเป็นทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Microsoft  Expedia ร้าน Bic Camera ที่พวกเราชอบไปเที่ยวในญี่ปุ่น แม้กระทั่งร้านอาหารบางร้าน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวไทยลิ้มเหล่าโหงว  และมีการคาดกันว่าภายในปีนี้จำนวนร้านค้าที่รับ Bitcoin จะทะลุ 3 แสนแห่งในประเทศญี่ปุ่น แต่มีคำถามที่ยังคาใจหลายๆ คนอยู่ก็คือ “ถ้ามันยังมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนขนาดนี้…ร้านค้าได้อะไรจากการรับ Bitcoin?” บทความนี้อธิบายเหตุผลหลักๆ 3 เหตุผลว่าทำไมร้านค้าบางร้านถึงเริ่มรับ Bitcoin ทั้งๆ ที่คนส่วนมากก็เพิ่งจะรู้จักมันเมื่อไม่กี่ปี (หรือเดือน) มานี้

Read more


คนรวยหรือคนจนมีพฤติกรรมเอื้อสังคมมากกว่ากัน?

นี่เป็นคำถามที่กำลังถูกถกเถียงกันอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ซึ่งมักเป็นบ่อเกิดแห่งความเชื่อและอคติที่ไม่ได้มีข้อมูลรองรับเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนที่อยู่คนละฐานะกันกับตัวเรา เช่น คนรวยมองว่าคนจนไม่ทำประโยชน์ให้สังคม หรือ คนจนมองคนรวยว่าเอาเปรียบผู้อื่นและเห็นแก่ตัว การทดลองภาคสนามในเนเธอร์แลนด์โดยทีมนักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญเรื่องการให้และการช่วยเหลือผู้อื่น พบว่าการทดลอง “ตั้งใจส่งจดหมายผิดบ้านแล้วดูว่าใครจะส่งคืน” ชี้ว่าพฤติกรรมเอื้อสังคมของคนรวยและคนจนไม่ได้มีความแตกต่างกันนักถ้าเราคำนึงว่าคนจนต้องฝ่าฟันความกดดันและเครียดทางการเงิน

Read more


ทำไม Bitcoin และผองเพื่อนถึงเป็นได้มากกว่าแค่สินทรัพย์เสี่ยงสูง

เมื่อ 7 ปีที่แล้ว เงินดิจิทัลสกุล “Bitcoin” ฟังดูเหมือนแค่ของเล่นที่พวกคลั่งคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่จะซื้อเก็บไว้ เหตุผลหลักๆ คือคนส่วนมากคิดว่าเงินที่จับต้องไม่ได้มันจะเป็น “เงิน” ได้อย่างไร ใครจะไปรับ และมันจะล่มหรือไม่ เพราะมันเป็นสกุลเงินที่ไม่มีองค์กรใดๆ ดูแล จะไปอยู่รอดบนโลกที่ขนาดสกุลเงินปกติบางสกุลยังแทบจะเอาตัวไม่รอดได้อย่างไร ในช่วงแรกๆ โปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกันคนหนึ่งได้ “ประเดิม” การใช้ Bitcoin เพื่อซื้อของบนโลกจริงโดยการจ่ายเพื่อนบนเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งไป 1 หมื่น BTC (BTC คือตัวย่อสกุล Bitcoin เหมือนกับที่ USD ย่อจาก “ดอลลาร์สหรัฐ”) เพื่อแลก กับพิซซ่าสองถาด ทุกวันนี้ Bitcoin ก้อนที่เอาไปแลกกับพิซซ่าแสนอร่อยสองถาดนั้นมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านดอลลาร์แล้ว (เข้าไปอ่านความฮาในกระทู้จริงได้ ที่นี่) ร้านค้าและธุรกิจใหญ่ๆ ก็เริ่มรับ Bitcoin กันอย่างเป็นทางการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Expedia, ร้าน Bic Camera ที่พวกเราชอบไปเที่ยวในญี่ปุ่น แม้กระทั่งร้านอาหารบางร้าน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวไทยลิ้มเหล่าโหงว ด้วยความร้อนแรงของ cryptocurrency (ขอเรียกสั้นๆ ว่า “เงินดิจิทัล”) ที่ตอนนี้มีมูลค่าตลาดรวมกันแล้วพอๆ กับมูลค่าของบริษัทสตาร์บัคส์แล้ว (เกิน […]

Read more



Previous page Next page

keyboard_arrow_up