menu Menu

เจาะปัญหา "ความเหลื่อมล้ำ"

นับตั้งแต่ Thomas Piketty เขียนหนังสือเรื่อง Capital in the Twenty-First Century ขึ้นมาเมื่อสองปีก่อน คนทั่วโลกก็ได้ตาสว่างเห็นภาพที่แท้จริงของสังคมตนเองและเกิดความกังวลมากมายว่าสังคมกำลังกลับไปสู่ยุคทุนนิยมจากมรดก (patrimonial capitalism) ที่คนรวยรวยเพราะบิดามารดารวย ไม่ได้รวยเพราะความสามารถ กังวลว่ามีอะไรผิดปกติที่ผู้บริหารระดับสูงมีรายได้มากกว่าลูกจ้างธรรมดาๆ เกินกว่า 300 เท่า กังวลว่าระดับความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้นนับวันนับคืนจะนำมาซึ่งความหายนะต่อระบบเศรษฐกิจและระบอบประชาธิปไตย ไปจนถึงความกังวลว่านโยบาย Global Wealth Tax ที่ Piketty เสนอนั้นจะทำลายแรงจูงใจในการทำงานและพัฒนาตนเอง ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมานี้ผมได้มีโอกาสทบทวนความคิดเกี่ยวกับปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ” จากการถกเถียงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนรู้จักหลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายระดับฐานะ หลากหลายอาชีพ ผมคิดว่าความเหลื่อมล้ำนั้นเป็นประเด็นที่ซับซ้อน ลึกซึ้ง และซึมแทรกลงไปในสังคมเกินกว่าที่จะสามารถแก้ไขได้ด้วยเครื่องมือทางเศรษฐกิจเพียงไม่กี่ชิ้น จะโทษระบบทุนนิยมก็ไม่ถูกเพราะว่ามันไม่ใช่ผู้ร้ายตัวจริงเสียทีเดียว ทุนเป็นเพียง “พาหนะ” ของความเหลื่อมล้ำเท่านั้น และถึงแม้ประเด็นความเหลื่อมล้ำนี้จะซับซ้อนแต่ก็ยังเป็นประเด็นสำคัญที่พวกเราไม่ควรลืมมันไป บทความนี้จะนำเสนอแนวคิดและสถิติเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำที่น่าสนใจทั้งจากผลงานของนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่อย่าง Joseph Stiglitz หรือ Thomas Piketty ไปจนถึงแนวคิดเชิงปรัชญาจากนักเศรษฐศาสตร์รุ่นบุกเบิก อย่าง Vilfred Pareto เพื่อเป็นการจุดประกายการถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยจะเจาะปัญหานี้จาก 4 มุมมองคำถามต่อไปนี้ อะไรคือ […]

Read more



Previous page Next page

keyboard_arrow_up