พักหลังนี้มีคนคิดชื่อแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ขึ้นมามากมายหลายชื่อไม่ว่าจะเป็น Abenomics (วิทยายุทธอัดฉีดเงินเข้าเส้นเลือดซามูไร) Bernankenomics (วิทยายุทธพิมพ์เงินจากอากาศในฝั่งอเมริกา), Draghinomics (วิทยายุทธบาซูก้ายักษ์ในยุโรป), Freakonomics (podcast และหนังสือชื่อดัง), Pharmacoeconomics (เศรษฐศาสตร์ของยารักษาโรค), Shophousenomics (ie. เศรษฐศาสตร์ในห้องแถว) และ Thaksinomics (ทักษิโณมิกส์ในบ้านเรา) น่าแปลกใจที่ยังไม่ค่อยมีคนเขียนเรื่อง “Buddhanomics” หรือแปลเป็นไทยคือ “เศรษฐศาสตร์ในมุมมองของพระพุทธเจ้า” มองเผินๆ “เศรษฐศาสตร์” กับ “พุทธศาสนา” ดูเป็นสองคำที่มีความแตกต่างกันจนไม่น่าจะเอามาเขียนข้างกันได้ แต่ที่จริงแล้วทั้งสองมีหลักแนวคิดที่ต่อเติมกันได้ดีอย่างที่เราคาดไม่ถึง
คุณค่าของคนชรา คำถามที่ต้องตอบให้ได้ก่อนเข้าสู่โลกสีเทา
[ความยาว: 7 นาที] ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าหลายประเทศได้ร่วมเข้าแคมป์ประชาธิปไตยกันมากขึ้น แต่ทำไมเราถึงรู้สึกว่าระบอบนี้ในหลาย ๆ ที่ถึงทำงานได้ไม่ดีเลิศเท่ากับที่นักปรัชญาและนักคิดทั้งหลายเขาพยายามผลักดันและพร่ำสอนกันมา ? ทำไมเวลามองย้อนกลับไปแล้วเจอแต่ความไม่สงบ ความไม่ต่อเนื่อง และความไม่เท่าเทียมกันในหลาย ๆ สังคมประชาธิปไตยไม่ว่าจะเป็นในประเทศน้องใหม่ในแคมป์หรือ “รุ่นเดอะ” จากฝั่งตะวันตกก็ตาม เวลาผ่านไปตั้งนานหลังจากที่คนเราคิดค้นคำว่า “ประชาธิปไตย” ขึ้น แต่ทำไมดูเหมือนว่าพวกเรากำลังก้าวไปสู่สังคมตัวอย่างของระบอบนี้ได้ช้าราวกับหอยทาก ? ต้องอีกกี่ร้อยปีเชียวหรือเราถึงจะไปถึงฝั่ง ? ในบทความอันทรงพลังของ CLR James ที่ตีพิมพ์ด้วยหัวข้อ “Every Cook Can Govern: A Study of Democracy in Ancient Greece Its Meaning for Today” CLR James เตือนใจเหล่านักประชาธิปไตยและนักคิดสมัยใหม่ให้อย่าลืม “ยุคทอง” ของระบอบประชาธิปไตยที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยยุคกรีกโบราณ
Previous page Next page
Recent Comments