วันนี้นาย Jack Lew รมว. คลังคนใหม่ของสหรัฐฯ มาแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามในเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจโลกที่มหาวิทยาลัยของผม โดยมีนาย David Wessel ซึ่งเป็น Economics Editor ชื่อดังจากหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal มาเป็น moderator ให้ในช่วงถาม-ตอบ
แม้ว่านาย Jack Lew จะดำรงตำแหน่งสำคัญนี้มาได้ไม่ถึงสองเดือน และไม่ได้มีประสบการณ์ทางการเงินมากเท่ากับรมว. ก่อนๆ แต่ว่าดูจากลีลาการตอบคำถามยากๆแล้ว ถือว่าเก่งมากในการแบกรับหน้าที่นี้ เวลาผู้นำระดับนี้ออกมาให้ความเห็นเรื่องใหญ่ๆ สิ่งที่เค้าพูดก็คงผ่านสกรีนมาไม่รู้กี่รอบแล้ว เราคงจับประเด็นกับเจตนาที่ซ่อนอยู่ข้างหลังจริงๆลำบาก แต่จากการนั่งใกล้มากๆ กับจากสีหน้าของนาย Jack Lew ในรูปที่ผมถ่ายมา มันได้ความรู้สึกว่าอะไรจริงๆที่เค้าเน้น
ใจความสำคัญที่ได้ยินนาย Jack Lew ย้ำนักย้ำหนาจากทื่ได้ไปพบปะพูดคุยกับผู้นำเศรษฐกิจมารอบโลก ได้แก่
ต้องขอบคุณนาย David Wessel จริงๆ ที่ซัดแต่ละคำถาม แรงๆทั้งนั้น ทำเอาสีหน้าขุนคลังเปลี่ยนไปเลย โดยเฉพาะคำถามที่ถามเกี่ยวกับการทำนโยบายที่อาจมีผลข้างเคียงกับเศรษฐกิจเพื่อนบ้าน
คำถามคือ สรุปว่ายังไงครับ? คุณโอเคกับการทำนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ แต่ต่อต้านนโยบายที่ไปรบกวนชาวบ้าน เด่นๆคือทำให้ค่าเงินคนอื่นเค้าแข็งขึ้นผิดปกติ
นาย Jack Lew นิ่งไปนิดนึงแต่ตอบได้กำกวมดีมาก ว่ารัฐบาลสหรัฐฯยืนยันว่าสนับสนุนนโยบายที่กระตุ้นเศรษฐกิจด้วย “เครื่องมือภายใน” (Domestic tools) ซึ่งต้องมีเป้าหมายที่อยู่ในบ้าน
แล้วมันแปลว่าอะไรหรือ “เครื่องมือภายใน” เนี่ย….? จริงอยู่การปั๊มเงินของหลายๆประเทศ รวมถึงสหรัฐฯเอง มันเถียงได้ว่าคือ “เครื่องมือภายใน” แต่กลไกเศรษฐกิจโลกสมัยนี้มันลิ้งค์กันไปหมด สุดท้ายยังไงมันก็จะออกไปกระทบชาวบ้าน อย่างที่ผมได้เขียนไว้คราวก่อน
คิดง่ายๆหยาบๆที่สุดคือคิดว่า เงินสกุลๆนึงก็คล้ายๆกับสินค้าบางอย่าง หากผลิตมามากๆล้นตลาด ราคาก็ย่อมลด ก็คล้ายๆกับราคาเพชรกับราคาน้ำดื่ม ขาดเพรชเราตายไหม? ไม่ ขาดน้ำดื่มล่ะ? ตายแน่! ถ้าน้ำดื่มมันผลิตได้น้อยกว่านี้มากๆ ราคาคงแพงกระฉูด เพราะว่าเราขาดน้ำไม่ได้ เงินก็คล้ายๆกันในระดับนึง เพราะฉะนั้นจะมาบอกให้ชาติอื่นระวังและใช้เฉพาะ “เครื่องมือภายใน” แบบที่สหรัฐฯใช้นั้นผมคิดว่าหน้าด้านไปหน่อยครับ เพราะว่าเงินดอลล่าห์นั้นใช้กันทั่วโลก ไหลออกไปลงทุนกันทั่วโลก ก็คล้ายๆกับที่ญี่ปุ่นปั๊มเงินกันตาลาย ค่าเงินเยนตกฮวบ ทำเอาไต้หวัน จีน เกาหลี หวั่นว่าราคาของที่ตัวเองส่งออกจะราคาไม่ดีเท่าญี่ปุ่น
สรุปก็คือว่านาย Jack Lew คิดว่าการปั๊มเงิน ถือเป็นการทำตามกติกา (ที่กำหนดโดยสหรัฐฯ) เพราะเป็นการอัดฉีดจากภายใน (ถึงแม้ว่าจะมีผลไปถึงค่าเงินโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม) แต่การเข้าไปแทรกแซงในตลาดเงินตัวเองถือเป็นความผิด
แต่ถ้าเจตนาดี (ภายใน) แล้วไปส่งผลร้ายในบ้านคนอื่นมันโอเคในสายตาเค้า….อ้าวมันแปลว่าอะไรเนี่ย…งง… อย่างกับว่าเรามีเจตนาดีรดน้ำต้นไม้ในกระถางเราให้ต้นไม้เราโตเร็ว กระถางเรามีที่ระบายแน่นอน (ไม่งั้นเราไม่รดตั้งแต่แรก) และพื้นระเบียงเราก็มีที่ระบายให้มันลงไปชั้นล่าง แต่ข้างล่างเค้ากระถางเล็กกว่า ต้นไม้ก็เล็กกว่า แถมอาจจะคนละพันธุ์ หรือไม่ก็ไม่มีการระบายที่ดีเท่า ต้มไม้ชั้นล่างจะจมน้ำตายเอาก็คงไม่เป็นไรมั้ง? ก็เจตนาดีนิ….
ถ้าคนจีนฟังกันอยู่ตอนนี้คงได้สำรอกออกมากันแน่ๆ เพราะคุ้นจริงๆเลย ที่ว่าอะไรก็หาว่าจีนไม่ทำตามกติกา แถมตอนท้ายยังได้ซัดอีกหมัดใส่จีนถึงเรื่องเขตการค้าเสรี TPP ที่ไม่มีจีน (และไม่มีไทย) และบอกว่า TPP จริงๆแล้วเป็นการเชื้อเชิญประเทศต่างๆในแปซิฟิกที่สนใจในการเพิ่มมาตรฐานในการทำการค้าขายให้มาร่วมมือกัน หากจีนจะเข้าร่วมก็ดี เชิญเลย แต่ว่าจีนไม่ยอมเคารพกติกาเองช่วยไม่ได้
คำถามของนาย David Wessel กับของนักเรียนวันนี้ตอบได้ยากมาก แต่นาย Jack Lew ก็ยังสามารถตอบได้อย่างรวดเร็ว และกำกวมได้อย่างฉลาดเฉลียว นับว่าร้ายกาจทีเดียวสำหรับคนที่เพิ่งได้นั่งเก้าอี้นี้มาไม่ถึงสองเดือน แถมยิ้มเก่งด้วยเวลาได้ยินคำว่า “หน้าผาการคลัง”
ลองมองรอยยิ้มดูดีๆ มองยากมากว่าผู้นำคนนี้คิดอะไรอยู่ แต่ที่สัมผัสได้แน่ๆคือรังสีอำมหิตต่อจีนในวันนี้
ก่อนนาย Jack Lew จะกลับ เพื่อนผมถามว่า ในเมื่อเค้ามีประสบการณ์ต่างจาก รมว. คลังคนก่อนๆ เค้าจะมีบทบาทหรือมีอะไรใหม่ๆในกระทรวงหรือในนโยบายหรือไม่? นาย Jack Lew ก็ฉลาดตามเคย ไม่ตอบแบบให้ไปกระทบคนอื่น แต่ตอบแบบคมๆว่าไม่มีใครในโลกนี้หรอกที่มีความสามารถจะรับมือได้กับทุกปัญหาได้ คนอย่างผมควรทำในสิ่งที่ตนเองรู้ดีมาก่อน และเรียนรู้สิ่งใหม่ให้เร็ว แต่คนที่นั่งอยู่ในเก้าอี้นี้นั้นสำคัญที่สุดคือต้องเป็นคนที่ประธานาธิบดีให้ความมั่นใจในการตัดสินใจ ท่าทางโอบามาจะไว้ใจนาย Jack Lew พอควร แล้วผู้อ่านล่ะ เห็นรอยยิ้มนี้แล้วคุณมีความมั่นใจพอไหม?
David Wessel Jack Lew SAIS คลัง จีน สหรัฐฯ เศรษฐกิจ เศรษฐความคิด
Test